Please wait...
IT UPDATE ENTERPRISE
รหัสภาษาคืออะไร

รหัสภาษา

สำหรับการทำเว็บที่เป็นภาษาไทยที่นิยมคือ TIS-620 และ WINDOWS-874 ส่วน UTF-8 มีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้น

TIS-620
เป็น รหัสภาษาไทยที่กำหนดโดยหน่วยงานของไทย (สมอ., สมาคม มาตรฐาน อุตสาหกรรมไทย, Thai Industrial Standard) รหัสนี้ยืนอยู่บนฐานของ ASCII

WINDOWS-874
เป็น รหัสภาษาไทยที่ไมโครซอฟท์กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ใน Windows ต่อยอดมาจาก TIS-620 อีกที ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จากหน่วยงานระดับโลก
(แต่คนใช้มันเยอะ เป็นเจ้าตลาด ต่อให้ไม่มาตรฐาน แล้วใครละ สนมาตรฐาน! )

UTF-8
เป็นรหัสภาษานานาชาติ หรือ Unicode และภาษาไทยก็บรรจุเป็นส่วนนึงของ Unicode ด้วยเช่นกัน

ทั้ง TIS-620 และ UTF-8 เป็นการเข้ารหัสที่เป็นมาตรฐานแล้วทั้งคู่ สำหรับ Browser ทั้ง IE, FF , Safari, Opera สนับสนุนทั้งสองมาตรฐานใช้งานได้ไม่มีปัญหา สำหรับงาน Web Design หรืองานที่มันเสร็จไปเป็นโครงการๆนึง อันนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ว่าจะเลือกแบบไหน ที่มันจะมาเป็นประเด็น ก็เป็นกับส่วนของการ Programming เป็นหลัก

แนวทางการทำงาน ของเราซึ่งมีการนำ Open Source มาใช้ในหลายๆส่วน มันจะมีปัญหาที่ Open Source บางตัวเขาทำมาเพื่อชาวโลก เขาเลือกที่จะรองรับ UTF-8 โดยไม่รองรับ TIS-620 หรือรหัสภาษาท้องถิ่นอื่นๆ (ไม่งั้นมันต้องทำงานหลายภาษา มันก็อาจจะลำบากเขา)

แต่ก็ไม่มีปัญหา อะไร เพราะถึงมันจะเป็น UTF-8 แต่มันก็ใช้งานภาษาไทยได้อยู่แล้ว นำมาใช้ได้เลยไม่มีปัญหา … ปัญหาถ้าจะมีก็ต่อเมื่อต้องมีการ ส่ง หรือ รับข้อมูล จากโปรแกรมอื่น หรือ module อื่นๆถ้ามันใช้รหัสไม่ตรงกัน ก็ต้องเขียนโปรแกรมแปลงมาครอบไว้ เช่น… ถ้าเราจะเอา ภาพและคำบรรยายภาพจาก script ที่ใช้ UTF-8 ไปแสดงในส่วนของ Blog ถ้า Blog เป็น TIS-620 ข้อมูลจาก script ที่เป็น UTF-8 จะอ่านไม่ออก ถ้าไม่แปลงผลก่อน ในทางกลับกันก็จะมีปัญหาเหมือนกัน

หรืออย่างถ้าเราจะทำ Link จากเว็บเราไป social bookmark โดยปกติเราจะทำปุ่ม link ไว้ แล้วใส่ข้อความหัวข้อไว้ใน parameter title แต่ถ้า อย่าง Zickr, del.icio.us, Digg หรืออันอื่นที่ใช้ UTF-8 ในระบบของเขา พอรับ title ที่เราส่งจากของเราแบบ TIS-620 ไป มันก็จะขึ้นเป็นตัวยึกยือๆ….

จะ ไม่มีปัญหาอะไรเลย ถ้าจะใช้รหัส TIS-620 หรือ UTF-8 ถ้าเราไม่ได้ใช้มันข้ามกัน … ถ้าใช้ข้ามกัน ใช้ร่วมกัน ต้องมีการแปลงนั่นปรับนี่สักหน่อย ยากง่ายว่ากันไป

UTF-8 มีข้อดีตรงที่ว่า ใน 1หน้าเว็บนั้น เราสามารถแสดงผลร่วมกันได้ ในหน้านั้นจะมีภาษาไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อ๊าา อ๊าา ตั้ม ตั้ม ซาอุ สวีเดน ฯลฯ มันแสดงผลร่วมกันได้เลยใน 1 หน้า แต่ถ้าเราเลือกเป็น TIS-620 ตรงภาษาอื่นๆ มันจะอ่านไม่ออกเพราะรหัสนี้มีแค่ ภาษาไทย กับ อังกฤษ


TIS-620 มีข้อดีตรงที่ว่า .. ในช่วงที่เป็นข้อความภาษาไทย ถ้าเป็น UTF-8 จะใช้พื้นที่เยอะกว่าถึง 2-3 เท่าตัว (ตรงภาษาอังกฤษ ใช้พื้นที่เท่าเดิมคือ 1 byte) พื้นที่เยอะ ไม่ได้หมายถึงว่าจะกระทบกับพื้นที่ใน Harddisk อย่างเดียว (Harddisk เราค่อนข้างเหลือเฟืออยู่แล้ว) มันจะมีผลกับการรับส่งข้อมูล 2-3 เท่าตัว ถ้าเป็นหน้าที่ไม่มีอะไร บอกแค่ว่า “ได้รับข้อมูลแล้ว ขอบคุณที่ร่วมกิจกรรม” แค่นี้คงไม่ต่างอะไรมาก แต่ถ้ามันเป็นหน้าที่มีข้อมูลจำนวนเยอะ มีข้อความเยอะมาก อย่างใน Community ใน Webboard อันนี้จะเริ่มเห็นความต่าง ทางด้านความเร็วแล้ว …

หลายๆ บทความ สนับสนุนให้ใช้ UTF-8 โดยให้เหตุที่ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ เพราะว่ามันใหม่กว่า ดีกว่า แพร่หลายกว่า … ผมว่าบางทีต้องมองกลุ่มเป้าหมาย และชิ้นงานของเราด้วย ว่าอันไหนเหมาะกับเรา เห็นบางแห่งพิมพ์บอกว่าถ้าใช้ TIS-620 จะมีปัญหากับ AJAX ที่ดึง XML ภาษาไทยมาแสดง อันนี้ขอบอกว่าไม่จริงเสียทีเดียว เพียงแค่กำหนด
ไว้ในส่วนหัวของ XML ก็ใช้งานได้เหมือนกัน …

ข้อ ดีในเชิงปฎิบัติของ UTF-8 ก็คือถ้าเรานำเอา Software ที่รองรับ UTF-8 มาใช้ ก็ใช้ได้เลย ไม่ต้องไป mod อะไรอีก เพราะ UTF-8 ก็ใช้งานภาษาไทยได้อยู่แล้ว เพราะบางโปรแกรมถ้า mod ตรงนี้มันต้องแก้หลายจุด แต่จริงๆถ้ามันรองรับ TIS-620 ได้โดยไม่ต้องแก้อะไรมาก เราจะใช้ TIS-620 ก็ไม่มีปัญหาอะไรเหมือนกันอีกนั่นแหละ

Thanks, jongjarern.com, CYMIZ

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์
Server
Hyper converged
Storage
UPS
Networking
PC
All in one
Notebook
Monitor
Printer
Hosting
Google cloud
AWS
Microsoft Azure
SSL