Facebook และการควบคุมการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ COVID-19
Facebook จะเชื่อมโยงผู้ใช้ที่มีการเข้าถึงข่าวปลอมไปยังข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
นับว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่เฟสบุ๊คจะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เต็มไปด้วยข่าวสารที่ไม่เป็นจริง เริ่มจากข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ไปจนถึงการโพสต์ยืนยันว่าปลาวาฬอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดตามที่ต่างๆของประเทศเรา เฟสบุ๊คถือได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่แย่ที่สุดเมื่อพูดถึงการกระจายข่าวสารที่ไม่เป็นจริงหรือเฟคนิวส์ ในสังเวียนการต่อสู้ล่าสุดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆของปรากฏการณ์โควิดนี้ ตัวของเฟสบุ๊คเองได้ออกสองมาตรการใหม่เกี่ยวกับข่าวสารออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจำกัดการเผยแพร่ของข้อมูลโคโลน่าไวรัสที่เป็นข้อมูลเท็จบนโลกโซเชียล
เริ่มต้นจากมาตรการแรก เฟสบุ๊คจะทำการโชว์ข้อมูลที่ถูกต้องในกลุ่มผู้ใช้ที่กดไลค์ อีโมติคอน หรือคอมเม้นท์ในโพสต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเฟคนิวส์ที่เฟสบุ๊คได้ลบออกไป ข้อความเหล่านี้จะเชื่อมโยงผู้ใช้งานไปยังแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยให้เหล่าผู้ใช้คลายความเข้าใจผิดใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับไวรัส
Guy Rosen รองประธานฝ่ายความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทเฟสบุ๊คได้กล่าวไว้ในประกาศว่า
“เราต้องการเชื่อมโยงผู้คนที่มีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลเท็จที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับไวรัสให้เข้าถึงข้อมูลที่เป็นความจริงจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ในกรณีที่ผู้คนเหล่านั้นได้ยินข่าวสารผิดๆจากเฟสบุ๊ค”
“และยังกล่าวอีกว่า “การหยุดยั้งการแพร่กระจ่ายของข้อมูลเท็จที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับโครโรน่าไวรัสบนแอปพลิเคชั่นของเรานั้นมีความสำคัญอย่างมาก”
ผู้ใช้เฟสบุ๊คควรที่จะเริ่มเห็นข้อความเหล่านี้บนหน้าฟีดของพวกเขาในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า
อีกทั้งทางบริษัทจะทำการเพิ่มส่วนใหม่ในศูนย์ข้อมูลโรคโควิด ในชื่อว่า “Get the Facts” หรือ “ศึกษาข้อเท็จจริง” ซึ่งศูนย์กลางข้อมูลนี้จะเน้นนำเสนอส่วนของบทความจากพาร์ทเนอร์ของเฟสบุ้คที่ต้องการทำลายความเข้าใจแบบผิดๆเกี่ยวกับโรคโครโลน่าไวรัส
อีกทั้งเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เฟสบุ๊คได้ทำการพาร์ทเนอร์กับกลุ่มเครือข่ายนานาชาติที่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งหมด 13 องค์กรทั่วโลก ที่สนับสนุนโปรเจ็คนี้ในอิตาลี สเปน โคลอมเบีย อินเดีย สาธารณะรัฐคองโก และชาติอื่นๆ
Rosen ได้กล่าวอีกว่า “จากการที่โรคระบาดนี้มีความร้ายแรงมากขึ้น เรามีความงใจที่จะหาหนทางที่ดีที่สุดในการลบข้อมูลข่าวสารที่ผิดไปจากความเป็นจริงและมีอันตรายออกไปจากเฟสบุ๊ค และตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้คนมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอย่างสม่ำเสมอ”
ที่มา: https://bit.ly/2YeObLq