สร้างจินตนาการใหม่ถึง Private Cloud เท่าเทียมกับพันธมิตรยุคมัลติคลาวด์
สร้างจินตนาการใหม่ถึง Private Cloud ที่เท่าเทียมกับพันธมิตรยุค Multi-cloud
Cloud-first ได้กลายมาเป็นหลักการชี้นำเพื่อช่วยให้แอพพลิเคชั่นในยุคก่อนๆ สามารถรันบนสถาปัตยกรรมยุคใหม่ได้(Application Modernization) รวมถึงการโยกย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ (Migration) ที่สามารถทำได้ง่ายขึ้น ส่วน Cloud-native ก็เป็นคำที่เราได้ยินซ้ำๆ เกี่ยวกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่าง Container, Microservice และ Serverless Computing ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ถ้าเช่นนั้น Private Cloud จะมีความสำคัญอย่างไร?
โดยปกติแล้ว Private cloud จะเป็นศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร (On-Premise) ซึ่งจะเป็นการติดตั้งหรือวางระบบ Server ไว้ภายในองค์กร และขณะนี้องค์กรต่างๆ ก็มีความพยายามที่จะติดตั้งเพิ่มเติมด้วยระบบ Virtualization, ระบบอัตโนมัติ(Automation), บริการแบบ Self-Service, การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ถูกบรรจุไว้ใน Public Cloud ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เห็นได้ชัดว่า Private Cloud จะต้องตกอยู่ในฐานะของผู้ตามอย่างแน่นอนซึ่งมีอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ดูเหมือนว่าองค์กรจำนวนมากจะมีการโยกย้ายแอปพลิเคชั่นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อไปยัง Public Cloud และยังลดระดับความสำคัญของ Private Cloud ให้เป็น Hosting เพื่อจัดการกับ Collection ที่เคยมีมาก่อนของแอปพลิเคชั่นเก่าๆ (Legacy) ที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังไม่รองรับการใช้งานและหมดอายุการใช้งานอีกด้วย
แต่เมื่อเราได้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สองของ Cloud Revolution แล้วนั้น วิสัยทัศน์ใหม่ๆ ก็ได้ปรากฏให้เห็นชัดขึ้น ซึ่ง Private Cloud ก็ได้กลายมาเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันในการบูรณาการณ์บนโลกของระบบคลาวด์ที่หลากหลาย ที่เต็มไปด้วย Private Cloud, Public Cloud และ Edge Cloud โดย Gartner ได้เรียกสิ่งนี้ว่าระบบคลาวด์แบบกระจาย (Distributed Cloud) และนอกจากนี้ Michael Warrilow ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายวิจัยซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐาน ก็ยังได้มีการคาดการณ์ว่า "มันมีศักยภาพที่ดีในการประสบความสำเร็จ"
ในปี พ.ศ. 2561 Warrilow ได้กำหนดกรอบปัญหาที่กำลังเผชิญกับ Private Clouds เนื่องจากไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่สอดคล้องกับ Public Clouds ในระดับ Hyperscale โดย "ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติการต้องต่อต้านการทดลองเพื่อเลียนแบบรูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่พวกเขาไม่พร้อมที่จะ Replicate" เขาเขียนถึงเรื่องนี้ในรายงานการวิจัย
แต่หากคุณไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้ก็ให้ร่วมสมทบกับพวกเขาไปเลย ซึ่งก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า เพราะบางทีผู้บริหารด้านไอทีก็ไม่จำเป็นต้องพยายามจำลอง Public Cloud ด้วยตัวเองอีกต่อไป เนื่องจากในขณะนี้ผู้ให้บริการ Public Cloud ต่างก็มุ่งนำเสนอคุณลักษณะที่ดีที่สุดของ Public Cloud ถึงหน้าประตูของผู้ใช้งาน Private Cloud แบบ On-Premise หรือ Co-Location อย่างไรก็ตาม บริการจาก Amazon Outposts, Microsoft Azure Stack / Azure Arc, Google Anthos และ Oracle Cloud on Customer ทั้งหมดนี้ได้รับการประกาศในปีที่ผ่านมาว่าพวกเขามีศักยภาพพอที่จะทำให้สถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนไป
ตามวิสัยทัศน์ที่ Chris Gardner ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ของ Forrester ได้วางไว้ก็คือ สำหรับผู้ประกอบการที่จะเรียกใช้ Workload บนแพลตฟอร์มที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือระบบแบบ On-Premise และมุ่งมั่นที่จะให้บริการ Private Cloud ที่มีฟังก์ชั่นที่เทียบเท่ากับ Public Cloud เท่าที่จะทำได้ จากนี้ จะไม่มีพลเมืองชั้นสองอีกต่อไป
ความท้าทายต่างๆ ของ Private Cloud
Private Cloud ได้นำเสนอความท้าทายด้านไอทีให้กับองค์กรในระดับที่หลากหลายมาโดยตลอด โดยเริ่มตั้งแต่แนวคิดในการหาความสัมพันธ์ระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ไปจนถึงการออกแบบและการใช้งาน Private Cloud ท่ามกลางข้อจำกัดด้านทรัพยากร (Resource) และบุคลากร (Staffing)
ในยุคแรกๆ ของการประมวลผลบนระบบคลาวด์ (Cloud Computing) ขณะที่การตลาดและกลุ่มอื่นๆ พยายามที่จะก้าวผ่าน IT ไปให้ได้ และพวกเขาก็ยังเรียนรู้เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่ใช้ SaaS ด้วยตัวเอง มีกลุ่มไอทีบางกลุ่มที่ทำการจำลองเซิร์ฟเวอร์เพียงไม่กี่ตัวขึ้นมาและเรียกสิ่งนั้นว่า Private Cloud แต่อุปสรรคในการสร้าง Private Cloud ที่ทันสมัยนั้นมีค่อนข้างมาก และสำหรับแผนกไอทีแบบดั้งเดิม การนำ Private Cloud มาใช้นั้น "เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากและยังมีโอกาสประสบความสำเร็จ น้อยมากๆ " Warrilow กล่าว โดยเขายังพูดถึงความท้าทายที่สำคัญบางประการ ดังนี้
• Public Cloud มีความโปร่งใสในด้านต้นทุนมากกว่า Private Cloud ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถประเมินและควบคุมค่าใช้จ่ายได้
• การใช้งาน Private Cloud ยังขาดประสิทธิภาพในเรื่องของฟังก์ชั่นการปฏิเสธการชำระเงิน (Chargeback) ซึ่งเป็นการจำลองรูปแบบมาจากระบบจ่ายเมื่อใช้ (Pay-Per-Use) ของ Public Cloud
• เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ Public Cloud ได้นั้น Private Cloud จำเป็นต้องมีความสามารถในการเข้าไปดำเนินการผ่านหน้าเว็บแล้วได้บริการที่ต้องการในทันที (Provisioning), การใช้งานระบบอัตโนมัติ (Automation) และบริการแบบ Self-Service ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับไอทีระดับองค์กร ที่อาจจะต้องรับมือกับแอพพลิเคชั่นจำนวนหลายร้อยรายการ
• ผู้ให้บริการ Public Cloud มีวิศวกรจำนวนมากมายที่กำลังคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ บนแพลตฟอร์มของพวกเขา มีการเชื่อมโยงระหว่าง Machine Learning และ AI เพื่อให้เข้ากับข้อเสนอของพวกเขา และนี่ก็คือทรัพยากรที่ IT ระดับองค์กรไม่เคยคาดคิดว่ามันทั้งคู่จะเข้ากันได้อย่างลงตัว
• Private Cloud จำเป็นต้องนำเสนอนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนา (Development Environment) ในแบบเดียวกันกับที่พวกเขาใช้เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้นำไปใช้บนคลาวด์ (Cloud-Native Application), ด้วยชุดของเครื่องมือ (Toolchain) เดียวกัน, ความสามารถของระบบ Automated Deployment ที่มีเท่ากัน นอกจากนี้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีบริการแค็ตตาล็อคในส่วนของภาษาตามที่นักพัฒนาพูด และยังจำเป็นที่จะต้องมี API ที่พร้อมใช้งาน เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างกระบวนการได้อย่างราบรื่นมากที่สุด ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับองค์กรต่างๆ แม้ว่าพวกเขาจะมีเครื่องมืออย่าง OpenShift ของ Red Hat ซึ่งออกแบบมาเพื่อเปิดใช้งาน Containerization ในระบบของ Private Cloud ก็ตาม
ปัญหาที่สำคัญยิ่งกว่าที่องค์กรจะต้องเผชิญ นั่นก็คือ การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในอนาคตท่ามกลางคำแนะนำต่างๆ มากมายที่ขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีนักวิเคราะห์บางคนได้คาดการณ์ถึงจุดจบของ Data Center ขององค์กร และคนอื่นๆ ก็ยังระบุว่าการส่ง Cloud Application กลับไปยัง Private Cloud เนื่องจากมีแนวโน้มสำคัญ
ยกตัวอย่างเช่น Dave Cappuccio ของ Gartner ได้มีการคาดการณ์ในปี 2018 ว่า 80% ขององค์กรต่างๆ จะปิด Data Center แบบดั้งเดิมของพวกเขาลงในปี 2025 และยังพบว่า 80% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจจาก 400 คน ที่ทำแบบสำรวจของ IDC นั้น พวกเขาได้ทำการย้ายข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นจาก Public Cloud กลับไปสู่ระบบแบบ On-Premise หรือ Private Cloud - ตกลงว่าเราควรจะเชื่อเรื่องไหนดี?
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ Workload
Gardner จาก Forrester ได้ระบุว่า การส่งกลับไปยังรูปแบบเดิม (Repatriation) ไม่ใช่แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง "มันไม่เป็นความจริง" เขากล่าว เพราะมีบางบริษัทที่ย้ายเฉพาะแอพพลิเคชั่นบางตัวกลับไปยัง Private Cloud ด้วยเหตุผลด้านประสิทธิภาพ, กฎระเบียบและวิธีที่จะถูกดึงมาใช้กับข้อมูลที่สัมพันธ์กับจำนวนข้อมูล (Data Gravity) แต่การกลับไปสู่รูปแบบเดิมนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องแยกออกมาเฉพาะส่วน
Gartner คนล่าสุดที่คิดเรื่องการส่งกลับไปยังระบบเดิม (Repatriation) นั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ Gardner "มันเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับการพูดคุยกันในตลาด ที่ว่าลูกค้ากำลังจะละทิ้ง Public Cloud เพราะอัตราการบริโภคก็ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อองค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง Workload บางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับ Public Cloud ไม่มากนัก ก็อาจจะถูกส่งกลับไปยังระบบเดิม แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะการโยกย้าย (Migration) เหล่านั้นไม่ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองในระดับที่มากพอ มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่กำลังคิดจะยกเลิกการใช้งาน Public Cloud ในเทคโนโลยีทุกระดับชั้น" นี่เป็นรายงานของ Gartner ประจำปี 2019 จาก Brandon Medford, Sid Nag และ Mike Dorosh ในฐานะนักวิเคราะห์
Warrilow กล่าวว่า "เป็นไปไม่ได้ที่จะบอกถึงระยะเวลาที่แน่นอนในการกลับไปใช้ระบบเดิม" เพราะจะมี Workload จำนวนเล็กน้อยที่ยังคงกลับไปที่ Private Cloud อยู่เสมอ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินอย่างต่อเนื่องขององค์กรเกี่ยวกับ ตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับ Workload นั้นๆ โดยเฉพาะ
ตัวเลขล่าสุด ตามรายงานของ RightScale 2019 State of the Cloud Report จาก Flexera พบว่าในการสำรวจบริษัท ต่างๆ พวกเขามีการวางแผนที่จะใช้จ่ายไปกับ Public Cloud เพิ่มขึ้นถึง 24% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ขณะที่การใช้จ่ายในส่วนของ Private Cloud พบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 8% เท่านั้น
มีแอพพลิเคชั่นที่สำคัญทางธุรกิจอีกมากมายที่ควรจะมีอยู่ในศูนย์ข้อมูลด้วยเสมอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านกฎระเบียบข้อบังคับ, ความปลอดภัย, ความล่าช้าหรือเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย และในความเป็นจริง Gardner จาก Forrester ก็ยังระบุด้วยว่าการใช้งานบนเมนเฟรม (Mainframe) กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และยังย้ำอีกด้วยว่า Mainframe Application ดั้งเดิมเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหน และพวกเขาก็ควรที่จะทำการ Rehost หรือปรับโครงสร้างใหม่ (Refactor) บนแพลตฟอร์ม Private Cloud ในส่วนของฟังก์ชันต่างๆ เช่น การจัดเตรียม (Provisioning) และ Patch Management ก็ควรเป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Warrilow กล่าวเพิ่มเติมว่า มันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่ Private Cloud หรือ Edge Cloud จะเหมาะสมกับการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรงงานผลิต, โรงกลั่น, เหมืองแร่, สถานพยาบาล, เรือสำราญ, สนามกีฬา, ศูนย์การค้า เป็นต้น แน่นอนว่าบริษัทต่างๆ ยังสามารถที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการจากศูนย์บริการ Colocation หรือใช้บริการ Cloud Hosting แบบส่วนตัว แทนที่จะดำเนินการในศูนย์ข้อมูลของพวกเขาเอง
ตัวเลือก Private Cloud รุ่นใหม่
เกือบทั้งหมดของบริษัท (94%) ที่ได้รับการสำรวจโดย RightScale พบว่ามีการนำ Public Cloud บางรูปแบบมาใช้ ในขณะที่ประมาณสามในสี่ (72%) ของบริษัทเหล่านั้นกำลังใช้ Private Cloud นอกจากนี้ก็ยังมีรายงานว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการที่ใช้กลยุทธ์แบบผสมผสาน (Hybrid Strategy) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระกว่าง Public Cloud และ Private Cloud นั้น เพิ่มขึ้นจาก 51% ในปี 2018 เป็น 58% ในปี 2019
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการนำ Private Cloud มาใช้นั้น RightScale พบว่า VMware vSphere เป็นโซลูชั่นชั้นนำที่มีการนำไปใช้ที่มากถึง 50% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่คงที่เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (แม้ว่าบางคนจะโต้แย้งว่าการนำ vSphere มาใช้ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ Private Cloud ในปัจจุบัน) โดยมี OpenStack นำมาเป็นอันดับสอง ที่ 28% ตามด้วย VMware vCloud Director (ซึ่งก็ถือว่าเป็น Private Cloud อย่างแท้จริง) และ Microsoft System Center
อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดนั้นมาจาก การเสนอขายรุ่นใหม่ๆ จาก AWS และ Microsoft โดยมีอัตราการนำ Azure Stack มาใช้ที่ 22% ในปี 2019 ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2018 นอกจากนี้ AWS Outposts ที่มีการประกาศเปิดตัวไปแล้วเมื่อช่วงปลายปี 2018 ก็ยังมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 12%
นี่คือบทสรุปโดยย่อของบริการใหม่ ที่ได้ให้สัญญาไว้ว่าจะนำประโยชน์ของ Public Cloud ไปยัง Private Cloud และสร้าง Hybrid Model ที่แท้จริง:
• Microsoft Azure Stack: เปิดโอกาสให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากบริการคลาวด์ของ Azure จากศูนย์ข้อมูลของพวกเขาเอง และในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น Microsoft ก็ยังได้เปิดเผยถึงภาพตัวอย่างของ Azure Arc ซึ่งเป็นการขยาย Azure Stack ไปยังแพลตฟอร์ม AWS และ Google สำหรับลูกค้า
• AWS Outposts: เป็นบริการที่มีการจัดการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานของ AWS, บริการต่างๆ (Services), ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (Application programming interface: API) และเครื่องมือ (Tools) สำหรับศูนย์ข้อมูลแทบทุกรูปแบบ, พื้นที่ Co-Location หรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในองค์กร โดยพุ่งเป้าไปที่ Workload ที่ต้องการการเข้าถึงที่มีค่าเวลาแฝงในระดับต่ำ (Low-latency) เพื่อไปยังระบบต่างๆ ภายในองค์กร (On-premises System), การประมวลผลข้อมูลภายใน (Local Data Processing) หรือการจัดเก็บข้อมูลภายใน (Local Data Storage) โดย AWS ยังได้ประกาศว่าพวกเขามีแผนที่จะส่งมอบ AWS Outposts รุ่น VMware ในช่วงปีนี้
• Google Cloud Anthos: ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปรับปรุงแอพพลิเคชั่นให้ทันสมัย โดยใช้คอนเทนเนอร์ (Containers) และ Kubernetes บน Internal Hardware ที่มีอยู่ รวมถึงการสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และเรียกใช้งานได้ในทุกๆ ที่ โดย Anthos นั้น เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดที่สามารถรองรับได้ทั้งระบบไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) และมัลติคลาวด์ (Multi-Cloud)
• Oracle Cloud at Customer: ช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์จากบริการ Public Cloud บนศูนย์ข้อมูลของตนเอง โดยการให้บริการ Oracle cloud SaaS, PaaS และ IaaS ไปยังศูนย์ข้อมูลขององค์กร
สำหรับหลายๆ บริษัทที่พยายามสร้าง Private Cloud จากระบบอัตโนมัติขั้นสูง (Highly Automated) เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงนั้น ตัวเลือกใหม่ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ Private Cloud มีความสามารถที่เทียบเท่ากับ Public Cloud ในสถานการณ์ที่มีระบบคลาวด์แบบ Distributed Cloud ซึ่งแต่ละ Workload จะทำงานบนแพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุด
ที่มา: https://bit.ly/34ezfk4
สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © 2024 บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด
124/124 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2496-1234 โทรสาร 0-2496-1001