HPE Nimble Storage สตอเรจระดับองค์กรที่ Data Center ต้องมี
คณะกรรมการได้ทำการตัดสินและมอบรางวัล Products of the Year ให้แก่ All-Flash Array จาก HPE ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดสำหรับระบบการวิเคราะห์ (Analytics) และการทำงานอัตโนมัติ (Automation) ที่มาพร้อมกับตัวอุปกรณ์ รวมถึงความสะดวกในการใช้งาน และความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะกับองค์กรประเภท Mid-Market หรือตลาดที่เป็นธุรกิจระดับกลาง
หลังจากที่ Hewlett Packard Enterprise ได้เข้าซื้อกิจการจากบริษัท Nimble Storage
ในปี 2017 และได้ออกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า HPE Nimble Storage โดยมุ่งหวังที่จะแก้ไขทุกข้อจำกัดของระบบการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งต่อมา Nimble Storage Array ก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของตระกูลผลิตภัณฑ์ HPE อย่างรวดเร็ว
HPE ได้ทำการขยายการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) ของ Nimble InfoSight ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการจัดการโครงสร้างพื้นฐานในวงกว้าง (Broad) และการอัพเกรดเพื่อเป็น HPE Nimble Storage Arrays นั้น ก็ทำให้รู้สึกประทับเป็นอย่างมาก ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ได้รับรางวัลแพลตฟอร์มเหรียญทองในหมวดหมู่ Storage Array
ปัจจุบัน HPE Nimble Storage นั้น ประกอบไปด้วย All Flash Storage และ Hybrid Flash Storage หลากหลายรุ่น โดยมีระบบ HPE InfoSight ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ที่มีชั้นสื่อสารที่สนับสนุนด้านเครือข่าย (Network Support Layers) ในระดับ 1 และระดับ 2 โดยอัตโนมัติ และช่วยดูแลสอดส่องปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน Data Center เพื่อส่งสัญญาณแจ้งเตือนการหยุดชะงักของสตอเรจที่อาจเกิดขึ้น
ในส่วนของฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในปี 2561 นั้น ก็ได้รวมถึงความสามารถในการรองรับ NVMe และหน่วยความจำแบบ Storage Class Memory (SCM) ที่มาในรูปแบบ Entry-Level ใหม่ มีขนาดความจุรวม 6 TB และพร้อมรองรับการเพิ่มขยายความจุได้สูงสุดถึง 800 TB จากทั้ง 4 โหนด ในคลัสเตอร์ และนอกจากนี้ HPE ยังได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยการอัพเกรด Nimble ขนานใหญ่เป็นครั้งแรก
คณะกรรมการของเราอาจจะไม่ได้รู้สึกประหลาดใจเท่าไรนักกับฮาร์ดแวร์ของ HPE Nimble Storage เพราะจากข้อมูลของ HPE ที่ได้มีการระบุถึงรูปแบบ (Model) ของ Nimble ทั้งแบบ All Flash และ Hybrid Flash ที่สามารถมอบประสิทธิภาพการทำงานแบบ Single-Controller ที่ให้ประสิทธิภาพสูงถึง 450,000 IOPS ด้วยสถาปัตยกรรมของตัวควบคุม (Controller Architecture) แบบ Active-Standby (ที่ตัวควบคุมจะทำงานเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวที่ไม่ได้ใช้งานก็จะเปิดไว้ พร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา) พร้อมด้วยค่า Latency ที่น้อยมากๆ (Sub-millisecond Latencies)
แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำให้คณะกรรมการของเราประทับใจมากที่สุด นั่นก็คือ วิธีการผสานระบบการทำงานของ InfoSight เข้ากับผลิตภัณฑ์ของ Nimble Storage เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ Flash ให้มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Storage จากค่ายอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินก็ได้อธิบายว่า “Nimble InfoSight เป็นเครื่องมือที่เหลือเชื่อ ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจลดการจัดการด้วยตนเอง (Manual Administration) เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ”
สำหรับการทำ Redundancy เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือ (reliability) ให้กับระบบนั้น HPE Nimble Storage รับประกันได้ถึง 99.9999% กับระยะเวลาที่เครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่พวกเขาสามารถทนต่อความล้มเหลวของไดร์ฟได้ถึงสามตัวพร้อมกัน โดยที่ไม่ต้องหยุดทำงานหรือสูญเสียข้อมูล และตามที่ HPE ได้ระบุไว้ สำหรับเรื่องของความสามารถในการปกป้องข้อมูล (Data Protection) นั้น โดยพื้นฐานแล้วข้อมูลที่ถูกเขียนขึ้นจะถูกปกป้องด้วย Triple-parity RAID พร้อมด้วยระบบ Snapshot Replication และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) สำหรับข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ใน Storage ขององค์กร (Data at rest) และข้อมูลที่ทำการโอนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์หรือระหว่างระบบ (Data in Transit)
ในส่วนของระบบ Hybrid Arrays นั้น เริ่มต้นที่ราคา 60,000 ดอลลาร์ ด้วยความจุขนาด 6 TB (Raw) และสำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ระบบ All Flash สามารถเลือกซื้อ All-Flash Array จาก Nimble Storage ที่มีความจุขนาด 11 TB ได้ในราคาประมาณ 70,000 ดอลลาร์ ซึ่งนอกเหนือจากหน่วยความจำหลักที่เป็นสตอเรจระดับองค์กร (Enterprise Storage) แล้ว HPE ยังได้มีการนำเสนอในส่วนของ HPE Cloud Volumes ซึ่งเป็นบริการใหม่ล่าสุดจาก Nimble Storage ไปใช้ร่วมกับบริการ Cloud จากผู้ให้บริการชั้นนำอย่าง AWS และ Microsoft Azure ที่ช่วยให้สามารถรองรับการทำ Multi-Cloud สำหรับการจัดการข้อมูลได้ในตัวเอง
อย่างไรก็ตาม
ยังมีความเห็นอื่นๆ จากคณะกรรมการของเรา ที่มีทั้งกลุ่มที่ชอบเรียกร้องมากเกินไป และบางคนก็พุ่งประเด็นไปที่จุดอ่อนที่อาจจะเกิดขึ้นในแพลตฟอร์มสตอเรจของ Nimble หรือแม้แต่ในเรื่องของราคา ที่แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นราคาสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดกลาง แต่ HPE Nimble Storage ก็ยังดูล้าหลังอยู่ เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีการผสานฟังก์ชั่นการทำงานของ NAS จากค่ายอื่นๆ
ดูสินค้าเพิ่มเติม : https://www.quickserv.co.th/