Please wait...
SOLUTIONS CORNER
DHCP Server คืออะไร

DHCP Server คืออะไร?



 
เราลองมาดูกันว่า DHCP จะช่วยให้การบริหารเครือข่ายภายในองค์กรของคุณง่ายขึ้นได้อย่างไร
 
การนำอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวของคุณมาใช้ในที่ทำงาน (Bring your own device: BYOD) แทนการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารที่ทางบริษัทจัดเตรียมไว้ให้ แม้ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผลิตภาพ (Productivity) ในองค์กรก็ตาม แต่มันยังส่งผลให้พนักงานไอทีต้องปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา เนื่องจากพวกเขาพยายามที่จะทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในการทำงานนั้นปลอดภัยเพียงพอต่อการแฮ็กหรือการโจมตี
 
หนึ่งในวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาและจำเป็นที่จะต้องได้รับการจัดการ ก็คือการติดตั้งเครือข่ายภายในองค์กรธุรกิจ (Business Networks) เพื่อเป็นการรับประกันว่าอุปกรณ์ทั้งหมดจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ (Mobiles) , แล็ปท็อป (Laptops), แท็บเล็ต (Tablets) รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) ที่บริษัทจัดเตรียมไว้ให้ แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ ที่ผู้ควบคุมดูแลในด้านนี้จะทำการกำหนด IP address (Internet Protocol address) ด้วยตัวเองเป็นรายบุคคล แต่นี่อาจจะทำให้องค์กรต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะยังมีปัญหาที่ร้ายแรงกว่านี้ ที่รอให้แผนกไอทีแก้ไขอยู่
 
ทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับธุรกิจของคุณก็คือ การใช้ Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) หรือที่เรารู้จักกันในรูปแบบของโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย กระบวนการกำหนดหมายเลขไอพี (Assigning IP addresses) ให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่สูญเสียแม้แต่ความปลอดภัย หรือฟังก์ชั่นการทำงานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย (Network-Connected Devices)

 

DHCP คืออะไร?


DHCP เป็นเครื่องมือการจัดการเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันกับทั้งโปรโตคอล Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) ซึ่งเป็นชุดโปรโตคอลหลักสองชุด ที่ใช้เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และยังใช้เพื่อการเชื่อมต่อกับเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต โดยพวกมันอยู่ในรูปแบบของ ชุดโปรโตคอล TCP/IP
 
หน้าที่หลักของ DHCP ก็คือ การจัดการและกำหนดค่า IP addresses แบบอัตโนมัติบนเครือข่าย ดังนั้น IP addresses ของแต่ละคนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการกำหนดด้วยตนเอง แต่ประสิทธิภาพของมันมีมากกว่านั้น เมื่อมันยังสามารถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบ ดีฟอลต์ เกตเวย์ (Default Gateway), Domain Name Server (DNS) และ Subnet Masks สำหรับอุปกรณ์ที่มีการตั้งค่าเพื่อการใช้งานในระบบเครือข่าย
 
DHCP server จัดว่าเป็นเครื่องมือการจัดการที่สามารถอธิบายตัวเองได้ค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากมันเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ DHCP เป็นหลัก และจากการที่มันใช้เพื่อกำหนดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายด้วย IP addresses แบบไดนามิก รวมถึงการกำหนดค่าข้อมูลเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ มันสามารถจัดการได้โดยที่ผู้ดูแลระบบไอทีไม่ต้องจำเป็นต้องมีส่วนร่วมมากนัก
 
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือ Computer และอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ภายในบ้าน (Home environment) คุณสามารถใช้คุณสมบัติของการเป็น DHCP server ที่มีอยู่ใน Router ได้ ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะใช้ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวหรือเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็น DHCP server โดยเฉพาะ


 

DHCP Server ทำงานยังไง?


 

เป็นการทำงานผ่านรูปแบบไคลเอนต์ - เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) โดยมี DHCP Server ทำหน้าที่เป็นโฮสต์ ในขณะที่อุปกรณ์ที่ไปร้องขอบริการและเชื่อมต่อกับเครือข่าย ก็คือไคลเอนต์ (Client)
 
DHCP server จะเริ่มต้นทำงานในทันที เมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในบ้านหรือองค์กรธุรกิจทำการร้องขอ IP address ซึ่งหลังจากที่ DHCP server ได้รับข้อมูลคำขอแล้ว จะทำการกำหนด IP address ให้จากที่อยู่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ไคลเอ็นต์ (Client device) สามารถติดต่อสื่อสารได้ภายในระบบเน็ตเวิร์ก (Network)


 

ประโยชน์หลักของ DHCP


ประโยชน์มากมายที่คุณจะได้รับจากการใช้ DHCP Server ทำให้มันเหนือกว่ารูปแบบของระบบ Network (Networking solutions) อื่นๆ รวมถึงการที่มันจะช่วยให้คุณสามารถประหยัดเวลาในการตั้งค่าเครือข่าย TCP/IP และคุณยังจะพบว่าเวลาที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายความว่า การให้การสนับสนุนด้านไอที (IT support) จะทำให้คุณมีเวลาที่จะให้ความช่วยเหลือด้านไอทีกับงานอื่นๆ ได้มากกว่าการที่จะต้องมาคอยเสียเวลาจัดการกับระบบเครือข่ายที่ถูกมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร

 

ประโยชน์อื่นๆ จากการใช้ DHCP Network คือ 
การจัดการ IP Address (IP Address Management)  


หากคุณไม่ได้ใช้ DHCP คุณจะต้องกำหนด IP addresses ให้กับเครื่องลูกข่าย (Client) แต่ละรายด้วยตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่ซ้ำกัน ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Conflict ใดๆ นอกจากนี้ คุณยังจะต้องตั้งค่าแต่ละไคลเอ็นต์แยกกัน นี่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานมากและมันก็ยังเป็นกระบวนการที่ต้องทำด้วยตัวเอง (Manual process) การใช้ DHCP server เพื่อจัดการกับกระบวนการทั้งหมดนี้จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทั้งยังช่วยให้ไคลเอนต์ (Client) สามารถโอนไปยังเครือข่ายย่อย (Subnets) โดยไม่ต้องมีการกำหนดค่าด้วยตนเอง (Manual Configuration ) ทุกครั้ง เนื่องจาก DHCP server จะทำการส่งข้อมูลเครือข่ายทั้งหมดไปยังไคลเอนต์ ดังนั้น คุณจึงไม่จำเป็นต้องลงมือทำขั้นตอนเหล่านี้ด้วยตัวเองเลย

 

เครือข่ายส่วนกลางที่ทำหน้าที่กำหนดค่าให้ไคลเอนต์ (Centralised network client configuration)  


หากคุณต้องการช่วง (Range) ของการกำหนดค่าที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละไคลเอนต์ คุณสามารถสร้างกลุ่มของไคลเอนต์ (Client groups) ขึ้นมาได้ เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีการตั้งค่าที่แตกต่างกันตามความต้องการของธุรกิจ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกบันทึกในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ DHCP (DHCP Data Store) และนี่ก็คือที่ที่คุณสามารถจะเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่า เพื่อจัดแจงและจ่ายหมายเลขไอพีไปยังไคลเอนต์ทั้งหมด โดยที่คุณไม่ต้องเปลี่ยนพวกมันด้วยตัวเอง
 

 

การสนับสนุนเครือข่ายขนาดใหญ่ (Large network support)


DHCP เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเครือข่ายที่มี DHCP Client นับล้าน เนื่องจากพวกเขาสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ในการทำมัลติเธรดดิง (Multithreading) เพื่อประมวลผลคำขอของไคลเอ็นต์จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังให้การสนับสนุนแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Data Stores) ที่ถูกปรับให้เหมาะกับการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้น จะได้รับการจัดการโดยโมดูลการประมวลผลแยกต่างหาก จึงช่วยให้คุณสามารถเพิ่มการสนับสนุนในส่วนของฐานข้อมูลอื่นๆ ได้ตามที่คุณต้องการ

 

ฉันจำเป็นต้องใช้ DHCP หรือไม่?


คุณน่าจะมีแนวโน้มของการใช้โปรโตคอล DHCP เป็นส่วนประกอบของเครือข่ายในบ้านหรือธุรกิจของคุณอยู่บ้างแล้ว เนื่องจากมันทำให้คุณไม่ต้องกำหนด IP address แบบคงที่ให้กับอุปกรณ์ใหม่ทุกชิ้นที่เข้าร่วมเครือข่ายด้วยตัวคุณเอง
 
แม้ว่ามันจะง่ายกว่าสำหรับบริบทที่มีขนาดเล็ก แต่งานนี้ดูเหมือนว่าจะยากเป็นพิเศษสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่คาดหวังการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายร้อยเครื่องเข้ากับเครือข่าย ในขณะที่อุปกรณ์เหล่านี้แต่ละเครื่องจะต้องมี IP address ที่แตกต่างกัน ซึ่งก็นับว่าเป็นภารกิจที่สร้างความยุ่งยากให้กับองค์กรมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เมื่อพบว่าองค์กรที่ว่านี้ไม่มีทีมไอทีประจำการในองค์กร
 
DHCP ที่ดำเนินการอัตโนมัติผ่านการกำหนดหมายเลขไอพีให้กับเครื่องไคลเอนต์แบบไดนามิก (Dynamic) จะทำการออก IP address ใหม่ให้กับอุปกรณ์ที่เข้าร่วมเครือข่าย และจะทำการยกเลิกการมอบหมายโดยอัตโนมัติ เมื่ออุปกรณ์มีการยกเลิกการเชื่อมต่อ
 
ถ้ามองตามสภาพความเป็นจริง มีเหตุผลเพียงเล็กน้อยที่คุณไม่ควรใช้ DHCP ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์บางชนิดที่ได้รับประโยชน์จากการกำหนดหมายเลข IP Address แบบค่าคงที่ (Static IP Address) ไม่ว่าจะเป็น สแกนเนอร์ (Scanner), เครื่องพิมพ์ (Printer), File Transfer Servers และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ที่เข้าข่ายให้การสนับสนุนการเชื่อมต่อ ก็ให้รวมอยู่ในหมวดหมู่นี้ ในกรณีดังกล่าว IP address แบบ Dynamic ที่ใช้ DHCP จะต้องมีการเรียกร้องให้อุปกรณ์ทำการอัพเดตการตั้งค่าการเชื่อมต่อของมันทุกครั้งที่มันพยายามสื่อสารกับเครื่องพิมพ์
 
คุณอาจจะต้องพบปัญหาเดียวกันเมื่อเซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเข้าถึงจากระยะไกล ซึ่งการกำหนด IP address แบบ Dynamic ให้กับเซิร์ฟเวอร์ระยะไกล (Remote server) อาจก่อให้เกิดปัญหากับแอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่อาศัยการเชื่อมต่อด้วย IP address แบบคงที่ ด้วยเหตุผลที่มันจะต้องมีการอัพเดทรายละเอียดทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง
 
อย่างไรก็ตามเมื่อ DHCP ถูกนำมาใช้ในเซิร์ฟเวอร์และระบบเครือข่าย จะมีตัวเลือกในการกำหนด IP addresses แบบคงที่ให้กับอุปกรณ์บางอย่างซึ่งคุณสามารถกำหนดค่าได้ด้วยตนเอง (Manually assign) ดังนั้น มันจึงไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม
 
ดังนั้น มันจึงคุ้มค่าที่จะใช้วิธีการพิจารณาว่าอุปกรณ์ใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จาก IP address แบบคงที่และทำการกำหนดค่าด้วยตัวเองให้กับพวกมัน จากนั้นค่อยใช้ DHCP เพื่อดูแลการกำหนด IP address ในส่วนที่เหลือ เพื่อให้คุณและทีมไอทีของคุณมีอิสระในการทำงานที่น่าสนใจอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงาน ให้กับองค์กรของคุณ



 

ข้อควรระวัง
ปัญหาด้านความปลอดภัย (Security Issues) 

เช่นเดียวกับการใช้งานอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อเครือข่าย คุณควรตระหนักว่าการใช้ DHCP ในรูปแบบระบบอัตโนมัติ  (DHCP Automation) อาจจะต้องพบกับความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างร้ายแรง– ยกตัวอย่างเช่น ถ้า DHCP server ของกลุ่มคนร้ายถูกนำเข้าสู่ระบบเครือข่าย ซึ่งสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่เครือข่าย ขณะเดียวกันมันยังสามารถเสนอ IP address ให้กับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ หากผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP server ของกลุ่มคนร้ายแล้ว ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านการเชื่อมต่อนั้นๆ ก็สามารถที่จะถูกดักจับและตรวจสอบโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และการรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย (Network Security) ซึ่งเทคนิคนี้เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ A man-in-the-middle attack (MITM)
 

ความล้มเหลวของเครือข่าย (Failure)

ความล้มเหลวของเครือข่ายสามารถเกิดขึ้นได้หากองค์กรมีการใช้งาน DHCP server อยู่เพียงเครื่องเดียว เนื่องจากมันเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญเพียงจุดเดียว ที่ความล้มเหลวสามารถปะทุจากปัญหาเดียวแล้วขยายไปสู่ปัญหาทั่วทั้งระบบ หากเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลว คอมพิวเตอร์ที่กำลังเชื่อมต่ออยู่ที่ยังไม่มี IP address ก็จะพยายามทำการเชื่อมต่อและมันก็จะถูกปฏิเสธการเชื่อมต่อ  โดยคอมพิวเตอร์ที่มี IP address อยู่แล้วก่อนที่จะเกิดความล้มเหลวของเซิร์ฟเวอร์ก็จะพยายามทำให้มันกลับสู่สภาพเดิมอีกครั้ง ส่งผลให้คอมพิวเตอร์เกิดการสูญเสีย IP address ของมัน ซึ่งหมายถึงการสูญเสียการเข้าถึงเครือข่ายที่สมบูรณ์ จนกว่าเซิร์ฟเวอร์จะถูกกู้คืน



ที่มา:www.it.pro.co.uk
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์