มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่กำลังเคลื่อนไหวภายในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร และยังมีอีกหลายองค์กรที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยการบริการและข้อมูลออนไลน์ พวกเขากำลังควบคุมข้อมูลดังกล่าวไปยัง AI ที่มีประสิทธิภาพและแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์ (Analytic applications) ที่สามารถเปลี่ยนมันให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ จากนั้นก็จะทำการผลิตเครื่องมือและบริการใหม่ๆ ออกมา เพื่อที่จะทำให้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ได้ พวกเขากำลังมองหาคุณสมบัติของ On-premises ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการโยกย้ายเพื่อไปยังระบบคลาวด์ และค่อยๆ ค้นหาความสมดุลที่เหมาะสมระหว่าง Public และ Private Cloud อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พวกกำลังพยายามค้นหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและการรักษาความปลอดภัยในระดับที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องการโครงสร้างพื้นฐานของเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายรูปแบบใหม่ ที่เหมาะสำหรับ AI, การวิเคราะห์, datasets ขนาดใหญ่และอื่น ๆ ที่ขับเคลื่อนโดย CPU ใหม่ที่ได้ผ่านการพัฒนามาก่อน และทั้งหมดนี้คือที่มาของ Xeon Scalable ของ Intel
Intel Xeon Scalable เป็นการแสดงให้เห็นถึงเนื้อหาที่เป็นลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุด ในรอบยี่สิบปีของ CPU ตระกูล Xeon ไม่ใช่แค่ Xeon ที่เร็วขึ้น หรือ Xeon ที่มีจำนวน Core ที่มากกว่าเท่านั้น แต่มันยังเป็นตระกูลของโปรเซสเซอร์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นการตอบสนองการทำงานร่วมกันระหว่าง ความสามารถในการคำนวณ (Compute), ระบบเครือข่าย (Network) และความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล (Storage) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการนำไปสู่คุณลักษณะใหม่ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานในทั้งสามส่วนให้ดียิ่งขึ้น
แม้ว่า Xeon Scalable จะทำหน้าที่ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ถึง 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับซีพียู Xeon รุ่นก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังมีข้อได้เปรียบที่นอกเหนือจากเกณฑ์มาตรฐานที่มีการครอบคลุมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเป็นการรองรับการทำงานในปัจจุบัน รวมทั้ง AI (Artificial Intelligence), ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีขึ้น และยังมีการประมวลผลภาพ (Image processing)
* นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้งานในระบบ High-Performance Computing ที่ซับซ้อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่ออกแบบมาเพื่อเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย (Network Infrastructure) ของคุณ โดยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้จะเป็นการช่วยในการขจัดปัญหาที่น่ากังวล ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ของคุณ
บางทีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและชัดเจนที่สุด ก็คือการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของ Xeon แบบเก่าที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring) ซึ่งแกนทั้งหมดของโปรเซสเซอร์จะเชื่อมต่อผ่านวงแหวนในรูปแบบ Single Ring โดยสถาปัตยกรรมแบบเก่าจะถูกแทนที่ด้วย Mesh ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดของ Intel ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าง Cores, Cache, RAM และส่วนประกอบอื่นๆ โดยการเชื่อมต่อทั้งในแถวและคอลัมน์ โดยจะมีการเชื่อมต่อที่จุดตัดกันทั้งหมด เพื่อช่วยให้สามารถย้ายข้อมูลจากแกนหนึ่งไปยังอีกแกนหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หากคุณจินตนาการถึงมันในแง่ของระบบการขนส่งบนท้องถนน สถาปัตยกรรม Xeon ในแบบเก่าก็เทียบได้กับวงกลมที่มีความเร็วสูง ที่ซึ่งข้อมูลมีการเคลื่อนที่จากแกนหนึ่งไปยังอีกแกนหนึ่ง โดยอาจจะต้องมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆ ภายในวงแหวน แต่สำหรับ Mesh ซึ่งมีการเชื่อมต่อถึงกันเป็นเหมือนเส้นตารางบนทางหลวง มันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การขนส่งลื่นไหลด้วยความเร็วสูงสุดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยปราศจากปัญหาการจราจรติดขัด โดยรูปแบบการเชื่อมต่อในลักษณะนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในงานแบบ Multi-thread ซึ่งแกนประมวลผลที่แตกต่างกันอาจใช้ข้อมูลและหน่วยความจำร่วมกัน และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งหากมองในแง่ของความรู้สึกพื้นฐาน โดยส่วนใหญ่แล้วมันจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อวัตถุประสงค์ในการย้ายข้อมูลจำนวนมาก ด้วยการทำงานของโปรเซสเซอร์ที่อาจมีมากถึง 28 Cores และที่มากไปกว่านั้นคือ มันยังเป็นโครงสร้างที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเราจะกำลังพูดถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซีพียูหลายตัว หรือซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีแกนประมวลผลที่มากขึ้นไปกว่านี้อีกก็ตาม
ถ้าสถาปัตยกรรมของ Mesh เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับชุดคำสั่ง AVX-512 ใหม่นี้ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยววิธีการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดทางด้านการประมวลผล หากย้อนหลังไปเมื่อปี 1996 การสร้างผลงานของ Intel เริ่มต้นด้วยการคิดค้นชุดคำสั่งแบบ SIMD (Single-instruction multiple-data-stream) AVX-512 ช่วยให้สามารถประมวลผลข้อมูลในเวลาเดียวกันได้มากขึ้น ซึ่งก็มากกว่าการประมวลผลด้วย AVX2 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด โดยเพิ่มความกว้างของแต่ละรีจีสเตอร์เป็นสองเท่า และเพิ่มเข้าไปอีกสองตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ AVX-512 ยังสามารถคำนวณแบบทศนิยมลอย ได้ 2 คำสั่งใน 1 วินาที ต่อรอบนาฬิกา โดยใช้วิธีวัดจากการประมวลผลจุดลอยตัวต่อวินาที (Floating point Operation Per Second; FLOPS) และสามารถประมวลผลข้อมูลย่อย (Data elements) เป็นจำนวนสองเท่าจากที่ AVX2 สามารถทำได้ในรอบนาฬิกาเดียวกัน นับว่ามีส่วนในการเพิ่มความเร็วอย่างแท้จริง
ที่ดีไปกว่านั้นก็คือ ชุดคำสั่งใหม่ ๆ เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเร่งประสิทธิภาพในการทำงานที่ซับซ้อน รวมถึงรูปแบบของงานที่ต้องอาศัยการใช้งานข้อมูลอย่างเข้มข้น (Data-intensive) เช่นการจำลองทางวิทยาศาสตร์, การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน (Financial Analysis), การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning), การประมวลผลภาพเสียงและวิดีโอ นอกจากนี้ยังรวมถึงเข้าและถอดรหัสข้อมูล (Cryptography) ซึ่งจะช่วยให้โปรเซสเซอร์ Xeon Scalable สามารถจัดการงานในระบบ High Performance Computing ได้เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ถึง 1.6 เท่า หรือเพิ่มความเร็วให้กับกระบวนการทำงานของ AI และการเรียนรู้เชิงลึก ได้ถึง 2.2 เท่า
*นอกจากนี้ AVX-512 ยังช่วยในการจัดเก็บข้อมูล โดยเป็นตัวเร่งความเร็วให้กับฟังก์ชันสำคัญ ๆ เช่นการคัดลอกข้อมูล, การเข้ารหัส, การบีบอัดและการขยายข้อมูล เพื่อให้คุณสามารถใช้แหล่งข้อมูลของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบที่อยู่ภายในองค์กร (On-Premises) และบริการคลาวด์แบบส่วนตัว (Private cloud)