Application Software หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
Application Software หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร?
เราได้ทำการพิจารณาคุณสมบัติพิเศษที่เป็นตัวกำหนดแอปพลิเคชั่น ตั้งแต่ซอฟต์แวร์แบบสแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์แบบเต็มรูปแบบ (Full-Blown)
แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ (Application Software) หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นเริ่มแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มหรือที่เราเรียกกันว่าซอฟต์แวร์ข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Software) นั้น กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งบางโปรแกรมที่ถูกนำมาใช้โดยบุคคลและองค์กรต่างๆ จากทั่วโลกจำเป็นที่จะต้องนำมันไปด้วยในทุกๆ ที่เพื่อที่จะนำมาใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งในเวลาต่อมาวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิม (Traditional Software) ก็ได้กลายมาเป็นแอปพลิเคชั่น เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกที่ที่พวกเขาต้องการ
แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ (Application Software) นั้น ได้รับการออกแบบให้มีความเครียด (Stressful) น้อยลงสำหรับการใช้งานบน CPU เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ต้องการทรัพยากรมากกว่า โดยมักจะมีส่วนต่อประสานผู้ใช้ (UI) แบบง่ายๆ และมันก็ยังต่างไปจากวิธีการติดตั้งระบบแบบดั้งเดิมของการใช้ซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มันยังให้ความสำคัญกับWeb-based Application ก่อน ซึ่งจะทำให้ความเครียด (Strain) ที่เกิดกับทรัพยากรของระบบน้อยลง โดยปล่อยให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High-speed Internet) ที่ทันสมัยและ Cloud Computingหรือ การประมวลผลแบบคลาวด์รับภาระในส่วนนี้แทน
พูดง่ายๆ ก็คือ แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ (Application Software) เป็นโปรแกรมหรือกลุ่มของโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะนำไปใช้โดยเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) ซึ่งมันแตกต่างจากซอฟต์แวร์อื่นๆ ตรงที่อาจมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility)สำหรับตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็น Disk Tools ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่รวมอยู่ในระบบปฏิบัติการที่สามารถสแกนฮาร์ดไดร์ฟเพื่อแก้ปัญหา, ลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Files) และช่วยจัดเรียงข้อมูล (Defragment)ในฮาร์ดดิส โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ได้ แต่ต้องอาศัยแกนประมวลผล (Core) ของคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการ ยกเว้นในกรณีที่แอปพลิเคชั่นไม่ทำงาน หรือทำงานอย่างอิสระและไม่ได้อาศัยข้อมูลจากส่วนกลางของระบบ
ประเภทของ Application Software
Desktop Application
Desktop Applications คือ ซอฟต์แวร์ทั่วๆไปที่ใช้ในการทำงาน ดูหนัง ฟังเพลงและอื่นๆ ซึ่ง Desktop Applications ที่มีการ "ติดตั้ง" บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้โดยทั่วไปนั้นจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนที่ค่อนข้างสูง (High-Powered Software) และยังเป็นการใช้หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่น พวกมันอนุญาตให้ผู้ใช้จัดการกับชุดข้อมูล (Dataset), กราฟิก (Graphic) หรือตัวเลขเพื่อสร้างผลลัพธ์ (Output) ได้ ซึ่งตัวอย่างของ Desktop Application ที่ว่านี้ยังรวมถึงโปรแกรมประมวลผลคำหรือที่เราเรียกกันว่า โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์ (Word Processor Program), โปรแกรม Music Player และ Video Player ด้วยเช่นกัน
Web-based Applications
Web Based Application คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำงานบนเว็บไซต์ โดยเรียกใช้งานผ่านทางออนไลน์ทั้งระบบอินเตอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) โดยผู้ใช้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านทางเบราว์เซอร์ (Browser)ในขณะที่แอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ (Application Software) ส่วนใหญ่นั้น สามารถติดตั้งไปยังเครื่องได้โดยตรง และผู้ใช้จำนวนมากสามารถเข้าถึงเครื่องมือผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browsers) และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่อยู่ในรูปแบบของเว็บ (Web Format) บริการเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างบนฮาร์ดไดร์ฟหรือเครือข่ายของผู้ใช้เท่านั้น แต่การใช้งานบนเว็บยังช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกใบนี้ได้ตลอดเวลา ด้วยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในคลาวด์ (Cloud)ซึ่งหมายความว่า แอปพลิเคชั่นจะได้รับการอัพเดตโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องพบกับความเสี่ยงสำหรับผู้ใช้ที่เรียกใช้เวอร์ชันที่ไม่ปลอดภัย
สิ่งนี้ทำให้เกิด SaaS หรือ "Software as a Service" ซึ่งเป็นรูปแบบของการขายซอฟต์แวร์โดยการให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยมีผู้ใช้ที่เห็นด้วยกับการสมัครสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนกับบริการแอปพลิเคชั่น ที่มักจะให้บริการผ่านทางเว็บเบราเซอร์ โดยมี Salesforce, Oracle และ Adobe Creative Cloud ที่เป็นชุดของแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต (SaaS) ที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้
Application Suites
Application Suites เป็นกลุ่มของโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกันแต่จะมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งถูกจัดรวมเป็นแพคเก็จเข้าด้วยกัน โดยแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการนั้นเป็นผลิตภัณฑ์แบบสแตนด์อโลน (Standalone) แต่ก็ยังสามารถจัดกลุ่มเข้าด้วยกันในชุดแอปพลิเคชั่น (Application Suites) ได้ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอแอปพลิเคชั่นที่แตกต่างและหลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการที่มากกว่าหนึ่งด้าน สำหรับธุรกิจของคุณ บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า Application Suites เหล่านี้มีแอปพลิเคชั่นหลายตัวในราคาที่ถูกกว่าการซื้อแยกต่างหาก และมันก็ยังสามารถทำงานร่วมกันได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อแอปพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย จากบริษัทที่แตกต่างกัน
แพคเก็จของแอปพลิเคชั่นดังกล่าวมักจะมีชุดรูปแบบที่ใกล้เคียงกับแต่ละส่วนของธุรกิจของคุณ ยกตัวอย่าง เช่น Creative Suite ของ Adobe ที่ประกอบไปด้วยแอปพลิเคชั่นที่สร้างสรรค์ (Creative Applications) มากมาย ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขภาพถ่าย, วิดีโอ, การสร้างเว็บไซต์ (Creating Websites) และอื่นๆ นอกจากนี้ บางธุรกิจอาจต้องการชุดแอปพลิเคชั่นแบบครบวงจร เพื่อให้ครอบคลุมกับการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของพวกเขา ดังนั้น มันอาจรวมถึง HR Application และแอปพลิเคชั่นสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) และอื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลและดำเนินการในการตรวจสอบ
นอกจากนี้ยังมี Application Suites ที่พร้อมใช้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือสำหรับการใช้งานที่บ้านด้วย ยกตัวอย่างเช่น Microsoft Office ที่ประกอบไปด้วยชุดของ Productivity Applications แบบเต็มรูปแบบของบริษัท เช่น Microsoft Word, Excel และ PowerPoint ที่จะช่วยให้การทำงานต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดผลผลิตของงาน ซึ่ง Productivity Suite ที่คล้ายกันของ Apple นั้น ยังรวมถึง Pages, Sheets และ Keynote อีกด้วย
ในส่วนของ Application Suites อื่นๆ ที่สามารถขยายได้นั้น ยกตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่อาจจะประกอบด้วยซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสขั้นพื้นฐาน แต่ผู้ใช้สามารถที่จะเพิ่มบริการพิเศษต่างๆ ที่จะช่วยป้องกัน PC ของพวกเขาให้พ้นจากภัยคุกคามอื่นๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในแพ็คเกจพื้นฐานได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว จำนวนของคนที่ใช้ซอฟต์แวร์สามารถกำหนดสิ่งที่รวมอยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน เช่น การจัดการรหัสผ่าน (Password Management) สำหรับการสมัครรับข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Subscriptions)หรือการให้ความคุ้มครองแก่ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) สำหรับบัญชีธุรกิจ (Business Account)