Please wait...
IT UPDATE COMMERCIAL
Hyperloop คืออะไร และจะกลายเป็นการขนส่งแห่งอนาคตหรือไม่

Image Source

Hyperloop ระบบขนส่งสุดล้ำแห่งอนาคต มีมาสักพักแล้วตั้งแต่ผู้ประกอบการอย่าง Elon Musk ได้นำเสนอ “พาหนะรูปแบบที่ 5 (fifth mode of transport)” ในปี 2012 แนวคิดที่ผู้โดยสารสามารถเดินทางผ่านท่อด้วยความเร็ว 700 ไมล์ต่อชั่วโมง (1200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) รุดหน้าพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยนักประดิษฐ์และนักลงทุนที่ให้การสนับสนุนแก่พวกเขา
 
แม้ว่าจะดูเหมือนว่าเหนือจินตนาการ แต่ก็ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะต้องฉงนใจเกี่ยวกับ "อนาคตของการขนส่ง" แผนโครงการ Hyperloop และบริษัทที่อยู่เบื้องหลังกำลังรุดหน้าดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ท่อแห่งแรกของโลก
แต่ Hyperloop คืออะไรกันแน่? เหตุใด Musk จึงคิดขึ้นมา?  บริษัทใดอยู่เบื้องหลังผลักดันเทคโนโลยีเหล่านี้? ลองอ่านรายละเอียดต่อไปนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจสักหน่อย และไม่แน่คุณอาจจะเป็นหนึ่งคนที่เห็นด้วยกับ Hyperloop ก็เป็นได้
 
Hyperloop คืออะไร และทำงานอย่างไร?

Hyperloop เป็นระบบขนส่งรูปแบบใหม่ที่เราจะได้เห็นยานแคปซูลหรือยานคอนเทนเนอร์เดินทางด้วยความเร็วสูงผ่านท่อสุญญากาศ ยานแคปซูลจะลอยตัวโดยใช้เทคโนโลยีการลอยตัวด้วยแรงแม่เหล็ก (Magnetic Levitation Technology) หรือลอยตัวด้วยการใช้ล้อเลื่อนอากาศ “สกีส์” คล้ายกับการเดินทางผ่านโต๊ะฮอกกี้อากาศ
เนื่องจากตัวท่อมีแรงเสียดทานน้อยมาก ทำให้แคปซูลสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความเร็วสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ที่ 760 ไมล์ต่อชั่วโมง (1200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
 
แคปซูลในช่วงแรกจะขับเคลื่อนโดยใช้กำลังมอเตอร์ไฟฟ้าก่อนใช้เทคโนโลยีการลอยตัว และแคปซูลสามารถแล่นด้วยความเร็วไปเรื่อย ๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีแรงดันต่ำ ตัวท่อสำหรับ Hyperloop จะมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินและอยู่ใต้ดิน โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตรเท่านั้น ใช้พื้นที่น้อยกว่ารถไฟและถนนแบบดั้งเดิมมาก
การออกแบบแคปซูลในปัจจุบันจะออกแบบให้แคปซูลเป็นอิสระต่อกัน สามารถปล่อยได้ตามต้องการใช้เวลาทุก ๆ 20 วินาที และมีเป้าหมายการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบขับเคลื่อนจะใช้พลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์


 
Image Source
 
จุดเริ่มต้นแนวคิดมาจากไหน?

แนวความคิดในการเดินทางผ่านท่อสุญญากาศมีมานานนับกว่า 100 ปี ในความเป็นจริงแล้วรถไฟใต้ดินบางแห่งในสหราชอาณาจักรก็เริ่มใช้ระบบแรงดันอากาศ แต่ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง Hyperloop มาจากนาย Elon Musk ผู้ประกอบการเต็มตัวที่อยู่เบื้องหลัง PayPal, Tesla และ SpaceX ในปี 2012 การแสดงปาฐกถาที่จัดขึ้นในแคลิฟอร์เนีย เขาเสนอระบบขนส่งที่สามารถคงทนต่อสภาพอากาศ มีความเร็วเป็นสองเท่าของเครื่องบิน และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยมาก หลังจากนั้นเขาได้อธิบายเทคโนโลยีของเขาที่เป็นการผสมผสานระหว่างปืนแม่เหล็กไฟฟ้าแบบรางคู่ (Railgun) เครื่องบินคองคอร์ด (Concorde) และโต๊ะแอร์ฮอกกี้ (Air Hockey Table)
 
Musk อ้างว่ารถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail) นั้นมีราคาแพงและช้าเกินไป เขาเสนอไว้ในบทความที่ออกมาในปี 2013 สำหรับพิสัยระยะทางราว 900 ไมล์ แคปซูลของ Hyperloop จะเป็นวิธีการขนส่งสำหรับผู้โดยสารและการขนย้ายที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เขากล่าวยืนยัน ในช่วงแรก การออกแบบ Hyperloop อยู่ในรูปแบบโอเพนซอร์ส Musk นำจรวดขับดัน Space X กลับมาใช้ใหม่ในเชิงการค้า เขามีส่วนร่วมเพื่อวิจัยและแสวงหาแนวคิดใหม่ ๆ แต่จะไม่ทำ Hyperloop รุ่นแรกในทันที จึงตกเป็นของนักลงทุนเอกชนและผู้ประกอบการอิสระแทน
 
ใครเป็นผู้พัฒนา Hyperloop ตัวแรก?

มีหลายบริษัทที่กำลังคิดหาวิธีสร้าง Hyperloop เชิงพาณิชย์รุ่นแรก และแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีที่จะทำให้ระบบการขนส่งแห่งอนาคตเกิดขึ้นจริง Space X ได้จัดการแข่งขันออกแบบเพื่อสร้างทีมพัฒนาและทดสอบแคปซูลที่สามารถใช้กับ Hyperloop เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2015 เป็นต้นมา มีผู้เข้าแข่งขันมากกว่า 1,000 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน รวมถึงทีมจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (University of Edinburgh) ซึ่งเข้าสู่รอบรองชนะเลิศที่จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม นับตั้งแต่ริเริ่มการแข่งขัน บริษัทต่าง ๆ ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี เทคโนโลยีหลัก ๆ ได้แก่ Hyperloop Transportation Technologies และ Hyperloop One



 
รางแรกถูกสร้างขึ้นที่ไหน?

อยู่ในขั้นทดสอบกำลังดำเนินการในรัฐ Nevada จาก Hyperloop One ซึ่งสร้างรางทดสอบแรก 500 เมตรเพื่อริเริ่มแคปซูลต้นแบบ แต่ Hyperloop รุ่นแรกอาจไม่ได้สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกา เส้นทางแรกเส้นทางจากแนวคิดของ Musk ต้นทางจาก Los Angeles สุดปลายทาง Francisco ถูกยกเลิกไป
 
ความต้องการในการพัฒนาและทดสอบ Hyperloop เกิดขึ้นจากภายนอกสหรัฐอเมริกา เช่น Netherlands และ Finland ในยุโรปได้แสดงความสนใจว่าจะเป็นสถานที่ต่อไปเพื่อทดสอบรางจาก Hyperloop One แม้แต่ Dubai และ Abu Dhabi ก็สนใจเข้าร่วมด้วย เนื่องจากกลุ่ม DP World group ของดูไบเป็นผู้ลงทุนหลักในด้านเทคโนโลยี เส้นทางที่เสนอต่าง ๆ ส่วนหนึ่งของ Hyperloop เพื่อลดเวลาเดินทางจาก London ไปยัง Edinburgh ใช้เวลาเพียง 50 นาที รวมทั้งเส้นทางพิจารณาอื่น ๆ อีกมีทั้งในโครงการ Hyperloop ของสหรัฐฯ และแม้กระทั่งเส้นทางใน India
 
เส้นทางต่าง ๆ ที่มุ่งหวังไว้ ได้แก่

Hyperloop One
•          เอสโตเนีย (Estonia) - ฟินแลนด์ (Finland) , 56 ไมล์
•          เวียนนา (Vienna) – บูดาเปสต์ (Budapest) , 150 ไมล์
•          ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) , 266 ไมล์
•          คอร์ซิกา (Corsica) – ซาร์ดิเนีย (Sardinia) , 280 ไมล์
•          เฮลซิงกิ (Helsinki) – สต็อกโฮล์ม (Stockholm) , 300 ไมล์
•          ลิเวอร์พูล (Liverpool) – กลาสโกว์ (Glasgow) , 339 ไมล์
•          สเปน (Spain) – มอร็อคโค (Morocco) , 391 ไมล์
•          ลอนดอน (London) – เอดินเบิร์ก (Edinburgh) , 414 ไมล์
•          ประเทศโปแลนด์ (Poland), 415 ไมล์
•          คาร์ดิฟฟ์ (Cardiff) - (กลาสโกว์) , 657 ไมล์
•          เส้นทางในประเทศเยอรมนี (Germany) , 1,237 ไมล์
•          5 ห้าเส้นทางหลักในประเทศอินเดีย
•          11 เส้นทางหลักอื่น ๆ ในสหรัฐ (US)
 
Hyperloop Transport Technologies
•          เบอร์โน (Brno) – บราติสลาวา (Bratislava) , 80 ไมล์
•          อาบูดาบี (Abu Dhabi) – แอลเอน (Al Ain) , 107 ไมล์
 
SpaceX/Elon Musk
•          ซานฟรานซิสโก (San Francisco) – ลอสแองเจลิส (Los Angeles) , 380 ไมล์
 
ต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร?

หนึ่งในประเด็นสำคัญหลักเพื่อเปลี่ยนไปใช้ Hyperloop คือ เรื่องการประหยัดต้นทุนที่เป็นไปได้ของเทคโนโลยีเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ต้นทุนที่จำเป็นของ Hyperloop นั้นใช้พื้นที่ก่อสร้างตัวท่อและใช้พลังงานขนส่งแคปซูลน้อยกว่ารถไฟแบบดั้งเดิมมาก
Musk คาดการณ์ว่าเส้นทางที่เขาเสนอในลอสแอนเจลิสจะมีราคาประมาณ 6 พันล้านเหรียญหรือ 11.5 ล้านเหรียญต่อไมล์เทียบกับรถไฟความเร็วสูงต้นทุนอยู่ที่ 68 พันล้านเหรียญ อย่างไรก็ตามเอกสารที่รั่วไหลจาก Hyperloop One ชี้ให้เห็นว่าแม้แต่รางวงแหวน 107 ไมล์ใน California ก็ยังคงต้องใช้จ่ายถึง 13 พันล้านเหรียญหรือ 121 ล้านเหรียญต่อไมล์
 
Hyperloop จะเกิดขึ้นจริงไหม?

ในขณะที่โครงการอาจดูไกลจากความจริง กิจการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Musk ได้หายเงียบไปอย่างไม่น่าเชื่อ หลายคนหันกลับมาใช้ทฤษฎีเบื้องหลัง Hyperloop แทน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายรัฐบาลและการระดมทุนจากบริษัท General Electric และบริษัทรถไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสอย่าง SNCF แต่ยังอยู่ขั้นทดสอบและศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี จนกระทั่งปี 2017 Hyperloop One ได้เริ่มการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ครั้งแรก มีการปล่อยแคปซูล 500 เมตร บนรางทดสอบใน Nevada ซึ่งจะได้เห็นโมดูลเร่งความเร็วถึง 70 ไมล์ต่อชั่วโมง ในเวลาเพียง 5.3 วินาที
ด้วยความทะเยอทะยานสูงของบริษัท รวมถึงความสามารถของระบบ Hyperloop ทั้ง 3 ฟังก์ชันทำงานหลัก คาดว่าจะให้บริการเต็มตัวในปี 2021 หากเหล่านักพัฒนาสามารถทำงานได้ตามเวลาที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น Hyperloop ตัวแรกจะพร้อมออกมาให้ใช้งานเร็วกว่าที่คุณคิดอย่างแน่นอน



ที่มา: http://www.telegraph.co.uk
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์