OS | Up to Windows 11 Pro or Linux LTS |
Processor | Up to Intel Core i9-12900HX (16C, 24T, 2.3/5.0GHz) |
Graphics | Up to NVIDIA RTX A5500 16GB ECC, 115 TGP |
Memory | Up to 128GB DDR5-4800 ECC/nECC (4 SO-DIMM slots) |
Display |
|
Storage | Up to two M.2 2280 SSD, up to 4TB each (8TB Total), PCIe 4.0 x4, RAID 0/1 support |
WLAN | Intel Wi-Fi 6E AX211 + Bluetooth™ 5.1 |
Ports |
(1) USB-C 3.2 Gen 2 (date, power 3.0, DP 1.4) (1) HDMI 8k/60Hz (NVIDIA models) (4K/60Hz Intel models) (2) USB-A 3.2 Gen 1, 1 Always On (2) USB-C Thunderbolt 4 / USB4 (1) SD Express 7.0 card reader (1) Mic/Headphone Combo Jack (1) Smart Card Reader (optional) (1) Nano-SIM card slot (optional) |
Camera | Up to FHD Hybrid IR Camera with ThinkPad Webcam Privacy Shutter |
Keyboard | 6-row, spill-resistant, numeric keypad, backlit |
Navigation | 3-button TrackPoint® pointing device and mylar surface multi-touch touchpad (67.6mm x 115mm) |
Audio | 2 x 2W Stereo speakers, Dolby® Atmos® |
Security |
|
Battery | 94Wh battery, supports Rapid Charge (charge up to 80% in 1hr) with 170W and 230W AC adapter |
Mechanical |
|
Color/Materials | Top: Storm Grey / AL5052 Bottom: Thunder Black / PPS + 50% GF |
ประสิทธิภาพการทำงานของ Lenovo ThinkPad P16 Gen 1
คุณสมบัติของ ThinkPad P16 Gen 1 มีดังต่อไปนี้
Windows 11 Pro
16-inch WQUXGA (3840×2400) screen
Intel Core i9-12950HX processor
NVIDIA RTX A5500 graphics card (16GB)
64GB DDR5-4800 RAM (2x32GB)
2TB Gen4 SSD
230-watt power adapter
การันตี 1 ปี
เครื่อง ThinkPad P16 Gen 1 ตัวที่เราใช้รีวิวนี้มีราคา 4,539 ดอลลาร์ส่งตรงจาก Lenovo ซึ่งถือมันเป็นรุ่นที่แพงที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยรุ่นพื้นฐานมีราคาอยู่ที่ 1,639 ดอลลาร์ แต่มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ Core i5, กราฟิก 4GB RTX A1000 และ RAM 16GB ซึ่งหากจะเอารุ่นที่ทำงาน 3 มิติระดับปานกลางและใช้เป็นเวิร์กสเตชันได้ก็จะเป็นรุ่นที่มีราคาอยู่ที่ 3,239 ดอลลาร์ โดยมีสเปคเป็นโปรเซสเซอร์ Core i7, การ์ดจอ 12GB RTX A3000 และ RAM 64GB นอกจากนี้ Lenovo ยังเปิดทางเลือกให้ปรับแต่งสเปค ThinkPad P16 Gen 1 ได้ตามความต้องการของคุณอีกด้วย
ในส่วนของการวัดมาตรฐานประสิทธิภาพ เราทำการทดสอบ ThinkPad P16 Gen 1 ทันทีที่แกะกล่อง โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งการตั้งค่าประสิทธิภาพได้ในแอพ Vantage และใช้แป้นพิมพ์ลัด Fn + Q สลับระหว่างโหมดไปมาได้
ในการทดสอบแรก เราใช้เกณฑ์ SPECviewperf 2020 ซึ่งเป็นเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานสำหรับประสิทธิภาพการทำงานด้านกราฟฟิคสำหรับแอปพลิเคชันมืออาชีพที่ใช้ UI โปรแกรมมิ่งของ OpenGL และ DirectX โดยเกณฑ์นี้จะจำลองการทำงานสร้างกราฟฟิคและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันจริงโดยที่เราไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม ซึ่งเกณฑ์นี้เพิ่งปรับปรุงเป็นเวอร์ชันล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว โดยรวมการวัดค่าการทำงานของแอปพลิเคชัน 3ds Max, Catia, Maya, และ Solidworks เข้ามาด้วย นอกจากนี้ยังรองรับการวัดเกณฑ์ทั้งในรูปแบบหน้าจอความละเอียด 2K และ 4K
ThinkPad P16 Gen 1 ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมรองจาก HP ZBook 17 Fury G8 ซึ่งได้คะแนนนำกว่าประมาณนึงในทุกการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานที่ทำไป นอกจากนี้มันยังเอาชนะ Dell ได้ด้วย แต่อย่างที่บอกคือ Dell ไม่ได้ใช้การ์ดจอระดับโหดเท่า Thinkpad อยู่แล้ว
ต่อมา เราใช้เกณฑ์การทดสอบ SPECworkstation3 ซึ่งเป็นเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเวิร์กสเตชันในทุกมิติสำคัญ โดยใช้เวิร์กโหลดมากกว่า 30 รายการเพื่อทดสอบ CPU กราฟิก I/O และความเร็วของหน่วยความจำ ปริมาณงานแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ที่กว้างขึ้น เช่น สื่อและความบันเทิง บริการทางการเงิน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พลังงาน วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการดำเนินงานทั่วไป เราจะแสดงรายการผลลัพธ์แบบรวมๆ สำหรับแต่ละรายการให้ดู ไม่ใช่แบบแยกทีละอัน โดยผลที่ได้จะเป็นค่าเฉลี่ยของปริมาณงานทั้งหมดในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่ง ThinkPad P16 Gen 1 ในภาพรวมนั้นได้ผลที่ดีกว่า คะแนนการประมวลผล GPU ของมันสูงกว่าของ HP ซึ่งใช้ RTX A5000 รุ่นเก่าอย่างเห็นได้ชัด
|
Lenovo ThinkPad P16 Gen 1 (UHD, Core i9-12950HX, RTX A5500) |
Dell Precision 7670 (UHD, Core i7-12850HX, RTX A2000) |
HP ZBook 17 Fury G8 (UHD, Nvidia RTX A5000) |
M&E |
3.7 |
2.93 |
2.71 |
ProdDev |
4.18 |
3.66 |
2.86 |
LifeSci |
3.83 |
3.02 |
2.68 |
FSI |
3.75 |
2.88 |
1.76 |
Energy |
4.56 |
3.58 |
2.28 |
GeneralOps |
2.93 |
2.19 |
2.22 |
GPU Compute |
5.5 |
3.32 |
5.14 |
ต่อมาคือเกณฑ์มาตรฐานโดยสถาบันวิจัยระบบสิ่งแวดล้อม หรือ ESRI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ GIS โดยทีมประสิทธิภาพของ ESRI ออกแบบสคริปต์แอดอิน PerfTool ของตัวเองมาเพื่อเปิดการทำงานของ ArcGIS Pro โดยอัตโนมัติ แอปพลิเคชันนี้ใช้ฟังก์ชัน "ZoomToBookmarks" เพื่อเรียกดูบุ๊กมาร์กที่ตั้งค่าล่วงหน้าไว้แล้ว และสร้างไฟล์บันทึกที่มีข้อมูลสำคัญทั้งหมดในการคาดการณ์ประสบการณ์ของผู้ใช้ สคริปต์จะวนบุ๊กมาร์กซ้ำสามครั้งโดยอัตโนมัติเพื่อพิจารณาการใช้งานแคช (หน่วยความจำและดิสก์แคช) หรือก็คือเกณฑ์มาตรฐานนี้จำลองการใช้งานกราฟิกจำนวนมากที่เห็นได้ในการใช้ซอฟต์แวร์ ArcGIS Pro ของ ESRI นั่นเอง
การทดสอบนี้ใช้ชุดข้อมูลหลักสามชุด สองชุดแรกเป็นทิวทัศน์เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบกในแบบสามมิติ ทิวทัศน์เมืองเหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างแบบมัลติแพตช์สามมิติที่มีพื้นผิวแบบจำลองภูมิประเทศและภาพถ่ายทางอากาศ ส่วนชุดข้อมูลที่สามคือมุมมองแผนที่สองมิติของภูมิภาคพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ข้อมูลชุดนี้ประกอบด้วยข้อมูลละเอียด ของส่วนถนน แปลงที่ดิน สวนสาธารณะและโรงเรียน แม่น้ำ ทะเลสาบ และภูมิประเทศที่มีร่มเงาบนเนินเขา เนื่องจากการทดสอบนี้เน้น GPU เป็นหลัก ThinkPad P16 Gen 1 จึงทำได้ดี แม้ว่าจะไม่โดดเด่นอะไรขนาดนั้น
เกณฑ์การทดสอบสามมิติอีกตัวที่เราใช้คือ LuxMark ซึ่งเป็นเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพ OpenCL GPU ส่งผลให้ ThinkPad P16 Gen 1 กลับมาครองแชมป์อีกครั้ง
LuxMark (Higher is better) |
|||
Category |
Lenovo ThinkPad P16 Gen 1 (UHD, Core i9-12950HX, RTX A5500) |
Dell Precision 7670 (UHD, Core i7-12850HX, RTX A2000) |
HP ZBook 17 Fury G8 (UHD, Nvidia RTX A5000) |
hallbench |
15516 |
7510 |
12408 |
food |
5716 |
2735 |
4781 |
ต่อไป เรามาดูเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบของ OctaneBench สำหรับ OctaneRender ซึ่งเป็นตัวเรนเดอร์สามมิติอีกตัวที่รองรับ RTX ซึ่งคล้ายกับ V-Ray เราไม่ได้ดำเนินการทดสอบนี้กับ ZBook 17 Fury G8 เลยมีผลการทดสอบสำหรับ ThinkPad P16 Gen 1 และ Dell Precision 7670 เท่านั้น โดย ThinkPad ได้คะแนนนำในส่วนการทดสอบ GPU เป็นไปตามคาด
เกณฑ์ต่อมาคือ Blender ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสร้างแบบจำลองสามมิติแบบโอเพ่นซอร์ส เกณฑ์มาตรฐานนี้รันโดยการวัดการใช้งาน blender เป็นฐาน โดยเลือกใช้ NVIDIA OptiX เป็นวิธีเรนเดอร์ คะแนนวัดที่มีหน่วยเป็นตัวอย่างต่อนาที ยิ่งสูงยิ่งดี แล้วก็ตามเคยคือเราไม่มีผลลัพธ์สำหรับ HP และในจุดนี้ ThinkPad P16 Gen 1 ยังคงทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
ThinkPad P16 Gen 1 ของ Lenovo นับเป็นเวิร์กสเตชันพกพาความสามารถสูงและทรงพลัง ในระดับที่สามารถรับมือกับการใช้งานที่เปลืองพลังงานที่สุดสำหรับเวิร์กสเตชันได้ เช่น การเรนเดอร์และการตัดต่อวิดีโอ 8K ซึ่งผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานของเราด้วยคะแนนที่ดีที่สุดในหมู่แล็ปท็อประดับเดียวกัน
ThinkPad P16 Gen 1 ยังมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายนอกเหนือจากประสิทธิภาพการใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์อินพุตที่สะดวกสบาย พอร์ตที่มีให้มากมาย สาย WWAN ที่ใช้งานได้ดี และแม้แต่ลำโพงที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน การแสดงผลที่น่าประทับใจของ Lenovo ซึ่งรวมถึงหน้าจอ UHD ที่สว่างเป็นพิเศษสำหรับตัวที่เราใช้รีวิวนี้ และหน้าจอ OLED ที่เหมาะสำหรับงานที่ไวต่อสี
เรายังประทับใจกับฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยระดับ enterprise รวมถึงการรองรับ Intel vPro Enterprise โดยภาพรวมแล้ว ThinkPad P16 Gen 1 เป็นแล็ปท็อปอีกตัวหนึ่งที่เราขอแนะนำ หากคุณต้องการเวิร์กสเตชันพกพาระดับไฮเอนด์
ที่มา: https://bit.ly/3GUSEsN