Please wait...
CLOUD IT UPDATE
Google Cloud กำลังเดิมพันกับ GenAI เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน

Google Cloud กำลังเดิมพันกับ GenAI เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน


Google Cloud Is Betting On Gen AI


ความเร่งด่วนในการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้นั้นมีความชัดเจนมากขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ (carbon footprints) สอดคล้องกับข้อกำหนดการรายงานตามกฎระเบียบ การเพิ่มความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน และการส่งเสริมการดูแลองค์กรที่เป็นแบบอย่าง โดยในการประชุม Google Cloud Next เมื่อเร็วๆ นี้ Google Cloud ได้เน้นย้ำถึงความเชื่อมั่นว่า แนวทางสู่โครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนแบบเร่งด่วนนี้ คือการปรับใช้โซลูชันไอทีที่ซับซ้อนและออกแบบมาเพื่อใช้ดำเนินการทั่วโลก เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อมั่นดังกล่าว Google Cloud ได้เปิดตัวชุดโซลูชันที่รองรับ AI ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนลูกค้าในการค้นพบแนวทางใหม่ๆ ในการประเมินผล ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจของพวกเขาอย่างยั่งยืน

ที่ Google Cloud Next มีการเปิดตัวโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนที่สำคัญ 4 โครงการ :

- API สภาพแวดล้อมแบบใหม่ในแพลตฟอร์ม Google Maps รวมถึง API แสงอาทิตย์ ละอองเกสร และคุณภาพอากาศด้วย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้ AI และ Machine learning เพื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลสิ่งแวดล้อม โดยจะให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับศักยภาพของแสงอาทิตย์ คุณภาพอากาศ และระดับละอองเรณู Solar API ช่วยให้ผู้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถปรับรูปแบบแผงวงจรให้เหมาะสมที่สุด ผ่านการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการได้รับแสงแดดและการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารต่างๆ

- ตัวเชื่อมต่อ BigQuery แบบใหม่ของ Google Earth Engine ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่างสองแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้การจัดการ Workflow นั้นง่ายขึ้น และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ๆ โดยรวมข้อมูลราสเตอร์ (raster) และข้อมูลตารางเข้าด้วยกันได้ โดย Woza ซึ่งเป็นพันธมิตรของ Google Cloud ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้เพื่อช่วยให้บริษัทสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคติดตามผลกระทบของการทำทำเกษตรได้แบบภาคสนามเลย

- Carbon Footprint สำหรับ Google Workspace ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถติดตามผลและทำความเข้าใจการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ได้มาจากการใช้บริการ Workspace เช่น Gmail หรือ Drive โดยเครื่องมือนี้ช่วนเสริม Google Cloud Carbon Footprint ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการการปล่อยคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าของ Google Cloud Platform ได้นั่นเอง 

- โครงการริเริ่มนี้ได้ร่วมมือกับ Deloitte ซึ่ง Deloitte และ Google Cloud กำลังส่งเสริมการใช้โซลูชันด้านความยั่งยืน โดยแนะนำโซลูชันกลุ่มยานพาหนะสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากร ระบบเทเลเมติกส์ (telematics) และประเมินผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโดยพวกเขาร่วมมือกับ Climate Engine เพื่อช่วยเหลือบริษัทอย่าง NatWest ในการทำความเข้าใจด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้า นอกจากนี้ Deloitte ยังได้เข้าร่วมโครงการพันธมิตรด้านความยั่งยืน Google Cloud Ready ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อเร่งการนำโซลูชั่นด้านความยั่งยืนมาใช้

เครื่องมือที่รองรับ AI เหล่านี้นำไปสู่ความเข้าใจเชิงลึกที่ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถสนับสนุนความยั่งยืนของโลกได้มากขึ้น และอย่างที่คุณอาจรู้อยู่แล้ว การปล่อยก๊าซคาร์บอนแบ่งออกเป็นสามขอบเขต คือ หนึ่ง สอง และสาม โดยปัจจุบัน หลายองค์กรกำลังเข้าใจผลกระทบของขอบเขตที่หนึ่ง และสอง แต่ขอบเขตที่สาม รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างยังคงเข้าใจค่อนข้างยาก 

บ่อยครั้งที่เราพูดกันว่า ขอบเขตที่สามเป็นเพียงการรวบรวมการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่หนึ่งและสองของคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ความโปร่งใสที่แท้จริง เราต้องจัดการกับขอบเขตการปล่อยมลพิษสามอย่างอย่างมีนัยสำคัญและมีวิธีการ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เนื่องจากความซับซ้อนและการพึ่งพาอาศัยกันของขอบเขตการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่มีความต่างกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือให้ทั่วห่วงโซ่อุปทาน และระบบสะท้อนเทคโนโลยีที่กว้างขึ้นเพื่อเร่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประวัติของ Google Cloud แสดงให้เห็นว่า Google Cloud สนับสนุนการทำงานร่วมกันและมีการสร้างชุมชนที่เป็นเอกภาพได้อย่างไร

ในการให้สัมภาษณ์ระหว่าง Next Jen Bennett ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายความยั่งยืน สำนักงาน CTO ของ Google ได้เน้นย้ำว่าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญได้อย่างไร เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวปรากฏอย่างเด่นชัดในโครงการความยั่งยืนภายในองค์กร และนำไปสู่การนำ Earth Engine ไปใช้เชิงพาณิชย์ในท้ายที่สุด สิ่งที่น่าประทับใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับแพลตฟอร์มนี้ก็คือชุมชนที่แข็งแกร่งของนักวิจัยและนักวิชาการกว่า 50,000 คนที่มีส่วนร่วมในการวัดผลด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งชวนให้นึกถึงชุมชน Kaggle สำหรับ AI ซึ่งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาที่นำเสนอขึ้นมา เป็นการดึงเอาจิตวิญญาณแห่งความสามัคคีและความรับผิดชอบร่วมกันมาใช้เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเส้นทางแห่งความยั่งยืน “เราจินตนาการถึงพื้นที่ความร่วมมือที่มีเครื่องมือข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อปฏิบัติการขนาดใหญ่ ทำให้เราอยู่ในสถานะที่ที่มีประโยชน์ ส่วนความปรารถนาของฉัน คือเราจะจัดการกับปัญหานี้อย่างมีระบบ แม้ว่ามันจะไม่ใช่งานที่ตรงไปตรงมาตามกรอบเวลาที่ต้องการก็ตาม” Bennett กล่าว
อันที่จริงแล้ว เส้นทางข้างหน้าเต็มไปด้วยความท้าทายที่ซับซ้อนซึ่งครอบคลุมถึงความยั่งยืน โดยไม่ลืมความกังวลที่เร่งด่วนเกี่ยวกับการขาดแคลนโลหะและวัตถุดิบที่จำเป็น

ดังนั้นแล้ว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังความโปร่งใสที่เปิดเผยความก้าวหน้าและอุปสรรคของเรา โดยแนวทางดังกล่าวมีความสำคัญสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย รัฐบาล องค์กร และท้ายที่สุดแล้ว ทุกคนในเศรษฐกิจนี้จะอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลและร่วมมือกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการเรียกร้องให้มีการเฝ้าระวังและดำเนินการการร่วมกัน ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงและทรัพยากรที่เรามีร่วมกัน 

แต่เราไม่สามารถพูดถึง Generative AI ได้โดยไม่พิจารณาถึงผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยความโปร่งใสเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกแบบวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการ Processors และองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันมันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น เพราะเราใกล้จะเห็นแล้วว่า คาร์บอนฟุตพรินต์จะเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานที่คล้ายกับวิธีที่เราดูข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจของผู้พัฒนาแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าใจผลกระทบได้อย่างเต็มที่ด้วย 

Google Cloud ได้ริเริ่มเทรนด์นี้ด้วยเครื่องมือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฟุตพรินต์แบบฟรี ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่จะมีคู่แข่งหลายรายตามมา โดย Bennett มองโลกในแง่ดีว่าอุตสาหกรรมจะยังคงให้ความสำคัญกับความโปร่งใสต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่ช่วงเวลาของการตัดสินใจอย่างมีสติและรอบคอบบนพื้นฐานของข้อมูลที่วัดได้

ความพร้อมใช้งานของข้อมูลมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และด้วยเหตุนี้ ความสามารถของ Generative AI ในการให้ข้อมูลเชิงลึกจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากความโปร่งใสในด้านข้อมูลและผลข้างเคียงของโมเดล นี่คือเหตุผลว่าทำไมความโปร่งใสจึงไม่ควรเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น แต่ควรเป็นส่วนพื้นฐาน ที่ควรให้ความสำคัญพอๆ กับการพิจารณาด้านต้นทุนและความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจ โดยเป้าหมายคือ การมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินท์ในระดับแนวหน้า เพื่อนำทางนักพัฒนาและธุรกิจไปสู่ทางเลือกที่ไม่เพียงแค่ชาญฉลาด แต่ยังยั่งยืนอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ทุกคนมีความเข้าใจและดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นแนวทางที่มีความหวังและมีแนวโน้มไปสู่อนาคตที่ความยั่งยืนมีความสำคัญพอๆ กับความคุ้มค่าและความปลอดภัย

ข้อมูล: The Heart of Tech คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาที่มีส่วนร่วมในการวิจัย การวิเคราะห์ และบริการให้คำปรึกษากับบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง รวมถึงบริษัทที่กล่าวถึงในคอลัมน์นี้ด้วย โดยผู้เขียนไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทใดๆ ที่กล่าวถึงในคอลัมน์นี้


ที่มา: http://bit.ly/3FwS7fN
สนใจสั่งซื้อสินค้า Google cloud คลิกที่นี่ >> https://www.quickserv.co.th/cloud/googlecloud.html


ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์