Petabytes คืออะไร และมีขนาดใหญ่แค่ไหน
Petabytes คืออะไร? และมีขนาดใหญ่แค่ไหน?
Enterprise storage กำลังพัฒนาจากระดับเทระไบต์ (TB) ไปสู่ระดับ เพตะไบต์ (PB) แต่สิ่งเหล่านี้มีความหมายอะไรกับเรา?
หากย้อนกลับไปในยุคแรกๆ ของการประมวลผล (Computing) Disk Storage เพียงไม่กี่เมกะไบต์ ก็ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมากแล้ว แต่ปัจจุบันแผ่นดิสก์แบบ Floppy Disk ที่มีหน่วยความจำ 1.44 เมกะไบต์(MB) ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นของที่ระลึกจากอดีตไปเสียแล้ว
ปัจจุบันนี้ การจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ หลายกิกะไบต์ (Gigabyte) หรือบางครั้งก็มากจนถึงระดับเทระไบต์ (Terabyte) นั้น จัดว่าเป็นเรื่องที่ปกติสำหรับฮาร์ดดิสก์และส่วนประกอบของการประมวลผลที่ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ของผู้บริโภคและอุปกรณ์ทางธุรกิจที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตามเพตะไบต์ (Petabyte) จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
ไม่ว่าคุณจะกำลังใช้ฮาร์ดไดร์ฟที่ติดตั้งไว้ (Physically Installed) หรืออะไรก็ตามที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบคลาวด์ การรู้ถึงขนาดความจุของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage capacity) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในทางทฤษฎี ระบบคลาวด์สามารถเสนอพื้นที่ในการจัดเก็บได้ไม่จำกัด แต่โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Physical Infrastructure) แบบที่ไม่มีการว่าจ้างองค์กรอื่นเข้ามาช่วยเหลือ (In-House) และระบบ Server แบบ On-Premise ที่มีข้อจำกัดอื่นๆ และจำเป็นที่จะต้องจำกัดปริมาณของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บไฟล์
กลุ่มคนผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลได้มีการให้คำจำกัดความของ เทราไบต์ (Terabyte), เมกะไบต์ (Megabyte) และกิกะไบต์ (Gigabyte) เพื่อเป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เมื่อพูดถึงฮาร์ดไดรฟ์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีวางจำหน่ายทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อสิบปีที่ผ่านมา หนึ่งเทราไบต์ (Terabyte) ของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) ในฮาร์ดดิสแบบพกพาหรือที่เราเรียกกันว่า External Hard Drive คงจะเป็นสิ่งที่พิเศษ แต่ในปัจจุบัน ด้วยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดดังกล่าว นั่นคงจะเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังไม่น้อยเลยทีเดียว
สตอเรจ (Storage) จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ดูเหมือนว่าจะไม่เคยหยุดยั้งในเรื่องของการพัฒนา ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจดูให้แน่ในว่ามันยังเป็นเรื่องที่ทันสมัยอยู่เสมอ และหากคุณต้องการทราบว่า Petabyte มีขนาดใหญ่เพียงใด และมันสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง กรุณาติดตามเนื้อหาต่อจากนี้
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง เมกะ (Mega), จิกะ (Giga) และ เทระ (Tera)?
การวัด (Measurement) ความจุของ Storage แต่ละครั้ง นิยมใช้หน่วยวัดความจุในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลเป็นไบต์ (Byte) โดยแต่ละไบต์จะประกอบด้วย 8 บิต (Bit) ซึ่งเป็นหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุด จากไบต์ เราขยับขนาดขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งด้วยหน่วย กิโลไบต์ (Kilobyte) ซึ่งเป็นหน่วยถัดไป ตามด้วยเมกะไบต์ Megabyte, จิกะไบต์ Gigabyte, เทระไบต์ Terabyte, เพตะไบต์ Petabyte, เอกซะไบต์ Exabyte, รวมทั้งเซตตะไบต์ (Zettabyte) และ ยอตตะไบต์ (Yottabyte) ที่มีขนาดใหญ่อย่างเหลือเชื่อ จนยากจะที่เข้าใจได้
เพื่อที่จะเปลี่ยนจากหน่วยวัด (Metric) ที่ต่ำกว่าไปสู่หน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีก กฎก็คือจะต้องคูณจำนวนนั้นด้วย 1,024, ดังนั้น 1 เทราไบต์ จึงเท่ากับ 1,024 กิกะไบต์(GB)
ตัวอย่างเช่น: 1 กิกะไบต์(GB) = 1,024 เมกกะไบต์(MB) = 1,048,576 กิโลไบต์(KB ) = 1,073,741,824 ไบต์ (Byte)
เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า
1 เพตะไบต์(PB) เท่ากับ 1024 เทระไบต์(TB)
หรือ เท่ากับ 1,048,576 กิกะไบต์(GB) นั่นเอง
ถ้าจะเปรียบเทียบให้ชัด จะได้
-จำนวนภาพยนตร์ 250 เรื่อง หรือ วิดีโอความละเอียด HD ความยาว 500 ชั่วโมง
-ปริมาณน้ำ 1 ล้านล้านลิตร
-จำนวนรูปถ่าย จำนวน 250,000 รูป ที่ถ่ายจากกล้องขนาด 12 ล้านพิกเซล(MP)
นั่นอาจจะฟังดูแปลกไปหน่อย ถ้าคุณมักจะถูกบอกไว้เสมอว่า 1 กิโลไบต์จะมีค่าราวๆ 1,000 ไบต์ และ 1 เมกะไบต์ จะมีค่าที่ประมาณ 1,000 กิโลไบต์ ซึ่งความสับสนส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการใช้เลขฐานสองในคอมพิวเตอร์แทนทศนิยม ตัวอย่างก็คือ วิธีการแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสองของ 1,000 นั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ 1111101000 ในรูปแบบไบนารี (Binary) ซึ่งไม่ใช่ขนาดกลุ่มที่สะดวกในการใช้สำหรับหน่วยวัดของการจัดเก็บ (Storage metrics)
ในส่วนของการใช้คำว่า 'Kilo' นั้น ก็ทำให้เกิดความสับสนด้วยเช่นกัน เนื่องจากกิโลเมตรมีค่าเท่ากับ 1,000 เมตร ไม่ใช่ 1,024 เมตร แต่อย่างใด ความจริงแล้วในปี 1998 IEC (Internationnal Electrotechique Commission) ซึ่งเป็นหน่วยงานคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ ก็ได้มีการเปิดตัวคำนำหน้าซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งก็รวมถึง "Kibibytes" ที่ใช้แทนกิโลไบต์ (Kilobyte) และ "Mebibytes" ที่จะใช้แทน เมกะไบต์ (Megabyte)......แต่พวกเขาก็ยังไม่เคยได้ใช้การคำนวณเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน
ก้าวเข้าสู่ยุคของ Petabyte
ในส่วนของ เทระไบต์ (Terabytes) ซึ่งเป็นขนาดความจุที่พบได้บ่อยที่สุดในตอนนี้สำหรับฮาร์ดไดร์ฟ และเราก็ได้มาถึงจุดที่พีซีและแล็ปท็อปส่วนใหญ่มีพื้นที่มากกว่าที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องการ ยกตัวอย่างเช่น 1 เทระไบต์ นั้นเทียบได้กับ ซีดีรอมเกือบๆ 1,500 แผ่น ซึ่งก็หมายความว่าคุณสามารถาจัดเก็บภาพถ่ายดิจิทัลได้ถึง 130,000 รูป ด้วยฮาร์ดไดร์ฟเพียงตัวเดียว ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีอุปกรณ์จำนวนมากที่มาพร้อมกับความจุที่มีขนาดหลายเทระไบต์ (TB)
แม้ว่าในปัจจุบันเพตะไบต์ (Petabyte) จะเป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมสำหรับการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ แต่ถึงอย่างไรในเวลาอันใกล้นี้มันก็ยังไม่น่ามีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ที่ที่มันจะก่อให้เกิดประโยชน์นั่นก็คือใน "Enterprise Storage" ซึ่งในบางกรณีก็ยังมองการณ์ไกลไปถึงขั้น "เอกซะไบต์" (Exabyte) กันเลยทีเดียว
เพตะไบต์ (Petabyte) จัดว่าเป็นระดับของข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วภาพถ่ายที่มีจำนวนมากกว่า 10 พันล้านภาพที่มีอยู่บน Facebook นั้น เทียบเท่ากับปริมาณข้อมูลที่มีมากถึง 1.5 เพตาไบต์ นอกจากนี้มันยังจะต้องใช้เครื่องบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดระยะเวลาสามปีครึ่งในการเติมฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1เพตะไบต์ (PB)