Please wait...
SOLUTIONS CORNER
ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence: BI) คืออะไร

ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence: BI) คืออะไร?


 

BI เป็นแนวคิดที่เรียบง่าย แต่ก็ไม่ใช่แนวคิดที่จะทำให้เข้าใจในทุกๆ เรื่อง

 

Business Intelligence (BI) หรือระบบธุรกิจอัจฉริยะ อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะใช้ข้อมูลในโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้มันยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เพื่อช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการที่จะส่งเสริมให้องค์กรมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยวิเคราะห์ว่า พวกเขาจะสามารถรับมือกับคู่แข่งและเพิ่มรายได้ของพวกเขาให้เหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้อย่างไร

 

BI สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ ตัดสินใจได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของตนได้อย่างไร, วิธีที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที (IT infrastructure) ในปัจจุบันและทรัพยากรใดบ้างที่จำเป็นในการสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจให้ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความของ BI อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะมันบ่งบอกว่า มีวิธีการวางแผนสำหรับอนาคตโดยไม่ต้องใช้สติปัญญาแต่อย่างใด ซึ่งทำให้รู้สึกว่าค่อนข้างที่จะขาดความรับผิดชอบ

 

ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องอธิบายให้กับส่วนอื่นๆ ของธุรกิจให้เข้าใจว่า ความจริงแล้วคำๆ นั้น หมายถึงอะไร และมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรธุรกิจของคุณอย่างไร ซึ่งคุณควรจะเน้นว่า มันหมายถึงการใช้ข้อมูล (Data) เพื่อที่จะหาข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่จะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีการประมวลผลข้อมูล และข้อมูลประเภทใดบ้างที่กำลังมองหา เพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบถึงกลยุทธ์ (Strategy)

 

ธุรกิจส่วนใหญ่สามารถที่จะรวบรวมข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่ลูกค้าใช้บริการของคุณ, ข้อมูลการขาย (Sales Data), ข้อมูลพนักงาน (Employee) และคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทของคุณมีพฤติกรรมอย่างไร นอกจากนี้คุณยังสามารถรับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้จากส่วนอื่นๆ ของธุรกิจของคุณ ที่อาจดูเหมือนว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตทางธุรกิจหรือการดำเนินงาน แต่สามารถเปิดเผยจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (weaknesses) ของธุรกิจได้

 

บางส่วนของข้อมูลนี้จะถูกรวบรวมโดยไม่ระบุตัวตน (Anonymously) ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ อายุของลูกค้า, เพศ (Gender), สถานที่ (Location) และกลุ่มสังคม (Social Group) ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ที่เคยเข้าชมก่อนที่พวกเขาจะมาถึงเว็บไซต์ของคุณและสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหา

 

โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) ของบริษัท เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ดีกว่า ด้วยการเปลี่ยนลูกค้าประเภทผู้ชม (Bystander) ให้กลายเป็นลูกค้าประจำ (Loyal Customer) เนื่องจากโดยมากแล้วสิ่งเหล่านี้สามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้  ดังนั้นระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับกลยุทธ์อย่างแท้จริง เพื่อให้แน่ใจว่ามันกำลังกำหนดเป้าหมายไปยังคนที่เหมาะสมด้วยข้อความที่ถูกต้อง

 

สิ่งที่ทำให้ระบบธุรกิจอัจฉริยะเป็นแนวคิดที่ลื่นไหล นั่นก็คือการมีส่วนร่วมของสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความหลากหลาย มีการรวบรวมข้อมูลด้วยตัวของมันเอง, การจัดเก็บข้อมูลและความพร้อมใช้งานของมัน ตลอดจนการจัดการ (Manipulation) และการแปลความหมาย (Interpretation) มันอาจจะฟังดูง่าย แต่มันเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ภายในแผนกไอที, ทักษะที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมทางด้านการเงิน (Finance), การขาย และการตลาด โดยนำทั้งหมดนี้มารวมกันเพื่อการสร้างข้อมูลที่ถูกต้อง

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นนั่นก็คือข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant Data) ส่วนใหญ่นั้น ยังติดอยู่ในระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อๆ กันมา (Legacy System), ซึ่งสามารถเข้าถึงได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค แต่ไม่ใช่สำหรับผู้จัดการธุรกิจที่ต้องการข้อมูลและไม่มีความรู้ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจข้อมูล นั่นคือสิ่งที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการสื่อสาร

 

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง  (Executive Information Systems: EIS) เป็นการนำข้อมูลที่ลึกลงไปในรายละเอียดมาเปลี่ยนให้เป็นสารสนเทศที่ผู้บริหารระดับสูงต้องใช้  ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้บริหารบางคนกำลังคิดว่า ในที่สุดพวกเขาก็มีเวทย์มนตร์วิเศษที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด แต่น่าเสียดายที่ความเข้มงวด (Rigidity) ของระบบที่ใช้เมนเฟรม (Mainframe) เป็นหลัก ที่มีการใช้งานอยู่แล้วในขณะนั้น ค่อนข้างที่จะจำกัดการใช้งานของผลิตภัณฑ์ EIS

 

อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านระบบธุรกิจอัจฉริยะ (และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด) ก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นทางธุรกิจอีกครั้ง ซึ่งผู้บริหารที่ทันสมัยแต่ละคน ต่างก็ตระหนักถึงศักยภาพของการนำเสนอ BI ที่แม่นยำ และบริษัทต่างๆ ก็กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดทั้งหมดนี้

 

What has changed? มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง?

ขณะนี้มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลและการรวบรวมข้อมูลที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น รวมถึงความพร้อมใช้งานของซอฟต์แวร์ธุรกิจ (Business Software) ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยังมีส่วนในการช่วยผลักดันให้ผู้บริหารธุรกิจรุ่นใหม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี (Tech-Savvy) มากยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ยังมีการเข้ามามีบทบาทของ Cloud Computing ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการใช้งานทางด้านไอทีรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ ผ่าน Network, Internet ตลอดจน Service อื่นๆ ได้ตามต้องการ เพื่อลดภาระการบริหารจัดการของผู้ดูแลระบบให้น้อยที่สุด รวมทั้งผู้บริหารธุรกิจสามารถที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ของตนเองได้โดยที่ไม่มีการแทรกแซงจากแผนกไอที และจากการสำรวจของ Gartner เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า 45% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้เตรียมที่จะนำแอพพลิเคชั่น BI ระดับ Mission Critical มาบรรจุลงในระบบคลาวด์ (Cloud) และสิ่งนี้ได้นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ BI รุ่นใหม่ ซึ่งวิธีการแบบเก่าๆ ใช้ไม่ได้ผล โดยที่คลาวด์เองก็กำลังพิสูจน์ให้เห็นมันว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้บริหารจำนวนมาก เช่นกัน 

 

Gartner ก้าวไปไกลกว่านั้น, ซึ่งในรายงาน Magic Quadrant ล่าสุด, ได้มีการแสดงความคิดเห็นในขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง โดยชี้ให้เห็นว่าเทคนิคที่สงวนไว้สำหรับบุคลากรด้านไอทีนั้นได้ถูกยกเลิก อย่างค่อยเป็นค่อยไป  จากรายงานนี้ชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ความสามารถในการวิเคราะห์ถูกนำไปปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ หรือโอแลป (Online Analytical Processing: OLAP) ที่สามารถประมวลผลได้ทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป และแบบสอบถามข้อมูลที่ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อน (Ad Hoc Query), ด้วยเหตุผลที่ว่า "พวกเขาไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ที่เป็นผู้ใช้งานตามสำนักงาน (Business User) , ผู้จัดการและนักวิเคราะห์ เบื้องต้นแล้วอาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่คิดว่า สิ่งเหล่านี้ยากเกินไปที่จะนำไปใช้สำหรับกรณีการใช้งานเชิงวิเคราะห์จำนวนมาก"

 

ความก้าวหน้าของ Business Intelligence Tools

สิ่งที่ Gartner อธิบายได้ชัดเจนนั่นก็คือ โลกกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารระดับสูงต่างก็เรียกร้องให้ใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการสอบถาม (Interrogate) ข้อมูล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นของ AI; Gartner ได้ทำนายไว้ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในปี ค.ศ.2020  Natural-Language Generation (NLG) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) จะเป็นฟีเจอร์ระดับมาตรฐาน 90% ของแพลตฟอร์ม BI ที่ทันสมัย

 

หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง ก็คือ Visualization ที่ได้เข้ามามีบทบาทกับธุรกิจมากขึ้น – การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟิก – การแสดงจุดที่ซับซ้อนผ่านการใช้สี (Colour), ความสว่าง (Brightness) และรูปทรง (Shapes) ในทศวรรษที่ผ่านมา, การขับเคลื่อนไปสู่ Visualisation จะต้องรวมถึง Concept อย่างเช่น แผนภูมิแบบแท่ง (Bar Chart)  และเวนน์ไดอะแกรม (Venn diagram) แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีศัพท์ใหม่ของกราฟที่ใช้อยู่ในตอนนี้ ยกตัวอย่าง เช่น Heatmap และ Treemap หรือ แผนภูมิแบบ Scatter Plots

 

ด้วยเหตุนี้ Business Intelligence จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การปรับปรุงให้ชัดเจนเท่านั้น แต่มันถูกขึ้นชื่อว่าเป็นการเลือกเครื่องมือที่มีซับซ้อนยิ่งขึ้น, โดยใช้ความหลากหลายของสาขาวิชาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้านั้นก็สำคัญเกินกว่าที่จะถูกทิ้งไว้ในชุมชนทางเทคนิค (Technical Community) - แต่โดยทั่วไปแล้วพวกเขาต้องเป็นคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้ทำให้เราได้เห็นความผันผวนที่เสร็จสมบูรณ์ภายในธุรกิจ เนื่องจากสุดท้ายแล้วผู้จัดการที่มีความสามารถในการถามคำถามที่เหมาะสม ก็มีเครื่องมือที่พวกเขาจะใช้ในการจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งทุกคำตอบที่ถูกต้อง

ที่มา:
www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์