เวิร์กสเตชัน vs คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล : บริษัทของคุณจำเป็นต้องใช้แบบใด
เวิร์กสเตชัน vs คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล : บริษัทของคุณจำเป็นต้องใช้แบบใด?
คุณอาจจะประสบความลำบากเป็นอย่างมากในการทำงานโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งไม่ว่าจะใช้ในการ จัดการ จัดซื้อจัดจ้าง และบำรุงรักษา คุณไม่อยากเสียเงินซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เลย จะลงทุนในเวิร์กสเตชัน (workstation) แทน แต่ต้องใช้งบประมาณสูงขึ้นในระยะยาว? พิจารณาคำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยคุณจัดการให้เหมาะสมกับความจำเป็นของออฟฟิศมากที่สุด
ความแตกต่างระหว่างเวิร์กสเตชัน (workstation) กับ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (desktop computer) คืออะไร?
1. ต้นทุนค่าใช้จ่าย คอมพิวเตอร์ระดับธุรกิจส่วนใหญ่มีต้นทุนต่ำสุดตั้งแต่ 15,000 ถึง ประมาณ 30,000
ในขณะที่เวิร์กสเตชันต้นทุนต่ำสุดเริ่มต้นที่ 49,000 และสูงถึงเกือบ 100,000 บาท ในรุ่นระดับไฮเอนด์
2. ประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพที่จะทำงานได้ดี เช่น อีเมล ท่องเว็บ และการประมวลผลคำ แต่เวิร์กสเตชันมีประสิทธิภาพมากกว่านั้น อาทิ สามารถจัดการด้าน CAD, ภาพเคลื่อนไหว, การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรนเดอร์ภาพแบบสมจริง รวมถึงการสร้างและตัดต่อไฟล์เสียงและวีดิโอด้วย
3. ความทนทาน การทำงานภายในของเวิร์กสเตชันถือว่ามีมาตรฐานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ละชิ้นส่วน (อาทิ เมนบอร์ด, ซีพียู, แรม, ไดรฟ์ภายใน, การ์ดจอ ฯลฯ) สร้างขึ้นด้วยความเข้าใจว่าจะสามารถทำงานหนักตลอดทั้งวันได้ ในหลาย ๆ กรณี เวิร์กสเตชันยังคงทำงานอยู่ขณะที่พนักงานได้กลับบ้านไปแล้ว เครื่องเหล่านี้ยังคงทำงานกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือสร้างอนิเมชั่นตลอดคืน
คอมพิวเตอร์ที่จัดว่าเป็นเวิร์กสเตชัน มักมีคุณลักษณะ 5 ประการดังต่อไปนี้
• ECC RAM แรมที่มีการเช็คข้อมูลให้ถูกต้อง (Error-correcting code memory) ทำให้ระบบของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้น จะแก้ไขข้อผิดพลาดของหน่วยความจำก่อนที่จะมีผลต่อระบบและไม่เสียเวลาดาวน์ไทม์
• Multiple Processor Cores เป็นการรวมแกนประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลางทำให้มีความสามารถในการประมวลผลมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่รับประกันว่าจะทำงานเร็วขึ้น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องตั้งโปรแกรมไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากมันและมักมาพร้อมกับประโยชน์หลายอย่าง
• RAID (Redundant Array of Independent Disks) RAID ใช้ฮาร์ดไดรฟ์ภายในจำนวนมากเพื่อเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบ RAID มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ คุณสามารถเรียกใช้ไดรฟ์หลายตัวในการประมวลผลข้อมูลหรือคุณอาจเรียกใช้ mirror drive หมายความว่าถ้าไดรฟ์หนึ่งหยุดทำงานแต่ไดรฟ์อื่น ๆ จะยังคงทำงานปกติ
• SSD. ทำงานแตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ทั่วไป เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดความล้มเหลวทางกายภาพน้อยลง แถมทำงานเร็วขึ้น แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงและมีความสามารถในการจัดเก็บน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไป
• Optimized GPU คอมพิวเตอร์ทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องแสดงผลออกบนหน้าจอ การมี GPU (Graphics Processing Unit) สูงกว่า หมายความว่า CPU ในการประมวลผลแสดงผลออกบนหน้าจอทำงานน้อยกว่า ในบางกรณี GPU สามารถรับโหลดบางส่วนจาก CPU ทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น แต่ข้อเสียก็คือ GPU ระดับไฮเอนด์มีราคาสูงมาก
สิ่งเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน หากคุณลงทุนมากขึ้นคุณจะได้รับกลับมามากขึ้นเช่นกัน แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่าตัวใช่หรือไม่? บ่อยครั้งคำตอบคือใช่ หากคุณวางแผนที่จะใช้เงิน 20,000 แต่ถึงเวลาจ่ายจริงกลายเป็น 45,000 โดยปกติเป็นสองเท่าเสมอ คุณลองถามตัวเองดูว่า ต้องเสียเวลาเท่าไหร่กับเรื่องดาวน์ไทม์ และเสียเวลาเพื่อจัดการกับปัญหาที่มาจากฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ?
หากคุณประหยัดเวลา 30 นาทีต่อสัปดาห์ตลอดช่วงสามถึงหกปี (อายุการใช้งานเฉลี่ยของคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ) ซึ่งเพิ่มขึ้นได้ถึง 26 ถึง 52 ชั่วโมงการทำงาน คูณด้วยอัตราการเรียกเก็บเงินและนั่นคือเงินที่คุณต้องเสีย หากอัตราเงินที่ต้องเสียไปของคุณคือ 1,600 ต่อชั่วโมง ดังนั้น 26 ชั่วโมง คิดเป็นเงินเท่ากับ 41,600 บาท จำนวนเงินนี้เทียบเท่ากับราคาของเวิร์กสเตชันเลยทีเดียว นอกจากนี้โปรดจำไว้ว่าพนักงานของคุณจะมีความสุขมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาทำงานกับเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถทำงานตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นจึงทำให้สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้
ที่มา: https://www.autodesk.com/redshift/