Please wait...
IT UPDATE COMMERCIAL
รีวิว Dell OptiPlex 3090 SFF

รีวิว Dell OptiPlex 3090 SFF


 

เดสก์ท็อปสำหรับธุรกิจที่มีขนาดกะทัดรัด แต่มีการรับประกันระยะยาว

ข้อดี ข้อเสีย
มีไดรฟออปติคัล ไม่มี Wi-Fi หรือ Bluetooth มาให้ในการตั้งค่าเริ่มต้น
รันเครื่องได้เงียบกริบ ไม่มีพอร์ต USB-C
ประสิทธิภาพในการทำงานมีเพียงพอสำหรับการทำธุรกิจพื้นฐาน ใช้ส่วนต่างพาวเวอร์ซัพพลายถึง 200 วัตต์สำหรับกราฟิกการ์ด
ราคาสมเหตุสมผล  
ประกันออนไซต์สามปี  

DELL OPTIPLEX 3090 SMALL FORM FACTOR SPECS

Desktop Class Small Form Factor (SFF)
Processor Intel Core i5-10505
Processor Speed 3.2 GHz

เดสก์ท็อป PCs รุ่น OptiPlex 3000 ของ Dell มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ คีออสก์ข้อมูล นับว่าเป็นการใช้งานอย่างหนึ่งสำหรับการใช้งานของเดสก์ท็อป รุ่น OptiPlex 3090 ที่จะมารีวิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสามารถใช้งานกับแท็บเล็ตแบบแอนดรอย อย่าง PCs รุ่น OptiPlex 3090 (ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ $869 ณ ช่วงที่เรารีวิวอยู่นี้) นั้นก็ทำหน้าที่ได้ดีกว่าในการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลคำสั่งที่ยากเกินความสามารถของแท็บเล็ตหรือแล็ปท็อปสำหรับธรุกิจขนาดเล็กทั่วไป หรือในกรณีที่ต้องใช้แอปพลิเคชันวินโดว์ หรือระบบรักษาความปลอดภัยแบบ vPro นั่นเอง นับว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้งานได้เกือบทุกที่ รวมถึงยังสามารถรันโปรแกรมสำหรับธุรกิจได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังมีตัวเลือกให้ปรับสเปกหลากหลาย พร้อมรับมือกับความยืดหยุ่นของการทำงาน และยังสามารถดึงดูดความสนใจในธุรกิจขนาดต่างๆ อีกหลายขนาดด้วย รวมถึงการรับประกันที่คุ้มค่ากับระยะเวลา ทำให้เดสก์ท็อป PCs ตัวนี้เป็นหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่ต้องการอุปกรณ์ที่กะทัดรัดใช้งานง่าย โดยเดสก์ท็อป PCs ตัวนี้ได้รางวัล Editors' Choice ในกลุ่มธุรกิจพื้นฐานด้าน PCs  เพราะเป็นตัวเลือกที่ใช้งานได้จริงสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ มากกว่ารุ่นที่เป็น Tower หรือรุ่น OptiPlex 5090 เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ของสำนักงาน และประเภทการอัปเกรดของธุรกิจ PC ขั้นพื้นฐาน

อธิบายการตั้งค่าของ OptiPlex
 

OptiPlex 3090 รุ่นเริ่มต้นมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เหมือนกับรุ่นระดับกลางอย่างรุ่น OptiPlex 5090 และรุ่นระดับไฮเอนด์อย่างรุ่น OptiPlex 7090 ซึ่งรวมถึงรูปแบบแชสซี  Micro, SFF และ Tower ทั้งนี้เราจะพบว่ามันใช้โปรเซสเซอร์ Intel Core i3 และ Core i5 เจนเนอเรชั่น 10 หรือ 11 รวมถึงเอ็กซ์ตร้าอื่นๆ อีก เช่น Wi-Fi ฮาร์ดไดรฟแผ่นรอง การ์ดเสริม และแน่นอนว่าจอภาพ เมาส์ และคีย์บอร์ด ไม่ได้มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์ต่อพ่วงด้วย

พาวเวอร์ซัพพลายขนาด 200 วัตต์ในรุ่น 3090 ที่เราใช้ในรีวิวนั้นเพียงพอสำหรับ Add-in ที่จำกัด เช่นไดรฟเสริมหรือการ์ด Wi-Fi แต่ถ้าคุณต้องการกราฟิกการ์ดแยก ที่มีแสงกระทบต่ำ OptiPlex 5090 รุ่นทาวเวอร์ที่มีพาวเวอร์ซัพพลาย 260 วัตต์อาจตอบโจทย์กว่า (แม้จะไม่มี GeForce RTX หรือ Radeon RX bricerer  แต่เรากำลังพูดถึงการ์ดอย่าง GeForce MX ซึ่งอาจยกระดับฟังก์ชันการแสดงผลหลายจอได้ดีกว่าการ์ดจอ integrated) 

OptiPlex 3090 นั้นเป็นระบบพื้นฐาน โดยมี RAM ขนาด 16GB และ Intel Core i5-10505 แบบ 6 คอร์ (จากตระกูล CPU Comet Lake) รันด้วยความเร็ว 3.2GHz นับว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอแล้วสำหรับสำนักงานธุรกิจทั่วไป การใช้การ์ดจอ Integrated Intel UHD 630 ซึ่งไม่นับว่าหรูหราเท่า Intel UHD Graphics 750 ใน OptiPlex 5090 แต่ก็ใช้ได้ดีสำหรับการแสดงผลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ OptiPlex 3090 ยังมาพร้อมกับไดรฟออปติคัล ในกรณีที่ธุรกิจของคุณต้องการเบิร์น DVD เพื่อสำรองข้อมูลหรือเก็บไฟล์ไว้บนดิสก์

แต่สำหรับรุ่นที่เรารีวิวอยู่ตอนนี้ ดูเหมือนจะมีราคาที่เบาไปเมื่อเทียบกับการทำงานระดับนี้ แต่อย่าลืมว่าธุรกิจหลายๆ ที่ชอบที่จะได้บริการแถมเล็กๆ น้อยๆ เสมอ โดยสิ่งที่คุณจะได้รับคือการตั้งค่าเชทอัพเครื่องไว้พร้อมใช้งาน และมักจะมีฮาร์ดไดรฟ หน่วยความจำ หรือการ์ดเสริมอื่นๆ สำรองไว้


ตัวเลือกประกันและการรองรับที่สนับสนุนใน OptiPlex


ประกันพื้นฐานของรุ่น 3090 รวมถึงบริการหน้างาน เป็นเวลา 36 เดือน และบริการทางโทรศัพท์ซึ่งให้บริการในช่วงเวลาทำการ นอกจากนี้ Dell ยังมี ProSupport เพิ่มบริการออฟไซต์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน การเข้าถึงของช่างประจำพื้นที่ การตรวจจับและแจ้งเตือนปัญหาโดยอัตโนมัติ โดยทาง ProSupport Plus มาพร้อมกับข้อเสนอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การซ่อมบำรุงเมื่อเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ การตรวจพบปัญหาจากการใช้งาน การจัดการไวรัส และรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพพีซีด้วย

หนึ่งในระบบที่เราใช้เปรียบเทียบด้วย คือ Asus ExpertCenter D500 ซึ่งรับประกันหนึ่งปี หรือ Apple iMac 24 นิ้ว ที่ประกันครอบคลุมการซ่อมฮาร์ดแวร์หนึ่งปี ในรูปแบบของประกันแบบจำกัด และบริการช่วยเหลือทางเทคนิคสูงสุด 90 วัน แต่ต้องบอกก่อนว่านี่คือรูปแบบประกันที่จะได้รับสำหรับผู้ใช้งานของระบบพีซีอยู่แล้ว ไม่ใช่การรับประกันในระดับธุรกิจทั่วไป แต่แน่นอนว่าคุณสามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้ แต่ต้องลองพิจารณาดูว่าแผนประกันนั้นสำคัญแค่ไหนเมื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของ OptiPlex สำหรับธุรกิจที่ต้องใช้งานในระยะยาว

OptiPlex 3090 นั้นรองรับ Intel vPro ที่ติดตั้งมาใน CPU สำหรับการยกระดับความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์ การควบคุมจัดการทางไกล และความมั่นคงของแพลตฟอร์ม สำหรับลูกจ้างที่ทำงานจากทางไกล การใช้ vPro จะช่วยในเรื่องความปลอดภัยแม้อยู่นอกสถานที่ และช่วยให้ทีมไอทีสามารถค้นพบ เข้าถึง และปกป้องพีซีของทั้งองค์กรได้จากระยะไกล


การออกแบบที่มีพลังอันถ่อมตนเป็นหัวใจสำคัญ


OptiPlex 3090 เป็นอุปกรณ์ใช้งานระดับต้นๆ ของธุรกิจในกลุ่ม PCs มีราคาสมเหตุสมผล และไม่ได้มีแค่ขนาด SFF เท่านั้น แต่ยังมีขนาดที่ใหญ่กว่า เป็นไซส์ tower หรือขนาดกลางที่เป็นทรง Micro อีกด้วย โดยคู่แข่งทางธุรกิจในกลุ่มนี้เมื่อเทียบกับราคา ก็จะมี Asus ExpertCenter D500 ($649.99) Apple iMac 24-inch ($1,299) และรุ่นกลุ่มเดียวกันอย่าง OptiPlex 5090 ($959)

ในด้านประสิทธิภาพ Asus มีความใกล้เคียงกับ OptiPlex 3090 แต่มีราคาถูกกว่า $100 แต่ Intel Core i5-1140 ของ Asus ไม่รองรับ vPro และมีประกันเพียงหนึ่งปีเท่านั้น โดยทั้งสองรุ่นก็มีข้อด้อยในกลุ่มธุรกิจ PCs เหมือนกัน  ทั้ง CPU ของ OptiPlex 3090 และ Intel Core i5-11500 ของรุ่น 5090 รองรับ vPro ด้วยกันทั้งคู่ ทั้งนี้ การ์ดจอ Integrated ของ Asus นั้นใช้ Intel's UHD Graphics 630 เหมือนกับของ 3090 แทนที่จะใช้ Intel UHD Graphics 730 ที่ล้ำกว่าอย่างที่ใช้ใน  OptiPlex 5090

 สำหรับรุ่นสุดท้านที่เข้าแข่งขันคือ Apple iMac 24 นิ้ว ที่ใช้โปรเซสเซอร์ M1 ของ Apple ซึ่งรวมทั้ง CPU และฟังก์ชันกราฟิก ซึ่งเราต้องยอมรับเลยว่า iMac เป็นเครื่องที่ดูสวยเพรียวมาก จนถึงขั้นทำให้พีซีตัวอื่นๆ อายได้เลย ซึ่งพีซีเหล่านี้มีขนาดหนา รูปทรงเป็นกล่อง แต่ไม่ว่าจะเป็นทรงแบบ Tower หรือ SFF แต่ประสิทธิภาพการทำงานก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานอยู่ดี และดูเหมือนว่า iMac ก็ทำงานในจุดที่ว่านี้ได้เช่นกัน

ที่บอกว่า “ดูเหมือน” เพราะว่า iMac ไม่สามารถรันการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ PCMark หรือการทดสอบกราฟิก 3DMark ได้ ซึ่งทั้งสองระบบนี้ไม่สามารถทดสอบการทำงานบน Mac ได้ แต่จุดไหนที่ใช้ทดสอบได้ Mac ก็ทำคะแนนได้ดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทดสอบกราฟิกทั้งสองตัวที่ iMac แซงหน้าพีซีตัวอื่นๆ  และได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันกับพีซีที่มีการ์ดจอเสริม (หลังจากที่เราได้ทำการทดสอบภายหลัง)

ก่อนอื่นมาดูที่ตัวเคสแชสซีกัน แผงด้านหน้าของ OptiPlex 3090 มีพอร์ต USB 2.0 อยู่สองพอร์ต มีช่องเสียบสายมินิแจ็ค และไฟบอกสัญญาณเล็ก ๆ สำหรับ SSD และปุ่มเปิด/ปิด
ซึ่งไม่มีพอร์ต USB-C ตรงด้านหน้าเหมือนอย่างของ OptiPlex 5090 ส่วนแผงด้านหลังของ 3090 นั้นมีครบทุกองค์ประกอบของพอร์ต USB, DisplayPort, และ Ethernet ช่องพอร์ตการ์ดเสริมอีกสองช่อง และช่องสำหรับพัดลมระบายอากาศ

 ด้านล่างพอร์ต DisplayPort ทั้งสองช่องเป็นพอร์ต USB 3.2 Gen 1 (Type-A) สี่พอร์ต พอร์ต USB 2.0 สองพอร์ต และช่องสายแจ็ค Ethernet ส่วนด้านล่างสุดของแผงด้านหลังคือเต้ารับ 110 โวลต์แบบสามขา


ภายในฝาและองค์ประกอบ


การแกะฝาดูข้างในนั้นทำได้ง่ายๆ ผ่านทางสลักสีน้ำเงินตรงด้านขวาบนของแผงด้านหลัง  ต้องกดมันลงแล้วดึงแผงด้านขวา (มองจากด้านหลัง) เข้าหาตัวเพื่อที่จะถอดฝาออก เมื่อถอดฝาออกแล้ว ฟีเจอร์แรกที่จะเห็นเด่นชัดที่สุดก็คือฝาครอบสีดำเหนือ Core i5-10505 และช่องระบายความร้อน โดยมีพัดลมหนึ่งตัวอยู่ด้านบนเพื่อพัดให้อากาศไหลผ่านฝาครอบและออกไปทางด้านหลัง

 เลย์เอาต์ด้านในมีช่องเสียบหน่วยความจำอยู่สองช่อง (ช่องหนึ่งไว้ใส่โมดูล RAM ขนาด 16GB) ช่องเสริม PCI Express สองช่อง (ช่องหนึ่งเป็นช่อง x16) และพื้นที่สำหรับช่องใส่ไดรฟจัดเก็บขนาด 3.5 นิ้วสองช่อง ไดรฟ solid-state boot drive 256GB เป็นโมดูล M.2 บนเมนบอร์ด แหล่งจ่ายไฟ 200 วัตต์อยู่ในกล่องโลหะด้านล่าง กินพื้นที่ด้านยาวไปเยอะเลยทีเดียวตั้งแต่หน้าจดหลัง และยังมีพาวเวอร์ซัพพลายขนาดกำลังดี ที่มีความจุเพียงพอสำหรับการ์ดเสริม และไดรฟจัดเก็บเพิ่มเติมอีกด้วย แม้ว่าการ์ดกราฟิกที่แยกออกมาอาจเกินขีดจำกัดไปบ้างก็ตาม

แต่ถึงอย่างนั้น 3090 ก็ยังรันได้อย่างเงียบกริบแม้จะกำลังทำงานอย่างหนัก แทบจะไม่รู้เลยว่าพัดลมทำงานอยู่แม้จะเอาหูไปแนบช่องระบายอากาศก็ตาม

OptiPlex 3090 SFF มีขนาด 11.4*2.7*11.5 นิ้ว (HWD) และมีน้ำหนักทั้งหมด 8 ปอนด์


ทดสอบ OptiPlex 3090 SFF: ประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจทั่วไป


อย่างที่บอก Dell OptiPlex 3090 ในรุ่นพื้นฐานที่เราใช้ทดสอบ ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ Intel Core i5-10505 6 คอร์ที่รันด้วยความเร็ว 3.2GHz, การ์ดจอ integrated Intel UHD 630, RAM 16GB, SSD 256GB และระบบ Windows 10 Pro (พร้อมลิขสิทธิ์ Windows 11 หากคุณต้องการอัปเกรด)

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Core i5 เจนเนอเรชั่นที่ 10 ของ 3090 จะประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ i5 เจนเนอเรชั่นที่ 11 ของ 5090  ไม่ได้ แม้ว่า 3090 จะมี RAM 16GB เทียบกับ 8GB ของ 5090 ก็ตาม โปรเซสเซอร์ทั้งสองทำงานที่ 65 วัตต์เช่นเดียวกัน 


ทดสอบทำงานโปรดักชันและผลิตคอนเทนต์
 

เทสต์ตัวแรกของเราคือ PCMark 10 ของ UL ซึ่งจำลองประสิทธิภาพการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริงและเวิร์คโฟลว์ในออฟฟิศ เพื่อวัดประสิทธิภาพของระบบโดยรวม นอกจากนี้ ยังมีเทสต์ย่อยสำหรับการเก็บข้อมูลของไดรฟหลัก เราถือว่า 4,000 คะแนนในเทสต์ตัวแรกเป็นสัญญาณที่บอกว่า PCs เครื่องนี้มีประสิทธิภาพที่ดีมากสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดย OptiPlex 3090 ทำคะแนนได้ถึง 4,658 ซึ่งเป็นรองแค่รุ่น 5090 เท่านั้น ส่วน Asus ExpertCenter ได้ 4,296 (ยังพอรับได้) ในขณะที่ Apple iMac 24 นิ้วไม่ได้คะแนนในเทสต์นี้ และในเทสต์ PCMark 10 นั้น เมื่อทำการทดสอบอีกครั้งโดยมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครึ่งหนึ่ง 3090 ทำได้กลางๆ โดยมีคะแนนอยู่ที่ 1,295 คะแนน

เกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ อีกสามข้อมุ่งเน้นไปที่ CPU โดยใช้คอร์และเธรดทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อให้คะแนนความเหมาะสำหรับการทำงานที่เน้นการทำงานของโปรเซสเซอร์หนัก ๆ เท่าใด  Cinebench R23 ของ Maxon ใช้เอ็นจิ้น Cinema 4D ในการเรนเดอร์ซีนที่มีความซับซ้อน ในขณะที่ Geekbench 5.4 Pro ของ Primate Labs จำลองแอพยอดนิยมตั้งแต่การเรนเดอร์ PDF และการจดจำเสียง ไปจนถึงแมชชีนเลิร์นนิง ขั้นสุดท้ายเป็นการแปลงรหัสวิดีโอ open-source HandBrake 1.4 แปลงคลิปวิดีโอความยาว 12 นาทีจากความละเอียด 4K เป็น 1080p (เวลาที่ต่ํากว่าจะดีกว่า)

OptiPlex 3090 ได้ตำแหน่งสุดท้ายในการทดสอบแปลงวิดีโอ HandBrake โดยใช้เวลาถึง 10 นาที 29 วินาที ช้ากว่า Asus ExpertCenter ไป 7 วินาที โดย iMac ได้คะแนนเป็นอันดับแรก

สำหรับ Cinebench R23  รุ่น OptiPlex 3090 ได้คะแนนอันดับสามด้วยคะแนน 7,868 รองจาก 5090 ที่ได้คะแนน 7,991 และอันดับแรกตกเป็นของ Asus ที่ 8,178 คะแนน และแม้ว่า iMac 24 นิ้วจะมาเป็นที่สุดท้าย แต่ก็ด้วยคะแนน 7,808 คะแนน ซึ่งมีคะแนนห่างกันเพียง 370 คะแนนเท่านั้น ดังนั้นจึงถือว่าใกล้เคียงกันมาก และใน Geekbench 5.4 Pro นั้น iMac รุ่น 24 นิ้วของ Apple พร้อมโปรเซสเซอร์ M1 ทำคะแนนได้ดีที่สุดด้วยคะแนน 7,443 คะแนน และ OptiPlex 3090 ขึ้นมาเป็นอันดับสามด้วยคะแนน 5,168 รองจาก 6,754 คะแนนของ 5090

การทดสอบประสิทธิภาพขั้นสุดท้ายของเราใช้ PugetBench สำหรับ Photoshop ของ Puget Systems และใช้โปรแกรมแก้ไขรูปภาพของ Adobe Creative Cloud เวอร์ชัน 22 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ PCs สำหรับการผลิตคอนเทนต์และแอปพลิเคชันมัลติมีเดีย โดยทดสอบตั้งแต่การทำงานด้วย Photoshop ทั่วไป และงานที่เน้นพึ่ง GPU นับตั้งแต่การเปิดรูปภาพ การหมุนรูป การปรับขนาด และการเซฟรูป ไปถึงการทับภาพด้วย Masks การแต่งสีด้วยการไล่ระดับสีและฟิลเตอร์  โดยในการทดสอบนี้ OptiPlex 5090 ได้คะแนนเป็นอันดับแรก ด้วยคะแนน 546 คะแนนสำหรับ PugetBench มากกว่า OptiPlex 3090 ถึง 41 คะแนน และเหนือกว่า Asus ที่ทำได้เพียง 314 คะแนน


ทดสอบกราฟิกและการเล่นเกม
 

สำหรับพีซี Windows เราทำการทดสอบสองครั้ง (เราข้ามการทดสอบโลกในเกมไปถ้าเป็นพีซีที่ไม่ใช่พีซีเกมมิ่ง) 3DMark ของ UL เป็นการจำลองการเล่นเกม DirectX 12 ทั้งสองแบบ ได้แก่ Night Raid (เรียบง่ายกว่า เหมาะสำหรับระบบที่มีกราฟิกแบบบูรณาการ) และ Time Spy (กำหนดความต้องการสูงกว่า เหมาะสำหรับอุปกรณ์เล่นเกมที่มี GPU แบบแยก) การทดสอบอีกข้อคือเกณฑ์มาตรฐาน GPU ข้ามแพลตฟอร์มอย่าง GFXBench 5 ซึ่งเราใช้เพื่อวัดประสิทธิภาพของ OpenGL
 

สำหรับ GFXBench นั้น iMac 24 นิ้ว ชนะตัวอื่นขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดย OptiPlex 3090 ได้อันดับสุดท้ายในการจำลอง 3DMark โดยได้เพียง 8 เฟรมต่อวินาที (fps) ใน Time Spy และ 25fps ใน Night Raid จากนั้น รุ่น 5090 จึงมาเป็นอันดับสองด้วยเรต 17fps และ 48fps ตามลำดับ ถึงแม้ทั้งหมดนี้จะเป็นเกมพีซี แต่ก็เผยให้เห็นถึงศักยภาพของ PCs แต่ละรุ่นในการจัดการกับงานกราฟิกหนัก ๆ ได้เป็นอย่างดี


บทสรุป : All-In Pick สำหรับธุรกิจแบบเบสิค
 

เมื่อเราพูดถึงกลุ่มธุรกิจทั่วไป หมายถึงออฟฟิศที่มีสภาพแวดล้อมในทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลคำ สเปรดชีต อีเมล การจัดการข้อมูลติดต่อ การประมวลผลรูปภาพ และการเข้าอินเทอร์เน็ตทั่วไป สำหรับงานทั้งหมดนี้ การใช้งาน PCs รุ่น Dell OptiPlex Desktop 3090 ก็นับว่าพอเพียงสำหรับการใช้งาน หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้งานโปรแกรมต่างๆ จนทำให้ PCs ทำงานอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าต่างที่ใช้งานเอาไว้หลายๆ หน้า ก็อาจส่งผลให้เครื่องทำงานหน่วงขึ้นได้เช่น แต่โชคดีที่ RAM ขนาด 16GB ของ 3090 จะช่วยจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยสรุปแล้ว OptiPlex 3090 มีฟอร์มแฟคเตอร์ที่หลากหลาย และมีตัวเลือกให้เลือกซื้อมากมาย ส่งผลให้ OptiPlex 3090 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถ และมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับงานออฟฟิศทั่วไป ซ้ำยังมีการรับประกันถึงสามปี และบริการจาก Intel vPro ที่ทำให้คอมพิวเตอร์รุ่นนี้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับสำนักงานอย่างแท้จริง อีกทั้งยังกลายเป็นตัวเลือกแรกสำหรับออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ด้วยที่ความเป็น PCs พื้นฐานที่มีขนาดกะทัดรัด สามารถปรับแต่งการใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามผู้ใช้งานอีกด้วย
 

ที่มา: https://bit.ly/3lHCSub 

สนใจสั่งซื้อสินค้า Desktops Dell คลิกที่นี่ http://https://www.quickserv.co.th/commercial/pc/DELL.html

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์