รีวิว Dell EMC PowerEdge T40 เซิร์ฟเวอร์ราคาเอื้อมถึง
รีวิว Dell EMC PowerEdge T40: เซิร์ฟเวอร์ราคาเอื้อมถึง
Dell EMC PowerEdge T40 เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาถูก ด้วยความที่มันยอมสละฟีเจอร์เด่น ๆ หลายอย่างของ PowerEdge ออกไปเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกอย่างถึงที่สุด เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวถูกวางให้เป็นเซิร์ฟเวอร์แรกเริ่มของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ธุรกิจขนาดเล็กมาก (SOHO) และสำหรับพื้นที่ประมวลผลที่ต้นทาง (Edge Computing) นั่นเอง
การยอมแลกเช่นนี้หมายความว่า Dell จะสามารถแข่งขันเรื่องราคาได้อย่างดุเดือด ถึงแม้ว่าในระยะที่เขียนบทความรีวิวนี้อยู่ เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้จะมีราคาอยู่ที่ $669 บนเว็บไซต์ของ Dell ก็ตาม แต่ก็สามารถลดราคาลงไปได้ถึงช่วงราคา $349 หากมีโปรโมชั่น ซึ่งหากต้องการทราบว่าราคาของระบบที่เหลือมีราคาถูกเท่าใดนั้น ราคาขายปลีกของ Intel Xeon E-2224G จะอยู่ที่ $213 (ราคาแบบถาด ไม่รวมโปรโมชั่นจูงใจกับส่วนลดสำหรับ OEM) ถ้านี่คือเซิร์ฟเวอร์ในแบบที่คุณต้องการพอดี ก็ถือว่ามันมีค่าเอามาก ๆ เลยทีเดียว ในบทความนี้ เราจะมาดูฟีเจอร์ดี ๆ รวมไปถึงสิ่งที่ Dell ยอมแลกเพื่อสู้เรื่องราคา ไปจนถึงตัวเลือกใกล้เคียงและการแข่งขันในวงการนี้
ภาพรวมของ Dell EMC PowerEdge T40
Dell EMC PowerEdge T40 เป็นแชสซีคอมพิวเตอร์ขนาด 20.4L ที่มีขนาดเล็กกว่า PowerEdge T30 รุ่นก่อนหน้าซึ่งมีขนาด 27.4L ถึง 25% ตัวแชสซีอาจคล้าย ๆ กัน เนื่องจากดูเหมือนว่าจะใช้รูปแบบเดียวกันระหว่าง PowerEdge T40 และ Dell Precision 3630
มาดูที่ตัวระบบข้างหน้า เราจะเห็นฟีเจอร์แปลกใหม่บางประการ ด้วยความที่มันคือเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมาจากแพลตฟอร์มแบบ Workstation เราจึงมีพอร์ตเสียบแจ็คเสียงอยู่ข้างหน้า มีพอร์ต USB สี่พอร์ต รวมทั้งแบบ USB 3.0 และพอร์ต Type-C อยู่ข้างหน้า เรายังมีช่องใส่ออปติคอลไดรฟ์ที่ใช้ไดรฟ์ DVD RW ซึ่งนี่ก็มีในแบบ Workstaion เช่นเดียวกัน แต่คาดว่าน่าจะนำไดรฟ์ DVD ออกเพื่อลดต้นทุน โดยมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกขายแยกที่ราคา $15-20
มาดูกันที่ข้างหลังของตัวระบบ ก็จะพบว่ามีรูปแบบเหมือนกับ Workstation เช่นกัน เราได้พอร์ตซีเรียลคอนโซล และพอร์ต PS/2 เม้าส์/คีย์บอร์ด มา นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 3.0 ให้สี่พอร์ตและพอร์ต USB 2.0 สองพอร์ต หนึ่งเครื่องจะได้พอร์ต 1GbE อีกหนึ่งพอร์ตพร้อมคอนโทรลเลอร์ Intel i219 สิ่งนี้ถือว่าสำคัญสำหรับความเข้ากันได้ของระบบ OS และน่าจะเป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดเราจึงไม่เห็น VMware โฆษณาอยู่บนหน้าผลิตภัณฑ์ของ T40 อีกหนึ่งฟีเจอร์เด่นของมันก็คือมีช่องพอร์ต DisplayPort สองพอร์ต ซึ่งทำให้ถึงแม้ว่า T40 จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ แต่ก็ยังสามารถแสดงผลหน้าจอระดับ dual 4K ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร
ฟีเจอร์ดี ๆ ที่หาไม่ได้จากเซิร์ฟเวอร์อื่นในระดับเดียวกันนี้ก็คือการออกแบบกลไกการใช้งานของ Dell ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะเปิดตัวแชสซีด้วยสกรู ก็มีกลไกสลักที่เปิดฝาครอบด้านหนึ่งออกมาสวยๆ แทน
ฟีเจอร์ดี ๆ อีกหนึ่งก็คือคู่มือข้อมูลของบริการ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญเนื่องจากช่วยให้ผู้ใช้ระบบเข้าใจรูปแบบและความแตกต่างเชิงขั้นตอนบางประการ ลองนึกภาพเซิร์ฟเวอร์ SMB ที่ใช้งานและให้บริการโดยบุคคลที่ไม่ใช่ช่างเทคนิกถึง 5 ปี นั่นคือสถานการณ์ในแบบที่คู่มือเหล่านี้เข้ามาช่วยได้ เซิร์ฟเวอร์คู่แข่งอื่น ๆ จำนวนมากข้ามฟีเจอร์ประเภทนี้ไป โดยเฉพาะภาคการตลาดของพวกเซิร์ฟเวอร์ ‘กล่องขาว’ หรือพวก ‘ประกอบเอง’ ในตลาด
เมื่อเปิดฝาครอบแล้ว เราจะเห็นว่า Dell จัดการ PowerEdge T40 ให้มีความกระทัดรัดขนาดนี้ได้อย่างไร แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะเป็นรูปแบบมินิทาวเวอร์แบบดั้งเดิมก็ตาม แต่ Dell จัด PSU ไว้อยู่เหนือบริเวณ CPU เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเชิงปริมาตร
ฟีเจอร์ที่สุดยอดประการหนึ่งของแชสซีตัวนี้ก็คือ PSU แบบสวิงเอ้าต์ ซึ่งทำให้สามารถปลดแขนยึดของ PSU ได้ เพื่อให้มันหมุนแกว่ง PSU ออกมา นี่จึงทำให้เราเข้าถึงเมนบอร์ดได้ง่ายขึ้น สายเคเบิลต่าง ๆ ก็ถูกจัดเรียงให้ยังติดแน่นอยู่กับที่แม้ PSU จะหมุนออกมาแล้วก็ตาม PSU ตัวนี้เป็น 300W 80Plus Bronze (ชั้นบรอนซ์) ซึ่งเปรียบเทียบกันแล้ว Precision 3630 จะใช้ PSU 300W 80Plus Gold (ชั้นทอง) นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแลกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกับการลดต้นทุนของ PowerEdge T40
มาดูตรงเมนบอร์ดกัน จะเห็นว่ามีหน้าตาแบบทั่ว ๆ ไป
CPU ใช้ตัว Socket LGA1151 ซึ่งในตัวนี้เราจะมีแพลตฟอร์มชิปเซ็ต Intel C246 มาให้ด้วย และ CPU ก่อนปรับแต่งค่าจะเป็น Intel Xeon E-2224G พึงทราบว่าฟีเจอร์ของ Intel C246 จะไม่ถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพในที่นี้ ยกตัวอย่างเช่น เราจะได้การสนับสนุน AMT 12 แต่ไม่ได้การสนับสนุน vPro มาด้วย ซึ่งการสนับสนุน vPro นั้นเป็นอะไรที่ดีมากสำหรับทางเลือกฮาร์ดแวร์ IPMI ที่มีต้นทุนต่ำลงมา เรายังจะได้หน่วยความจำขนาด 8GB อีกด้วย ระบบสามารถใช้หน่วยความจำได้สูงสุด 4x 16GB สำหรับหน่วยความจำ 64GB ซึ่ง Intel สามารถรองรับได้สูงสุดถึง 4x 32GB หรือ 128GB ด้วย CPU และ PCH ตัวนี้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการไม่ใช้ฟีเจอร์ของแพลตฟอร์มทั้งหมดอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อการลดต้นทุน
ฮาร์ดไดรฟ์ 1TB 7.2K rpm จะติดอยู่ด้านหน้าของแชสซี อยู่ระหว่างข้อต่อแขนแกว่งของ PSU ในที่นี้ ฮาร์ดไดรฟ์ถูกติดตั้งด้วย carrier พลาสติกสีน้ำเงิน ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการดูแลจัดการมาก เราต้องทราบว่าเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ไม่ใช่โซลูชันแผงวงจรแบ็คแพลนระบบ hotswap แต่ไดรฟ์แต่ละตัวจะมีการต่อสายเคเบิลแยกกัน
บางทีความผิดพลาดใหญ่หลวงที่สุดของระบบนี้ก็คือการไม่ได้ให้ตัวยึดจับสีน้ำเงินมาเพิ่มอีกสองตัวสำหรับฮาร์ดไดรฟ์เพิ่มเติม ยังมีพื้นที่ให้สำหรับไดรฟ์ขนาด 3.5″ ได้ถึงสามตัว แต่ Dell ไม่ได้ให้ carrier มาด้วย ในขณะที่สิ่งนี้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปมากกว่าสำหรับภาคตลาดแบบ higher-end ดังนั้น carrier พวกนี้ก็ยังควรมีอยู่ในระบบสำหรับพื้นที่ของ SMB/ SOHO เพื่อให้การติดตั้งอะไร ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น บางภาคส่วนตลาดที่จะนำ PowerEdge T40 ไปใช้อาจไม่สามารถเข้าถึงไดรฟ์สำหรับระบบนี้ที่เป็นของ Dell เองได้อย่างดีที่สุด เราพร้อมยอมแลกออปติคอลไดรฟ์กับถาดเหล่านี้เลยทีเดียว ลองมาดูในฝั่งของคู่แข่งบ้าง HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus มีช่องใส่ไดรฟ์ถึงสี่ช่อง (ไม่ได้ใช้ระบบ hotswap เช่นเดียวกัน) แล้วยังมีฮาร์ดแวร์สำหรับการติดตั้งให้ทั้งสี่ช่อง
ในส่วนของการขยับขยาย คุณอาจเห็นได้ว่าเซิร์ฟเวอร์ตัวนี้มีสล็อต PCIe Gen3 x16 ให้หนึ่งช่อง สล็อต x4 ให้สองช่อง แล้วยังมีสล็อต legacy PCI ให้อีกหนึ่ง PCI ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นปี 1990’s มันโดดเด่นมาจนกระทั่งช่วงปี 2004-2006 ที่ PCIe กลายเป็นมาตรฐานใหม่ไป นี่จึงเป็นสล็อตที่ผ่านช่วงรุ่งโรจน์ของมันมาแล้วกว่าสองทศวรรษ บางคนอาจบอกว่ายังมีโซลูชันที่ยังต้องใช้ PCI อยู่ แต่ ณ จุด ๆ นี้ จำนวนของระบบที่ผลิตขึ้นมาโดยมีช่องสล็อต PCI ที่ไม่ได้ใช้ ได้ทำให้สิ่งนี้ไม่จำเป็นและไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไรนัก เราอาจประหยัดการใช้พลาสติกและพลังงานได้โดยการไม่ต้องนำอะไรจำพวกนี้ไปยัดใส่ระบบที่มีทั้งหมด เพียงใส่ในระบบที่เฉพาะทางเอามาก ๆ แค่นั้นก็พอ
เราจะเห็นว่ายังมีสล็อต M.2 ด้วย แม้จะมีฟังก์ชันนี้ให้ใช้งานใน Precision 3630 แต่เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้จะไม่อ่านไดรฟ์ที่เราซื้อมาใช้กับสล็อตนี้แต่อย่างใด
บางคนอาจสังเกตเห็นว่าเราไม่ได้พูดถึง iDRAC - เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน PowerEdge T40 จึงไม่มีโซลูชัน iDRAC BMC ซึ่งหมายความว่ามันมีการจัดการ AMT แบบเดสก์ท็อป แต่ไม่มีการจัดการ BMC ในแบบเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง HPE นำฟีเจอร์ดังกล่าวออกไปจาก HPE ProLiant MicroServer Gen10 ดังที่เราเห็นได้จากบทความรีิวิวภาพรวมของ HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus v Gen10 Hardware และรีวิว MicroServer Gen10 Plus ที่ต่อยอดมาภายหลัง HPE ได้ผลตอบรับว่าลูกค้าของตนต้องการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์จากฝั่งปลายสุดของเครือข่ายหรือจากฝั่ง ‘Edge’ พอๆ กับเซิร์ฟเวอร์จากฝั่งศูนย์ข้อมูลหรือฝั่ง ‘Data Center’ คนคนนั้นก็ต้องใช้ Dell EMC PowerEdge T140 หากต้องการฟีเจอร์นี้ แต่เมื่อปราศจาก iDRAC ก็เริ่มเกิดข้อถกเถียงกันขึ้นมาแล้วว่านี่เป็นเซิร์ฟเวอร์ หรือเป็น Workstation กันแน่
ช่องทางการซื้อ Dell EMC PowerEdge T40:
https://www.quickserv.co.th/server/DELL/Tower-:-Single-Socket/Dell-PowerEdge-T40.html
อ่านรีวิวเต็มได้ที่ https://bit.ly/3ckaaYT