Please wait...
SOLUTIONS CORNER
Facebook กับกรณีศึกษาเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนตัวในยุคดิจิตอล

Facebook กับกรณีศึกษาเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนตัวในยุคดิจิตอล



การละเมิดข้อมูลส่วนตัวในยุคดิจิตอลของ Facebookได้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหานี้กำลังเป็นเรื่องที่ใหญ่มากขึ้นในยุคนี้ และเราควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

ตั้งแต่ช่วงต้นปีมาจนถึงกลางปี 2019 ดูเหมือนว่าโซเชียลมีเดียที่ทรงอิทธิพลอย่าง Facebookจะเกิดกระแสดราม่าโจมตีกันแถบไม่เว้นวรรค ตั้งแต่เหตุระบบล่มที่เริ่มเกิดขึ้นบ่อยมาจนถึงการขึ้นโรงขึ้นศาลของ Mark Zuckerbergที่บ่อยมากขึ้น เพราะ Facebookถูกฟ้องร้องในหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน และล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ Facebookก็ต้องเตรียมจ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาล เพราะพวกเขาแพ้อุทธรณ์ในคำร้องจากศาลชั้นต้นในคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี Face Recognitionเพื่อการระบุตัวตน ซึ่งศาลทั้งสองต่างลงความเห็นเดียวกันว่า Facebookกำลังกระทำการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในเชิงข้อมูลชีวภาพสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นกรณีศึกษาที่องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลควรจะต้องจับตามองให้ดี

ย้อนดูการกระทำของFacebook ก่อนนำมาสู้คดีการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

ศาลชั้นต้นมลรัฐอิลลินอยส์ได้ตัดสินว่า Facebookมีความผิดในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2015 และ Facebookก็ให้การปฏิเสธและขอสู้อุทธรณ์ต่อ เพราะทาง Facebookมองว่าสิ่งที่พวกเขาทำและเทคโนโลยีที่เขาใช้นั้นเป็นฟังก์ชันสำหรับการใช้ระบบจดจำใบหน้าที่เรียกว่า Tag Suggestionsโดยฟังก์ชันนี้จะทำง่านร่วมกับ AIในการวิเคราะห์ประมวลผลใบหน้าของคนที่อยู่ในภาพต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการแท็กเพื่อนบน Facebook ของผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และที่สำคัญโจทย์ที่มีการยื่นฟ้องนั้นยังพิสูจน์ไม่ได้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จึงทำให้พวกเขาต้องขอสู้คดีต่อ แต่ในที่สุดแล้วศาลอุทธรณ์ก็ตัดสินออกมาว่า ในเรื่องนี้ Facebookเป็นผู้ผิดและควรรับผิดชอบ เพราะเทคโนโลยี Face Recognitionที่ Facebookจะนำมาใช้นั้นควรมีการได้รับความยินยอมอย่างชัดเจนจากผู้ใช้งาน มิเช่นนั้นก็ถือว่าเข้าข่ายการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน แม้ตอนนี้คดียังไม่สิ้นสุด แต่แนวโน้มชี้ไปว่า Facebookควรจะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้

เมื่อความทันสมัยสุ่มเสี่ยงต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

จากรณีของFacebook นี้ทำให้องค์กรธุรกิจและ Startupทั้งหลายต้องกลับมามองและสนใจเรื่องของการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าผู้บริโภคกันให้มากขึ้น ซึ่งเราต้องยอมรับว่าวันนี้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าผู้บริโภคกระจายอยู่เต็มไปหมดทั่วโลกออนไลน์ การจะหยิบจับนำมาใช้ในแง่ของ Big Dataเพื่อการพัฒนาสินค้าและการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้นก็ดูไม่น่าจะเสียหายอะไร แต่คำถามก็คือ ข้อมูลเหล่านั้นได้รับการอนุญาตและยินยอมจากลูกค้าแล้วหรือเปล่า หรือในแง่ของการพัฒนาอุปกรณ์และระบบทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างอุปกรณ์ที่ต้องมีการเก็บข้อมูลชีวภาพ เช่นการสแกนม่านตา สแกนใบหน้า รวมไปถึงลายนิ้วมือต่าง ๆ มีบริษัท Startupหลายแห่งที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าและระบบทำนองนี้ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวในเชิงชีวภาพของผู้ใช้งาน แล้วผู้ใช้งานจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลจะไม่หลุดออกไปจากระบบความปลอดภัยและไม่ถูกละเมิดในภายหลัง ความทันสมัยนั้นมักมาพร้อมกับการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เพราะจะได้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนได้อย่างลึกซึ้ง แต่อะไรล่ะคือจุดตรงกลาง ที่พอดีระหว่าง ผู้ขอข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูล
Facebookจึงกลายเป็นกรณีศึกษาขององค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่กับประเด็นการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ที่ผู้ประกอบการน้อยใหญ่ควรจะต้องดูไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อตระหนักในก้าวต่อไปขององค์กรตนเองว่าควรจะทำอย่างไร จะหาจุดกึ่งกลางอย่างไรที่จะไม่ทำให้ลูกค้าผู้บริโภคเข้าใจผิด รวมถึงเป็นกรณีศึกษาให้กับเราในฐานะผู้บริโภคด้วยว่า ควรจะยินยอมให้ข้อมูลของเราไปกับพวกเขาหรือไม่อีกด้วย

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์