Please wait...
SOLUTIONS CORNER
Windows 11 Home vs Pro แตกต่างกันอย่างไร

Windows 11 Home vs Pro: แตกต่างอย่างไรสำหรับผู้ใช้แบบธุรกิจ?

Windows 11 Home vs Pro difference for business users

 

วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบฟีเจอร์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีในเวอร์ชัน Home และ Pro ของ Windows 11

Windows 11 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปีนี้ อาจทำให้ผู้ดูแลระบบและผู้จัดการฝ่ายไอทีเกิดไอเดียขึ้นมากมาย ธุรกิจจำนวนมากอาจรู้สึกว่าตนเพิ่งอัปเกรดเป็น Windows 10 เสร็จไปเมื่อไม่นานนี้เองไม่ใช่หรือ (และจริงๆ หลายบริษัทเพิ่งทำเช่นนั้นไป)

ก่อนหน้านี้ Windows 10 ถูกแปะป้ายว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการอันน่านับถือรุ่น "สุดท้าย"  ดังนั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่หลายคนจะรู้สึกใจหายหากมีแถลงการณ์ในลักษณะดังกล่าวออกมาจริง ตัว Windows 10 ได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับ Windows 11 จนถึงเดือนตุลาคม 2024 จึงไม่มีความเร่งรีบมากนัก แต่เมื่อถึงเวลา เราก็คงต้องตัดสินใจเลือกว่าจะเอา Windows 11 Home หรือ Pro?

นับตั้งแต่ช่วงเวลาอันวุ่นวายสมัย Windows 7 พร้อมด้วยรุ่นพื้นฐานของมันอีกหกรุ่น Microsoft ได้พยายามทำให้ตัวเลือกดังกล่าวนี้ง่ายขึ้น โดยจะมีสองตัวเลือกพื้นฐานสำหรับแล็ปท็อปและสำหรับเดสก์ท็อป Windows ส่วนใหญ่ ได้แก่ Windows 11 Home และ Windows 11 Pro แต่ทั้งสองตัวนี้แตกต่างกันจริงๆ หรือ? คุณ หรือทีมของคุณต้องการใช้รุ่น Pro จริงหรือไม่? เราทำการพิจารณาความแตกต่างเพื่อให้คุณตัดสินใจได้ด้วยตัวคุณเองมา ณ ที่นี้แล้ว


Windows 11 มีแค่สองรุ่น?

ในทางเทคนิค Windows 11 มีมากกว่าสองเวอร์ชัน อย่างไรก็ดี พวกตัวเวอร์ชันอื่นๆ มุ่งเป้าไปยังกรณีการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงอยู่ โดยจะมีเวอร์ชันที่แยกส่วนสำหรับภาคการศึกษาซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Chrome OS ของ Google และรุ่นเฉพาะสำหรับ IoT และอุปกรณ์แบบฝังติดตั้ง ซึ่ง ณ จุดนี้เราคงไม่ได้มาสนใจตรงจุดนั้นเท่าไร เนื่องจากเรามุ่งเน้นที่การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรุ่นหลักสองรุ่นมากกว่า

เวอร์ชันแบบที่สาม เรียกว่า “Windows 11 Pro สำหรับเวิร์กสเตชัน” โดยมุ่งเป้าไปที่เครื่องระดับไฮเอนด์ เช่น รุ่นที่ใช้โดยนักออกแบบกราฟิกและผู้พัฒนาเกม โดยเราได้การรวมเวอร์ชันที่ว่านี้ไว้ในกลุ่ม Windows 11 Pro เมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์ของบทความ  และยังไม่ได้นำ "โหมด S" เข้ามารวมในนี้ เนื่องจากเป็นการใช้งานในแบบที่สามารถเปิดและปิดได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงใบอนุญาตที่คุณเลือกซื้อ จึงไม่ควรนำมาพิจารณาประกอบการซื้อ


Windows 11 สำหรับคนทำงานที่บ้านและธุรกิจเล็กๆ

แม้ว่าบทความนี้จะมุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้ธุรกิจเป็นหลัก เราก็คงต้องขอเกริ่นเกี่ยวกับผู้ใช้รายบุคคล ผู้ค้ารายย่อย และธุรกิจขนาดเล็กก่อน คุณต้องใช้ Windows 11 Pro หรือไม่? แน่นอนคุณไม่จำเป็นต้องใช้ แม้ว่าไอ้ "วัฒนธรรมการอัปเกรด" ที่เขาเรียกๆ กันจะบอกเราว่าควรจัดเวอร์ชันที่ทำได้ครบสูตรไปเลย แต่ตรรกะเดียวกันนี้ใช้ไม่ได้กับ Windows

ความแตกต่างส่วนใหญ่ที่ต่อไปนี้เราจะพูดถึงกันนั้น จะไม่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้เลยแม้แต่น้อย เว้นแต่เสียว่าคุณจะทำงานในระดับองค์กร Windows 11 Home เป็นเวอร์ชันที่เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งานอุปกรณ์เพียงคนเดียว คุณไม่ได้พลาดอะไรไปจากการที่ไม่ได้ซื้อเวอร์ชัน Pro


Windows 11 Home vs Pro: ฟีเจอร์รักษาความปลอดภัย

เมื่อเป็นเรื่องความปลอดภัย Windows ทั้งสองเวอร์ชันมีการเข้ารหัสอุปกรณ์โดยพื้นฐานมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว เช่นเดียวกับเครื่องมืออย่าง Find my Device และ Secure Boot ทั้งสองเวอร์ชันยังมีการป้องกันอินเทอร์เน็ตได้ระดับมาตรฐานที่คุณคาดหวัง เช่น ไฟร์วอลล์และการป้องกันเครือข่าย เป็นต้น

ฟีเจอร์พิเศษใน Windows 11 Pro แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ ความปลอดภัยและการปรับใช้ ในแง่ของความปลอดภัย มีฟีเจอร์พิเศษอยู่สองอย่าง คือฟีเจอร์เข้ารหัสด้วย BitLocker และฟีเจอร์ Windows Information Protection (WIP) โดยทั้งคู่มุ่งเป้าไปที่คนทำงานที่บ้านและผู้ใช้ที่นำอุปกรณ์มาเอง (BYOD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของ Microsoft ที่จะโอบรับ "New Normal" ของการทำงาน


BitLocker

BitLocker เป็นฟีเจอร์การเข้ารหัสเต็มรูปแบบเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ของเครื่องที่สูญหายและถูกขโมยโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีมาตั้งแต่สมัยของ Windows Vista แล้ว ซึ่งเมื่อเปิดใช้งาน ก็จะใช้ Trusted Platform Module (TPM) ซึ่งเป็นชิปแยกในแต่ละเครื่อง ในการเข้ารหัสเซกเตอร์ฮาร์ดดิสก์ตามเซกเตอร์ รหัสจะถูกแยกออกจาก BIOS โดยสิ้นเชิง และจะถอดรหัสได้เมื่อผู้ใช้พิมพ์รหัสในขั้นตอนก่อนการบูตเครื่อง หรือว่าพิมพ์ PIN ของ Windows หรือใช้ USB stick เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นระดับแบบประเภททั่วไป หรือ ประเภทเพื่อปลอดภัยเป็นพิเศษแบบที่ใช้คีย์การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัยมาตรฐาน FIDO

ถ้าไม่มีคีย์ ไดรฟ์ทั้งหมดจะถูกล็อคด้วยการเข้ารหัสระดับรักษาความปลอดภัยธนาคารระดับ AES 256 บิต ทำให้ไม่สามารถถอดรหัสได้แทบจะในทันที คิดดูก็ได้ว่าก็เหมือนแรนซัมแวร์แบบย้อนศรนั่นแหละ คอมพิวเตอร์จะถูกล็อคไว้ หัวขโมยหรือผู้ค้นหาจะสามารถเข้าถึงดิสก์ได้ด้วยคีย์ที่ถูกต้องเท่านั้น แม้ว่าฟีเจอร์นี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่ก็ยังมีตัวเลือกการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ มากมายรวมอยู่ใน Windows แล้ว เว้นแต่ผู้ใช้ของคุณจะเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่งไว้ในไดรฟ์ และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ อุปกรณ์นี้ใช้พกพาได้ (เช่น แล็ปท็อป) อะไรที่ "น่ามี" อาจไม่ใช่เหตุผลที่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการซื้อเวอร์ชัน Pro


Windows Information Protection

ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยตัวที่สองคือ Windows Information Protection (WIP) ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Enterprise Data Protection (EDP) ฟีเจอร์นี้เป็น "เครือข่ายความปลอดภัย" ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการช่วยให้มั่นใจได้ว่าในกรณีที่คอมพิวเตอร์ถูกนำไปใช้กับสภาพแวดล้อมเครือข่าย เช่น เครื่อง BYOD เจ้าอุปกรณ์เหล่านี้จะไม่ทำให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนรั่วไหลเนื่องจากขาดการป้องกัน

ฟีเจอร์นี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหยุดแฮ็กเกอร์ แต่มีไว้เพื่อปกป้องไม่ให้สิ่งที่ Microsoft เรียกว่า "พนักงานที่ซื่อสัตย์" เผลอถ่ายโอนข้อมูลไปยังไดรฟ์ภายในเครื่องหรือ USB ภายนอกเครื่องโดยไม่ได้ตั้งใจ มันทำงานได้ดีที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับฟีเจอร์ที่สองซึ่งติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Windows Azure เรียกว่า Azure Rights Management ซึ่งช่วยระบุข้อมูลละเอียดอ่อนตั้งแต่แรก แม้ว่าจะมีการป้องกันได้โดยไม่จำเป็นมี Azure แต่เครื่องมือทั้งสองก็ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมข้อมูลที่ปลอดภัยในการถ่ายโอนและข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยสำหรับการถ่ายโอนได้นั่นเอง


Windows 11 Home vs Pro: การยกระดับการปรับใช้เครือข่าย

ความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่าง Windows 11 Home และ Pro Edition คือชุดฟีเจอร์ขนาดใหญ่ที่เน้นการใช้งานเครือข่ายนั่นเอง
ด้วยความที่มีการยกเครื่องสำหรับวัฒนธรรมการทำงานแบบไฮบริดใหม่ ฟีเจอร์เหล่านี้นี่แหละที่จะเป็นตัวตัดสินว่าคุณควรใช้ Pro หรือไม่ หากฟีเจอร์ในสองสามย่อหน้าถัดไปไม่มีความหมายสำหรับคุณ แสดงว่าคุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Pro เลย


การเข้าถึงแบบได้รับมอบหมาย (Assigned Access): อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบทำการเลือกแอปพลิเคชันที่เครื่องแต่ละเครื่องสามารถใช้ได้
โดยสามารถกำหนดค่าสำหรับทั้งเครื่องหรือสำหรับผู้ใช้เฉพาะราย คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องส่วนบุคคลและเครื่องสำหรับธุรกิจโดยไม่ต้องมีเส้นแบ่งให้ต้องประนีประนอม


การจัดสรรแบบไดนามิก (Dynamic Provisioning): ช่วยให้องค์กรสามารถตั้งค่าเครื่องที่มีสิทธิและระดับการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะด้วยแอปพลิเคชันการดูแลระบบ โดยผู้ดูแลระบบสามารถใช้การตั้งค่าเดียวกันกับทุกเครื่องได้ในคลิกเดียว แทนที่จะใช้แบบเครื่องต่อเครื่อง ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบคลาวด์หรือจากแท่ง USB ก็ได้

ระบบโรมมิงแบบองค์กร (Enterprise State Roaming): มอบวิธีการนำเสนอประสบการณ์เสมือนจริงแก่ผู้ใช้ Azure ที่เป็นเหมือนกันในเครื่องใดๆ ก็ตาม ทำให้เครื่องที่ลงทะเบียนกลายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดค่าเพียงเล็กน้อย ใช้ได้เฉพาะกับองค์กรที่มีใบอนุญาต Azure เฉพาะเท่านั้น

นโยบายกลุ่ม (Group Policy): นี่คือเครื่องมือการปรับใช้แบบคลาสสิก ซึ่งให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงไฟล์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เดียวกันเมื่อจับคู่กับเซิร์ฟเวอร์ Windows

โหมดคีออสก์ (Kiosk Mode): ล็อกเครื่องเพื่อใช้เป็นเทอร์มินอลข้อมูลสาธารณะ เช่น จุดข้อมูลนักท่องเที่ยวและจุดลงชื่อเข้าใช้อาคาร ซึ่งสามารถทำได้ทีละรายการ หรือทำผ่านการปรับใช้ระบบคลาวด์ผ่านฟีเจอร์การจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็ได้

สโตร์ Microsoft สำหรับธุรกิจ (Microsoft Store for Business): นี่คือสโตร์ Microsoft แบบมาตรฐานเวอร์ชันที่กำหนดค่าได้ ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถดาวน์โหลดได้เฉพาะแอปที่คุณต้องการเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่าไม่ให้มีการดาวน์โหลดเกมใดๆ หรือระบบย่อยของ OS อื่น เช่น ลินุกซ์และแอนดรอยด์ เป็นต้น

การจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device Management): ฟีเจอร์ที่เป็นหนทางรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์แต่ละเครื่องผ่านแอปของบุคคลที่สาม Microsoft มีแพ็คเกจ InTune ของตัวเองให้ใช้ แต่ถ้าคุณกำลังใช้สภาพแวดล้อมเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทอื่นอยู่ ส่วนใหญ่เซิร์ฟเวอร์พวกนั้นจะใช้โปรโตคอล MDM ซึ่งตรงจุดนี้อาจทำให้บางธุรกิจทำงานสะดุดได้ คุณอาจคิดว่าผู้ขายของคุณดูแลคุณแล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ฟีเจอร์นี้ อย่างไรก็ตาม ในหลายสภาพแวดล้อมที่มีการปรับใช้นั้นเป็นกรณีของการพึ่งพิงใช้ร่วมกัน ดังนั้นถ้าเกิดจะไม่สนใจตรงนี้อาจจะต้องทำอย่างระมัดระวังหน่อย


มีอะไรขาดหายไปใน Windows 11 Pro?

คำตอบสั้นๆ เลยก็คือ ไม่มี ‘ข้อเสีย’ อะไรทั้งนั้นในการใช้งาน Windows 11 Pro

ทั้งสองเวอร์ชันต่างก็จัดเต็มครบชุดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบรองรับการเล่นเกมแบบบกระดับ การเข้าถึงระบบย่อยของ Android การบูรณาการกับ Microsoft Teams อย่างล้ำลึก รวมถึงบริการรักษาความปลอดภัยและป้องกันมัลแวร์ในตัวของ Microsoft อันที่จริง สำหรับผู้ใช้  Windows 11 Home และ Windows 11 Pro แทบมองไม่เห็นความแตกต่างเลย

เช่นเดียวกันกับรุ่น ‘Pro’ ของสมาร์ทโฟนยุคใหม่ ก็คือมีฟีเจอร์ที่ผู้ใช้หลายคนคงไม่มีทางได้ใช้ Windows 11 Pro เองก็มีข้อดีเฉพาะเมื่อใช้งานกับเครื่องที่ใช้ในสภาพแวดล้อมเครือข่ายระดับองค์กรเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น  Windows 11 Home ยังอัปเกรดเป็น Windows 11 Pro ได้ด้วยการซื้อคีย์อัปเกรด ดังนั้นก่อนที่คุณจ่ายเงินเพี่ม ลองดูก่อนว่าใช้เพียง Windows 11 Home ก็เพียงพอเหมาะสมกับธุรกิจของคุณแล้วหรือไม่ แล้วคุณจะตกใจเลยล่ะ



ที่มา: 
https://bit.ly/3vlfGTR

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์