10 เคล็ดลับป้องกันมัลแวร์จากไวรัสคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน
ทุกวันนี้ พวกเราส่วนใหญ่ต้องจัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (virus computer) หรือมัลแวร์ (malware) บางชนิด มันไม่สนุกเลย แถมน่ารำคาญ เสียเวลาและน่าหงุดหงิดมาก เมื่อคอมพิวเตอร์ของเราทำงานช้าลงหรือทำงานผิดปกติเราก็มักสงสัยว่ามีไวรัสอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แน่ ๆ เลย จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่ไวรัสก็ได้ แต่ทว่ามันคือมัลแวร์ เป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายต่าง ๆ และสร้างความน่ารำคาญให้กับผู้ใช้งานตลอดเวลา ผู้ร้ายที่เลวร้ายที่สุดคือโจรเรียกค่าไถ่ ที่ใช้โปรแกรมมัลแวร์ควบคุมเว็บบราวเซอร์หรือแย่กว่านั้นคือยึดครองคอมพิวเตอร์ของคุณ เราต้องคอยลบโปรแกรมร้ายเหล่านี้ออกจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บ่อย ๆ และผมมั่นใจว่าคุณเองก็ทำได้เช่นกัน ลองดูเคล็ดลับทั้ง 10 ข้อต่อไปนี้จะป้องกันมัลแวร์จากไวรัสคอมพิวเตอร์ ช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัย
1. ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์ (Anti-Virus/Malware Software)
เคล็ดลับนี้ใคร ๆ ก็รู้ชัดเจนอยู่แล้วจนไม่ต้องเอ่ยอะไรอีก และผมก็พูดถึงแล้วบางส่วนในย่อหน้าแรก ๆ อย่างไรก็ตาม ผมเคยเห็นคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ที่บ้านมักจะไม่มีการป้องกันไวรัสและมัลแวร์ ขั้นตอนป้องกันนี้สำคัญมากจำเป็นต้องทำเป็นสิ่งแรกเพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ปลอดภัยจากไวรัส
2. ให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอัปเดตอยู่เสมอ
การมีซอฟต์แวร์ป้องกันเป็นขั้นตอนแรก ขั้นตอนต่อมาคือการบำรุงดูแลรักษา แม้ว่าเราใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแบบฟรีก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย แต่ขอเน้นย้ำว่าวิธีนี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด บริษัท Microsoft เองก็เตรียมแพคเกจความปลอดภัยแบบใช้งานได้ “ฟรี” คุณได้สิทธ์ใช้งานฟรีเพียงแค่มี Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่คุณต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ Windows ผู้ใช้งานหลายคนไม่เคยทราบว่ามีโปรแกรมนี้อยู่ แต่ทว่าโปรแกรมนี้เป็นการป้องกันที่ดี
3. เปิดใช้งานกำหนดเวลาให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสสแกนล่วงหน้า
สิ่งนี้อาจจะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ มากแต่หลายคนมักลืมทำสิ่งนี้เสมอ ควรตั้งค่าซอฟต์แวร์ให้รันทำงานเป็นประจำ และกำหนดให้สแกนสัปดาห์ละครั้ง และไม่ต้องรอระหว่างสแกนอยู่ มันเป็นเรื่องยากมากที่จะทำงานไปด้วยขณะที่โปรแกรมป้องกันไวรัสกำลังสแกนอยู่ ทางออกที่ดีคือรันโปรแกรมในช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงที่คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรามักจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลากลางคืนแล้วโปรแกรมก็ไม่เคยได้สแกนเลย จงตั้งค่าซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของคุณให้ทำงานในเวลากลางคืนตามกำหนดและปล่อยให้คอมพิวเตอร์ทำงานในวันนั้นเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้ปิดเครื่องหรือเข้าสู่โหมดไฮเบอร์เนต (Hibernation mode) โดยอัตโนมัติ
4. รักษาระบบปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน
ไม่ว่าคุณจะใช้ปฏิบัติการ Windows, Mac OS X, Linux หรือระบบอื่น ๆ ให้อัปเดตอยู่เสมอ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักออกแพทช์ด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขปัญหาและอุดรูรั่วระบบรักษาความปลอดภัยอยู่บ่อยครั้ง แพทช์เหล่านี้จะช่วยให้ระบบของคุณปลอดภัย เช่นเดียวกันช่วยให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอัปเดตอยู่เสมอ ไวรัสและมัลแวร์ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลา ทว่าซอฟต์แวร์สแกนทำงานได้ดีขึ้นอยู่กับฐานข้อมูล ฐานข้อมูลต้องทันสมัยอยู่เสมอเท่าที่จะเป็นไปได้
5. รักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์หลายเครื่องของเราเชื่อมต่อกับไฟล์ เครื่องพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ต้องมั่นใจว่ารหัสผ่านที่จำเป็นต้องใช้และรหัสผ่านนั้นมีความแข็งแรง ไม่เคยเผยแพร่เมื่อเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบเปิด ให้ใช้การเข้ารหัส WPA หรือ WPA2 ส่วนการเข้ารหัส WEP ไม่แข็งแรงเพียงพอเนื่องจากมันสามารถบายพาส (Bypass) ได้จากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้คุณไม่ควรเผยแพร่ SSID (ชื่อเครือข่าย Wi-Fi ของคุณ) คุณยังคงสามารถเข้าถึงจากอุปกรณ์ของคุณได้ คุณจะต้องพิมพ์ SSID และรหัสผ่านด้วยตนเอง หากคุณมีแขกประจำที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่บ่อย ๆ ให้ระบุ SSID แบบผู้มาเยือนที่ใช้รหัสผ่านอื่น ในกรณีนี้เพื่อนก็อาจจะเป็นแฮกเกอร์ตัวร้ายก็เป็นไปได้
6. คิดก่อนคลิกทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์ อย่าเปิดไฟล์แนบในอีเมลจากบุคคลหรือบริษัทที่คุณไม่รู้จัก อย่าคลิกลิงก์ในอีเมลที่ไม่พึงประสงค์ วางเมาส์ไว้เหนือลิงก์ดูก่อนเสมอ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิงค์ที่มี URL shortener) ดูก่อนคลิกลิงค์เชื่อมโยง หากคุณจำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์ทั้งจากอินเทอร์เน็ต, อีเมล, FTP site หรือบริการแชร์ไฟล์ต่าง ฯลฯ ให้สแกนไฟล์ก่อนเรียกใช้งาน ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่ดีนั้นจะสแกนให้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องมั่นใจว่าโปรแกรมเปิดใช้งานอยู่
7. เก็บข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัย
นี่เป็นเรื่องที่ทำยากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต แฮกเกอร์หลายคนเข้าถึงไฟล์ของคุณโดยไม่ต้องออกแรงมาก แต่โจมตีผ่านทางวิศวกรรมสังคม (social engineering) พวกเขาได้ข้อมูลเพียงพอจนเข้าถึงบัญชีออนไลน์ของคุณและเก็บข้อมูลส่วนตัวได้มากพอ พวกเขาจะจัดการต่อจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีจนกว่าจะได้ข้อมูลเพียงพอทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลธนาคารหรือขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ทั้งหมด จงรอบคอบเมื่อใช้กระดานสนทนาและโซเชียลมีเดีย ล็อกตั้งค่าความเป็นส่วนตัวทั้งหมดและหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริงหรือข้อมูลส่วนตัวในกระดานสนทนา
8. อย่าใช้งาน Open Wi-Fi หรือ ไวไฟสาธารณะ
อย่าใช้งาน Open Wi-Fi เมื่อคุณอยู่ที่ร้านกาแฟในท้องถิ่น ห้องสมุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สนามบิน อย่าใช้งาน Open Wi-Fi (ที่ไม่มีรหัสผ่านและไม่เข้ารหัส) ลองนึกดูว่าหากคุณสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน บุคคลที่เป็นอันตรายก็สามารถคิดร้ายทำสิ่งต่าง ๆ ได้เช่นกัน?
9. สำรองไฟล์ข้อมูล
สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือ สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งมีไฟล์ข้อมูลอย่างน้อย 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ที่ทำงาน บนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่แยกต่างหาก และนอกสถานที่ เก็บไฟล์ไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณ สำรองข้อมูลไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก จากนั้นก็สำรองข้อมูลไว้ในสถานที่อื่นเอาไว้ด้วย คุณสามารถใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลหรือใช้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกสองตัว และเก็บข้อมูลไว้ในที่ทำงาน ที่บ้านเพื่อน ที่บ้านญาติ หรือในตู้เซฟก็ได้ เหตุใดการสำรองข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ลองพิจารณาเรื่อง ความเสี่ยงทางธุรกิจ: 5 เคล็ดลับสำคัญที่ต้องรู้ในการสำรองข้อมูล
10. ใช้รหัสผ่านที่แข็งแรงไม่ซ้ำกัน
อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบัญชีธนาคารของคุณ โดยปกติเราใช้ที่อยู่อีเมลเดียวกันหรือชื่อผู้ใช้เดียวกันทุก ๆ บัญชี ทำให้คนพบเจอและถูกขโมยได้ง่าย ถ้าคุณใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง หรือในหลาย ๆ สิ่ง แล้วบัญชีจะถูกแฮกค์ได้ภายในเสี้ยววินาที ต้องใช้รหัสผ่านที่แข็งแรง ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข ตัวพิมพ์ใหญ่ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นรหัสผ่าน ตั้งรหัสผ่านที่ช่วยให้จดจำได้ง่าย แต่ทว่ายากที่จะคาดเดา อย่าใช้วันที่หรือชื่อสัตว์เลี้ยงเป็นอันขาด
ที่มา: www.autodesk.com
สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © 2024 บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด
124/124 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2496-1234 โทรสาร 0-2496-1001