รีวิว HPE ProLiant DL380 Gen10
เซิร์ฟเวอร์แร็ค ขนาด 2U ซึ่งจัดว่าเป็น Flagship ของ HPE ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น Gen10 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ รวมถึงเป็นการโชว์ผลงานของ Intel’s Xeon Scalable CPUs ได้เป็นอย่างดี
ข้อดี
สุดยอดแห่งความคุ้มค่า; ซีพียู Xeon Scalable; ด้วยระบบการทำงานที่สามารถปรับให้มีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น; ตัวเลือกการจัดเก็บที่มีให้เลือกอย่างมากมาย; การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพของ iLO 5; แพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัยที่มีศักยภาพสูง
คำตัดสิน
อาจจะมองว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์แร็ค ขนาด 2U ที่มีความหลากหลายที่สุดในโลก ซึ่ง DL380 Gen10 ได้นำเสนอคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปได้อย่างยอดเยี่ยม รวมถึงทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่, การบริหารจัดการ iLO 5 ที่เป็นไปอย่างราบรื่น ตลอดจนมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด
ProLiant DL380 ของ Hewlett Packard Enterprise ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของรายชื่อผู้ขายที่ดีที่สุด - และด้วยเหตุผลที่ดีเหล่านี้ จึงถูกจัดให้เป็นเซิร์ฟเวอร์แร็คที่มีความสามารถมากที่สุด มีเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่มันไม่สามารถทำได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่น้อยมาก และมีเฉพาะเราเท่านั้นที่จะนำมาเสนอให้คุณเป็นคนแรก โดยตัดสินใจลงมือทำการรีวิว Flagship ของ Gen10 รุ่นใหม่ จาก HPE
ยังมีส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย เกี่ยวกับการสนับสนุนการทำงานสำหรับซีพียูในตระกูล Intel Xeon Scalable, CPU DL380 Gen10 ที่ได้รับการรีเฟรชอย่างสมบูรณ์ในหมวดของการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการออกแบบใหม่ที่มีการดีไซน์แยกออกแบบเป็นส่วนๆ โดยที่อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน Smart Array RAID ของ HPE ยังได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีทางเลือกในการจัดเก็บข้อมูลและอินเตอร์เฟสที่มากขึ้น
เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีความสามารถในการรองรับ DDR4 SmartMemory ได้สูงถึง 3.0 TB และยังสามารถรองรับหน่วยความจำแบบถาวร (Persistent Memory) ของ HPE แบบ NVDIMMs (Non-Volatile Dual In-line Memory Modules) ได้ถึง 192GB ซึ่งเหล่านี้ ต่างก็ถูกจัดลำดับให้เป็นแอพพลิเคชั่นที่มีความต้องการสูง ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์หรือการใช้ฐานข้อมูล (Databases) และ DRAM ซึ่งเป็นหน่วยความจำสำรองที่มีประสิทธิภาพสูง ขนาด 8GB โดยได้รับการสนับสนุนจากแฟลชขนาด 8GB ติดตั้งอยู่บนโมดูล DIMM ที่เป็นฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) รูปแบบมาตรฐาน
และที่นอกเหนือไปกว่านั้น ยังรวมถึงตัวควบคุมการจัดการ iLO 5 ใหม่ ของ HPE ซึ่งนำเสนอคุณลักษณะพิเศษใหม่ๆ อีกมากมาย ที่มาพร้อมกับการตรวจสอบสถานะการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ด้วย Silicon Fingerprinting, การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และเทคโนโลยีการตรวจจับการโจมตีในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นหรือที่เรียกว่า Breach Detection
Storage
สำหรับการรีวิวในครั้งนี้ เราให้ความสำคัญไปที่ Performance model 826556-B21 ของ HPE ซึ่งเป็นการจับคู่กันของซีพียู 12-core 2.3GHz Intel Xeon Gold 5118 ให้ทำงานร่วมกันกับหน่วยความจำแบบ DDR4 ขนาด 64GB ถ้าพิจารณาอย่างคร่าวๆ จะเห็นได้ว่า HPE ยังคงมีรูปแบบการกำหนดค่าไดร์ฟ 8 + 8 + 8 ซึ่งช่วยให้สามารถรองรับไดร์ฟ SFF ได้สูงสุด 24 ช่อง
คุณสามารถปรับแต่งเพิ่มด้วยชุด Universal Media ของ HPE โดยติดตั้งลงในช่องใส่ไดร์ฟที่อยู่ทางด้านซ้าย ซึ่งประกอบด้วย USB3.0 แบบ Dual พอร์ต, ออฟติคอลไดร์ฟ (Optical Drive) ที่เพิ่มในส่วนของ DisplayPort และพื้นที่ว่างสำหรับเพิ่มไดร์ฟ SFF ได้ 2 ช่อง ด้านล่าง ยังมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่านี้ที่เกิดขึ้นที่ด้านหลัง: คุณสามารถเพิ่ม SFF Hot-Swap Cages แบบ Dual ได้อีก 3 ชุด ซึ่งรวมแล้วสามารถรองรับได้สูงสุดถึง 30 ช่อง
Chassis ที่ใช้สำหรับ SFF ยังสามารถใช้เพื่อรองรับ HPE Persistent Memory NVMe ได้มากถึง 20 ช่อง หากความต้องการทางด้านสมรรถนะ (Capacity) เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องนึกถึงเป็นอันดับแรก มันสามารถที่จะใช้ช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟ LFF จำนวน12 ช่องที่อยู่ในส่วนของด้านหน้า, 3 ช่อง ที่ด้านหลัง และแม้กระทั่งตรงกลางที่สามารถบรรจุได้อีก 4 ช่อง โดยใช้ชุด Midplane HDD Kit ที่กำหนดเองของ HPE
โมเดลทุกรุ่น เริ่มต้นด้วย Smart Array S100i ที่ควบคุมด้วย Embedded Chips ของ HPE ซึ่งรองรับกับการเชื่อมต่อ RAID 0, 1, 5 และ 10 สำหรับรองรับไดร์ฟแบบ SATA สูงสุด 14 ชุด นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ของเรายังมี Smart Array P408i-a Snap-In Module ซึ่งมาพร้อมกับ SAS3 ที่เพิ่มหน่วยความจำที่ใช้สำหรับป้องกันแฟลช ขนาด 2GB เพื่อความสมดุลในการจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ HPE ยังนำเสนอโมเดลอื่นๆ ที่มีขนาดของหน่วยความจำที่แตกต่าง รวมถึงช่องเสียบที่เป็น External Ports ที่มีเพิ่มขึ้นจากจำนวนปกติ
ที่มา: www.itpro.co.uk