FAQ เกี่ยวกับ HPE SimpliVity Hyperconverged ในสิ่งที่ต้องคุณรู้
FAQ เกี่ยวกับ HPE SimpliVity Hyperconverged ในสิ่งที่ต้องคุณรู้
หลังจากที่ HPE ได้มีการประกาศเข้าซื้อกิจการของ SimpliVity ในปี 2017 จนถึงตอนนี้ ก็ยังคงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ HCI (Hyper-converged Infrastructure) ของทั้งสองบริษัท แม้ว่าเดิมทีพวกเขาจะเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกันอยู่แล้วก็ตาม และวันนี้เราก็จะมาตอบในบางส่วนของคำถามเหล่านั้น
จากหนึ่งในพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ HPE ตัดสินใจทำการเข้าซื้อกิจการในช่วงต้นปี 2017, เมื่อ Hewlett Packard Enterprise ได้ทำข้อตกลงเพื่อซื้อ SimpliVity Corp. ในมูลค่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยที่ประมาณ 22,750 ล้านบาท ซึ่งบางคนอาจมองว่านี่เป็นชัยชนะครั้งสำคัญของ HPE ซึ่งในส่วนของ SimpliVity เองนั้น ก็มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังถูกระบุด้วยว่าเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของผู้นำตลาดในด้าน Hyper-Converged Infrastructure (HCI)
นับตั้งแต่ที่มีการเข้าซื้อกิจการ ทางด้านของ HPE ก็ยังคงเดินหน้าจำหน่ายอุปกรณ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของ SimpliVity OmniCube อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขายเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองที่ติดตั้งด้วยซอฟต์แวร์ OmniStack ของ SimpliVity อย่างไรก็ตามการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวก็ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ที่สำคัญสำหรับ HPE นอกจากนี้ ตามรายงานข้อมูลจาก IDC ที่ระบุว่า HPE มียอดขายเป็นอันดับสี่ของตลาดด้าน HCI และในไตรมาสที่สองของปี 2018 นั้น HPE มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่น้อยกว่า 5% โดยจะเห็นว่า HPE มีรายรับเป็นเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสดังกล่าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 119% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้ HPE ยังได้สร้างแพลตฟอร์ม HCI ที่เป็นของตัวเองเพิ่มเติมในปี 2018 โดยการเข้าซื้อกิจการของ Plexxi
เพื่อขยายฐานผลิตภัณฑ์ Hyperconverged Network (HCN) ซึ่งทาง HPE ยังได้กล่าวอีกว่า Roadmap ที่เป็นกลยุทธ์ด้าน HCI ของพวกนั้น ได้มีการรวมเอาเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ของ Plexxi มารวมเข้าด้วยกันกับเทคโนโลยี SimpliVity เพื่อเป็นการเสริมความสามารถด้านการจัดการระบบเครือข่ายและรองรับ Workload ใหม่ๆ ได้มากขึ้น
SimpliVity ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด? และถูกเข้าซื้อกิจการเมื่อใด?
ในปี 2008 Doron Kempel ซึ่งเป็นผู้ขายกิจการ Diligent Technologies ที่เป็นบริษัทเดิมของเขาให้แก่ IBM ก็ได้ทำการเปิดตัว SimpliVT Corp., หลังจากนั้นก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น SimpliVity Corp. ในปลายปี 2009, ต่อมาในปี 2012 SimpliVity ก็ได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเอง นั่นก็คือ OmniCube ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบบ Hyper-converged Infrastructure (HCI) โดยขณะนั้นยังอยู่ในรุ่นเบต้า (Beta Stage), และเริ่มวางมีวางจำหน่ายโดยทั่วไปในช่วงต้นปี 2013, จนกระทั่งเมื่อปี 2017 ที่ HPE ได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ SimpliVity ซึ่งเป็นช่วงเวลาเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ Forrester ได้ออกมาประกาศว่า SimpliVity ถูกจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในสามบริษัทผู้จำหน่ายที่เป็นผู้นำในตลาด HCI เช่นเดียวกับ Pivot3 และ Nutanix
เพราะเหตุใด SimpliVity จึงตัดสินใจขายกิจการให้กับ HPE?
มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่สามารถตอบได้ว่าทำไม และ Kempel เองก็เพียงแต่ออกมาพูดในการแถลงข่าวที่ประกาศเกี่ยวกับการเข้าซื้อในครั้งนั้นว่า "การเข้าร่วมกับ HPE คือขั้นตอนต่อไปที่สมเหตุสมผลแล้วสำหรับ SimpliVity" แต่อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านั้นเราพบว่าในเดือนมีนาคม ปี 2015 ทางด้าน SimpliVity ได้มีการระดมทุนเป็นเงินจำนวน 276 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนในระดับ Series D ที่มีมูลค่าสูงถึง 175 ล้านเหรียญสหรัฐ และในส่วนของ Nutanix ที่เป็นคู่แข่งรายใหญ่ในกลุ่มสตาร์ทอัพด้าน HCI ของพวกเขานั้น ก็ได้มีการเสนอขายหุ้นใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในเดือนกันยายน ปี 2016 ซึ่งในช่วงที่มีการรายงานจาก Forrester ในเดือนมกราคม ปี 2018 ที่มีการระบุว่า SimpliVity เป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของผู้จำหน่าย HCI ที่ใหญ่ที่สุด โดย Forrester ยังมีรายงานว่า Nutanix มีจำนวนลูกค้ามากกว่า 3,100 รายจากทั่วโลก ไปจนถึงลูกค้าของ SimpliVity ที่มีประมาณ 1,300 ราย นอกจากนี้แล้ว Kempel ยังมีประวัติเกี่ยวกับการขายธุรกิจในกลุ่ม Startup ซึ่งเขาเคยขายธุรกิจ Diligent Technologies ให้แก่ IBM ในราคา 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2008 โดยเป็นช่วงเวลาห้าปีหลังจากที่ได้มีการก่อตั้งธุรกิจ Startup ที่เกี่ยวกับ Hardware สำหรับการสำรองข้อมูล
ก่อนที่จะมีการเข้าซื้อกิจการของ HPE ผลิตภัณฑ์หลักของ SimpliVity ที่เป็นระบบ Hyper-converged คืออะไร?
นอกเหนือจากอุปกรณ์รุ่นต่างๆ ของ OmniCube แล้ว SimpliVity ยังได้มีการจำหน่ายซอฟต์แวร์ OmniStack ที่ขับเคลื่อนการทำงานของ OmniCube โดยในช่วงเวลาที่ HPE มีการเข้าซื้อกิจการนั้น ทาง SimpliVity ก็ได้ยืนยันว่าลูกค้าทั้งหมด 1,300 ราย ของพวกเขา มีทั้งที่เป็นลูกค้าจากการซื้อ OmniCube หรือ ซอฟต์แวร์ OmniStack บนเซิร์ฟเวอร์จาก Cisco, Dell EMC, Lenovo หรือ Huawei
HPE มีผลิตภัณฑ์ด้าน HCI ก่อนหน้าที่จะเข้าซื้อกิจการจาก SimpliVity หรือไม่?
HPE ยังคงขายและมีการจำหน่ายสายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบ Converged System ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ ซึ่งระบบ Converged System ดังกล่าว สามารถเป็นได้ทั้งแพลตฟอร์ม Converged Infrastructure, HCI, โครงสร้างพื้นฐานแบบผสมผสาน (Composable Infrastructure) หรือสามารถที่จะปรับแต่งได้ตามความต้องการของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์ในหน่วยความจำและแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์ข้อมูลในหน่วยความจำ (In-memory analytics) เช่น SAP HANA เป็นต้น นอกจากนี้ HPE ก็ยังคงจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่ม ProLiant ที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ OmniStack ในตัว ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เคยทำในฐานะพันธมิตรของ SimpliVity ก่อนที่จะมีการเข้าซื้อกิจการ
OmniStack Accelerator คืออะไร?
จากผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ OmniCube ที่เกิดขึ้นในปี 2013 SimpliVity ที่ได้มีการผสานการทำงานของการ์ด PCIe (Peripheral Component Interconnect Express) เข้าไป เพื่อไปช่วยจัดการในเรื่องของการบีบอัดข้อมูล (Compression) และการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนแบบ inline (Inline Deduplication) ของข้อมูลทั้งหมดที่มีการเขียนหรืออ่านข้อมูลจาก OmniCube ทั้งนี้ SimpliVity ได้มีการอ้างถึงอัตราการลดข้อมูลที่ 40 ต่อ 1 โดยใช้การ์ดเร่งความเร็ว (Accelerator Card) ซึ่งการ์ด PCIe ดังกล่าวนั้น ตอนนี้ถูกเรียกว่า HPE OmniStack Accelerator Card แต่ทางด้าน HPE ก็ได้กล่าวในทันทีหลังจากที่มีการเข้าซื้อ SimpliVity ว่า พวกเขามีแผนการที่จะกำจัดการ์ดนี้ออกไปจาก OmniCube เพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งหลังจากนั้นฟังก์ชั่นทั้งหมดจะได้รับการจัดการด้วยซอฟต์แวร์
SimpliVity 2600 ใหม่ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม SimpliVity Hyper Converged ของ HPE อย่างไร?
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2018, HPE ได้มีการประกาศเปิดตัว SimpliVity 2600 ซึ่งเป็นโซลูชั่นล่าสุดด้าน Hyper-Converged Infrastructure (HCI) ที่มีขนาดกะทัดรัด โดย HPE SimpliVity 2600 นั้นเป็นอุปกรณ์แบบ 2U เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเทคโนโลยี Virtual Desktop Infrastructure (VDI) เป็นหลัก เพื่อเสริมความสามารถในการบริหารจัดการ โดยการนำเทคโนโลยี Virtualization (การจำลองรวมเอาการทำงานของคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง มาไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเพียงเครื่องเดียว) เข้ามาช่วยปรับปรุงระบบ PC ของผู้ใช้งาน แต่ทางด้าน HPE ได้ระบุว่าพวกเขาจะทำการตลาดที่เน้นหนักไปทางด้าน Edge Computing และแอพพลิเคชั่น IoT (Internet of Things Application) เนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก (Small Footprint) นอกจากนี้ HPE SimpliVity 2600 ยังเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวแรกที่จะเป็นไปตามคำสัญญาของ HPE ที่ให้ไว้ว่าพวกเขาจะกำจัด OmniStack Accelerator Card ออกไปเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นการบีบอัดข้อมูลและการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน ทั้งหมดนี้จะดำเนินการในซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว
Hypervisor ตัวไหนที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของ HPE SimpliVity Hyper-Converged?
OmniCube ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยี Virtualization จาก VMware และด้วยเหตุนี้ vSphere ESXi จึงเป็น Hypervisor ที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของ HPE SimpliVity Hyper-Converged ซึ่งภายหลัง SimpliVity ก็ได้เพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Kernel-based Virtual Machine (KVM) ซึ่งเป็นระบบ Open Source Virtualization ที่ทำหน้าที่เป็น Hypervisor ในสายผลิตภัณฑ์ และในปี 2016 ก็ได้เพิ่มการรองรับในส่วนของ Microsoft Hyper-V เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
ดูสินค้าเพิ่มเติม : https://www.quickserv.co.th