แท้จริงแล้วข้อมูลของคุณมีมูลค่าเท่าไร
Please wait...
SOLUTIONS CORNER
แท้จริงแล้วข้อมูลของคุณมีมูลค่าเท่าไร

แท้จริงแล้วข้อมูลของคุณมีมูลค่าเท่าไร?
 



Data หรือ ข้อมูล จัดว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ, แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะมีคุณค่าสำหรับทุกๆที่ หากปราศจากการวิเคราะห์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
 
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น มันได้แสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ ได้เริ่มมีการใช้กฎ GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบใหม่ในยุโรป ที่สภาสหภาพยุโรปผ่านกฎหมายไปเมื่อปี 2016 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2018 โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บหรือกระทำการใดๆ กับข้อมูลบุคคล ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับ สำหรับบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งขณะนี้ ระบบฐานข้อมูลของผู้ใช้บริการ (Client databases) ก็ได้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกลยุทธ์การขายที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ที่ถูกกล่าวหาว่ามีการถูกว่าจ้างให้มีการแทรกแซงต่อผลของการเลือกตั้ง และระบบการผลิตแบบที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (just-in-time) โดยมุ่งประเด็นไปที่ผลตอบรับที่ครอบคลุมในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
 

พื้นฐานทางธุรกิจกับข้อมูล


ส่วนใหญ่ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งจัดว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Uber, Airbnb, Palantir, DidiChuxing พวกเขาต่างก็มีพื้นฐานทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของข้อมูล (Data) และวิธีการที่พวกเขาจะนำมันไปใช้ ซึ่งแตกต่างจากสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Physical asset) ยกตัวอย่างเช่น วัตถุดิบสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์หรืออุปกรณ์การผลิต มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะประเมินมูลค่าที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็มีความคิดที่ว่า "ข้อมูลสามารถแปลงเป็นสกุลเงิน" ซึ่งมันก็ได้กลายมาเป็นบางอย่างของวลีติดปาก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงเทคโนโลยี Blockchain ที่ได้พยายามเชื่อมต่อในเรื่องของการเงินและข้อมูลเข้าด้วยกันด้วยอัลกอริทึมต่างๆ ขณะที่การเรียกชื่อที่ถูกต้องของข้อมูลประเภทตัวเลขที่เกี่ยวกับการเงินก็ยังคงเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เช่นกัน
 
โดยปกติแล้วมูลค่าของข้อมูลจะไม่ถูกแยกออกจากตัวธุรกิจและมูลค่าโดยรวมของบริษัท ซึ่งลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะถูกแยกออกเฉพาะเมื่อเกิดการสูญหายหรือถูกบุกรุกไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2017 บริษัทอีควิแฟกซ์ (Equifax) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลทางการเงินและสินเชื่อรายใหญ่ ประสบปัญหาจากการทำข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล เป็นจำนวนถึง 143 ล้านคน การกระทำในลักษณะนี้อาจส่งผลให้บริษัทเกิดความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าถึง 70 พันล้านเหรียญ แต่นั่นเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการประเมินมูลค่าของข้อมูล หากพิจารณาถึงการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจจะส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความเสียหาย มันคงอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ว่ามีมูลค่ามากมายเพียงใด ถ้าจะต้องเทียบกับข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของ Equifax ตามที่สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum; WEF ได้ทำการสำรวจ พบว่ามีข้อมูลจำนวน 2.5 quintillion bytes ที่ถูกผลิตขึ้นทุกวันจากทั่วโลก ดังนั้นจึงทำให้การจัดการเกี่ยวกับมูลค่าของข้อมูลยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น
 

ปัจจัยและมูลค่าของข้อมูล

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็คือ มูลค่าของข้อมูล (Data) นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่หนึ่งในปัจจัยของจำนวนหรือปริมาณ แต่ยังคงต้องคิดด้วยว่าจะใช้มันอย่างไร และนั่นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างและการวิเคราะห์ข้อมูล และปัจจัยในด้านอื่นๆ อีกเช่นกัน เวลาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากกว่าที่เป็นอยู่ ในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่ต้องเสื่อมคุณค่าลงเมื่อมันกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เพียงแต่เฉพาะข้อมูลเท่านั้นที่จะต้องใหม่และทันสมัย นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องมีการจัดส่งให้ตรงเวลา แม้ว่ามันอาจจะมีการเก็บรวบรวมและใช้งานแบบเรียลไทม์ สำหรับเทคโนโลยี Internet of Things ซึ่งทำงานโดยการเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ต ควบคุมการทำงานของระบบด้วยการตรวจจับข้อมูล โดยจะต้องถูกจัดส่งและประมวลผลในเวลาที่เหมาะสม เพื่อรักษาการตั้งค่าที่ได้กำหนดไว้ ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของแท็กซี่ สำหรับลูกค้าที่มีความต้องการเดินทาง หรือไปในสถานที่ๆพวกเขาต้องการจะไป ข้อมูลมันจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อมันยังคงเป็นจริงในขณะนั้น นอกจากนี้มันจะไม่เกิดปัญหาการส่งแท็กซี่ไป หลังจากที่ผู้โดยสารได้เดินทางออกจากพี่พักไปแล้วเมื่อ 20 นาทีที่ผ่านมา
 
เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าข้อมูลมีคุณค่าอย่าเห็นได้ชัด แต่วิธีการในการคำนวณหา ว่าข้อมูลมีคุณค่าเพียงใดนั้นยังเป็นที่คลุมเครือ ขณะเดียวกัน ก็ได้มีความพยายามเป็นอย่างมากในการหาคุณค่าที่ว่านี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการประกันภัย แม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมากก็ตาม นักวิเคราะห์ของ Gartner Doug Laney ได้กำหนดวิธีประเมินมูลค่าของข้อมูล 
(Data) ไว้ 6 วิธี โดยใช้วิธีทางด้านการเงิน (Financial methods)ในการประมาณค่า ซึ่งสามารถประเมินมูลค่าของข้อมูลได้ตามจำนวนที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทดแทน, เท่ากับจำนวนเงินที่จะได้รับในกรณีที่ขายได้ หรือในจำนวนที่ก่อให้เกิดรายได้ในชีวิตประจำวัน และสำหรับวิธีการประมาณมูลค่าข้อมูลด้วยวิธีการที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (Non-financial methods) การประมาณค่าข้อมูลในรูปแบบนี้ สามารถประเมินมูลค่าได้โดยขึ้นอยู่กับมูลค่าที่แท้จริงของมันที่สร้างคุณค่าให้แก่บริษัท, ประโยชน์ของมันเพื่อวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ, หรือความสำคัญในด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ
 
เนื่องจากระบบของ Laney มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจประกันภัย ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในเชิงคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน, การประเมินมูลค่าทางการตลาดและการสร้างแบบจำลองรายได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้มีความแม่นยำมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ มีสูตรที่ซับซ้อนซึ่งขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อมูล, กำหนดค่าที่สมบูรณ์ได้อย่างไร, ทำอย่างไรให้ง่ายต่อการเข้าถึง และไม่ว่ามันจะเป็นวิธีการที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนก็ตาม หัวใจสำคัญก็คือปัจจัยทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กัน และสำคัญเทียบเท่ากับข้อมูลที่ก่อให้เกิดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่สำคัญ
 
ทั้งหมดนี้ค่อนข้างที่จะเป็นความลับ แต่ก็เน้นความจริงที่ว่า หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการประเมินคุณค่าของข้อมูล 
(Data) มาจากความเร็วและความถูกต้องในการวิเคราะห์ นี่คือจุดประสงค์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และคุณค่าที่เป็นศูนย์ของข้อมูลจะผสมผสานตัวมันเองเพื่อให้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของฮาร์ดแวร์ที่จัดเก็บ, การจัดส่งและการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว โดยสามารถจัดส่งและประมวลผลได้เร็วขึ้น ยิ่งมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเท่าใด ก็จะมีผลต่อบุคคลที่เข้าถึงได้มากเท่านั้น ดังนั้นแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่รวดเร็วและเชื่อถือได้สำหรับข้อมูลของคุณ จึงเป็นส่วนสำคัญในการตระหนักถึงคุณค่าของมัน
 

การปรับปรุงเทคโนโลยีและเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล

 

การปรับปรุงเทคโนโลยีสามารถเพิ่มคุณค่าที่แท้จริงของข้อมูลในทุกๆระดับ โดยทั่วไปแล้วมีหลักการง่ายๆคือ ยิ่งคุณมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น แต่สิ่งนี้นำไปสู่ความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งจะพบว่าต้นทุนของ Solid-State Drive (SSD) ก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Storage Data แบบ All-flash Array มีราคาที่ไม่แพงมากนัก นอกจากนี้ยังมีการเข้าถึงแบบสุ่มได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบดั้งเดิม แต่นี่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดแวร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการเปิดตัว 3D XPoint memory ที่ใช้ใน Intel Optane SSDs โดยระบุถึงความเร็วในการทำธุรกรรมที่ช่วยให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีความทนทานกว่า SSD ในแบบเดิมๆ ทำให้เหมาะสำหรับการเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวมันเอง


 
นอกจากนี้ คุณยังจำเป็นต้องทราบด้วยว่า เมื่อมีการโหลดข้อมูลต่างๆ ลงใน Application Server มันจะถูกดำเนินการโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณทำได้เร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปกว่าคุณค่าของข้อมูลที่คุณจะได้รับแล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่มีสิทธิภาพ ด้วยการทำงานของหน่วยประมวลผลที่มีจำนวน Core ที่มากขึ้น, ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) ต่อแกนสูงขึ้น, และความสามารถในการเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ สำหรับกรณีที่ความต้องการของคุณขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งสถาปัตยกรรม Xeon Scalable ของ Intel มีคุณลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมานี้


สรุป
 

มีเพียงไม่กี่คนที่กล้าที่จะปฏิเสธว่า ข้อมูล (Data) ได้กลายเป็นหนนึ่งในสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดที่หลายบริษัทมี แต่ด้วยตัวของมันเอง หากปราศจากแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่จะทำให้มันถูกต้องตามกฎหมายแล้วล่ะก็ คุณค่าที่แท้จริงของข้อมูลอาจจะลดลงหรือแม้กระทั่งต้องสูญเสียมันไป ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่มีค่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ ทั้งนี้ก็เพื่อการใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่ และนั่นก็คือวิธีที่ชาญฉลาดอย่างแท้จริงในการใช้จ่ายเงินที่คุณสร้างมันขึ้นมาจากข้อมูลของคุณ


ที่มา:http://www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์