Please wait...
IT UPDATE ENTERPRISE
รีวิว HPE ProLiant DL160 Gen10

รีวิว HPE ProLiant DL160 Gen10

 


DL160 มีรูปแบบที่ออกจะแตกต่างไปจากเดิมอยู่สองสามอย่าง เช่น ฟอร์มแฟกเตอร์ขนาดเล็ก มีไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้วแปดอัน หรือไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วถึงสี่อัน สำหรับผู้ที่ต้องการความจุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในตัวเครื่อง โดย HPE ส่งรุ่นที่มีไดรฟ์สี่อันมาให้เรา ก็คือ มี 300GB SSD สองอันสำหรับการบู๊ตจับคู่ และ 2.4GB SSD สองอันสำหรับเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลหลัก โดยเราจะเปลี่ยนไดรฟ์เหล่านี้เป็น 8 x Toshiba PX04SS 400GB SAS3 SSD เพื่อทดสอบ
 
ถึงแม้ DL160 จะเริ่มต้นที่ราคาประมาณ $800 หรือ $900 แต่ราคาก็จะปรับเปลี่ยนได้อีกจากการซื้อส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นอีกมาก เช่น โปรเซสเซอร์ Xeon Gold Silver และโปรเซสเซอร์ Bronze รุ่นที่ 1 และ 2 แบบคู่ โดยมี RAM DDR4 สูงสุดถึง 1TB ซึ่งตัวที่เราได้มานั้น ประกอบด้วย Intel Xeon 4110 (8 คอร์, 2.1 GHz), RAM 16GB และ E208i-a Smart Array Controller
 

การออกแบบและบิลด์ HPE ProLiant DL160 Gen10

บิลด์ตัวนี้เป็นเซิร์ฟเวอร์ 1U ขนาดกะทัดรัดที่มีคุณภาพงานประกอบ รูปลักษณ์และสัมผัสแบบที่เรามักจะได้จากแบรนด์ HPE ไดรฟ์ทั้งหมดอยู่ตรงด้านหน้า ส่วนตรงกลางแผงด้านหน้ามีไอดีการ์ด ด้านขวามีพอร์ต ILO พอร์ต USB 3.0 ไฟ LED และปุ่มเปิดปิด
 
พอลองหันมาดูอีกด้าน รุ่นที่เราได้มา มีพาวเวอร์ซัพพลาย 500W ตัวเดียว (ข้างในมีซีพียูตัวเดียว) แม้ว่าจะมีสล็อตสำหรับ PSU อีกตัวสำหรับบิลด์ระดับไฮเอนด์ก็ตาม นอกจากนี้ยังมีสล็อตสำหรับการ์ดไรเซอร์และรองรับการ์ด PCI สองการ์ด อันหนึ่งมีความสูงครึ่งหนึ่งและอีกอันสูงเต็มหนึ่งส่วน ด้านล่างซ้ายเป็นพอร์ต NIC พอร์ต USB สองพอร์ต (สำหรับแป้นพิมพ์และเมาส์) และพอร์ต VGA
 
หากจะแกะดูข้างใน ก็ทำได้ง่ายๆ เพียงดึงร่องจับด้านบนเคสแล้วเลื่อนฝาครอบออก อย่างที่เรากล่าวไว้ข้างต้น นี่เป็นเซิร์ฟเวอร์ระดับเริ่มต้น ข้างในจึงดูโล่งๆ ดังคาด
 
เมื่อดูด้านหน้า เราจะเห็นแผ่นด้านหลังที่เป็นบริเวณที่มีไดรฟ์ทั้งหมด สำหรับตัวที่เรามี รุ่นนี้จะมีพัดลมสามตัว อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดเลือกรุ่นที่เป็น Dual-CPU พัดลมของเซิร์ฟเวอร์ทุกสล็อตจะมีครบเจ็ดตัว พัดลมมีขนาดเล็กอยู่ (ปกติสำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U ซึ่งมีพื้นที่จำกัด) และสามารถติดตั้งเพิ่มลงบอร์ดได้อย่างรวดเร็วถ้าคุณอยากใส่พัดลมเพิ่ม
 
รุ่นนี้ให้สล็อตเสียบ DIMM มาเยอะอยู่ (รวมเป็น 12 สล็อต) แต่รุ่นที่ HPE ส่งมาให้เรามีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น ถ้ามองดูรอบๆ จะเจอการ์ด RAID แบบ Full อยู่ที่ด้านหลัง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการจัดการไดรฟ์ ถัดจากนั้นคือสล็อต PCIe สองสล็อต โดยมีแบบ 16x และ 8x
 
เห็นได้ชัดว่า DL160 ไม่ได้มีอะไรมาก แต่มันมาพร้อมกับทุกสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการในราคาประมาณ 1,000 ดอลลาร์ ราคานี้สมเหตุสมผลมากเทียบกับตัวฮาร์ดแวร์ที่มีให้ นอกจากนี้ยังมี ILO5 ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับโมเดลรุ่น Gen10 ดังนั้น ส่วนประกอบทั้งหมดของ ProLiant ก็เพียงพอแล้วสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในการจัดการสิ่งต่างๆ ทั้งหมด
 

การจัดการ HPE ProLiant DL160 Gen10

HPE ProLiant DL160 Gen10 ใช้ประโยชน์จาก Integrated Lights-Out (iLO) ในการบริการจัดการใดๆ ก็ตาม เราวิเคราะห์รีวิว iLO 5 ไว้พอประมาณ และด้านล่างนี้คือประเด็นบางประเด็นว่ามันดูเป็นอย่างไรบนเครื่อง DL160
 
ข้างใต้แถบข้อมูลหลัก จะมีแถบย่อยหลายแถบรวมถึงแถบภาพรวม (Overview) แดชบอร์ดความปลอดภัย รายการเซสชัน บันทึกเหตุการณ์ iLO และบันทึกการจัดการแบบบูรณาการรวม ซึ่งแถบเหล่านี้ก็ตรงตามชื่อ แถบภาพรวม จะเป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบ และยังช่วยให้ผู้ใช้ทราบระดับความสมบูรณ์และความปลอดภัยของระบบได้อย่างรวดเร็ว
 
ข้างใต้แถบ Power & Thermal มีแถบย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน รวมถึง พลังงานเซิร์ฟเวอร์ มิเตอร์พลังงาน การตั้งค่าพลังงาน พลังงาน พัดลม และอุณหภูมิ ตรงแถบนี้ผู้ใช้สามารถเปิดหรือปิดเซิร์ฟเวอร์และตรวจสอบเมตริกต่างๆ ของระบบได้
 
ในช่วงเวลาเหล่านี้ การรองรับระบบระยะไกลมีความสำคัญยิ่งขึ้น ด้วยแถบรองรับระบบระยะไกล ผู้ใช้จะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์กับ HPE เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
 

ประสิทธิภาพ HPE ProLiant DL160 Gen10

สำหรับการวัดประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ของเซิร์ฟเวอร์ DL160 เราได้เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5” เป็น Toshiba 400GB PX04SS SSD แปดตัวซึ่งเคยใช้ทดสอบ JBOD มาแล้ว
 

VDBench Workload Analysis

หากเป็นเรื่องการเปรียบเทียบพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล การทดสอบด้วยแอปพลิเคชันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด รองลงมาคือการทดสอบสังเคราะห์ (Synthetic Testing) ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้แสดงปริมาณ Workload จริงอย่างสมบูรณ์แบบ แต่การทดสอบสังเคราะห์ก็ทำให้เห็นฐานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีการย้ำส่งปริมาณ Workload ในระดับที่ทำให้เทียบกันได้ในส่วนของโซลูชันที่แข่งขันกันอยู่

โดย Workload เหล่านี้ได้ผลเป็นโปรไฟล์ทดสอบที่แตกต่างกันจากการทำแบบทดสอบแบบ ‘สี่มุม’ คือ การทดสอบขนาดการถ่ายโอนข้อมูลทั่วไป รวมถึงการติดตามการจับภาพหน้าจอจากสภาพแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยี VDI ต่างกัน โดยแบบทดสอบเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากตัวสร้าง VDBench Workload ทั่วไป พร้อมเอ็นจินสคริปต์เพื่อให้ทำงานได้อัตโนมัติและจัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากบนคลัสเตอร์การทดสอบการประมวลผลขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้เราสามารถทำปริมาณงานเดียวกันซ้ำๆ ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงถาดแฟลชและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
 

โปรไฟล์

  • 4K Random Read: 100% Read, 128 threads, 0-120% iorate
  • 4K Random Write: 100% Write, 64 threads, 0-120% iorate
  • 64K Sequential Read: 100% Read, 16 threads, 0-120% iorate
  • 64K Sequential Write: 100% Write, 8 threads, 0-120% iorate
  • ฐานข้อมูลสังเคราะห์: SQL และ Oracle
  • VDI Full Clone และ Linked Clone Traces
 

สรุป

HPE ProLiant DL160 Gen10 เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U แบบซ็อกเก็ตคู่ที่ออกแบบมาสำหรับ SMB ที่มีงบประมาณด้านไอทีจำกัดมาก แม้ว่าราคาจะอยู่ที่ประมาณ 800 ถึง 900 ดอลลาร์ สำหรับรุ่น Barebones แต่ผู้ใช้ก็สามารถติดตั้งซีพียูคู่ (โปรเซสเซอร์ Xeon หลายรุ่น) พร้อม RAM จำนวนมาก (สูงสุดได้ที่ 16 x 64 GB LRDIMM @ 2933 MT/s) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการพื้นที่เก็บข้อมูลหลายแบบและเพิ่มความจุได้มากถึง 77TB เมื่อใช้ไดรฟ์ 7.68TB ในเซิร์ฟเวอร์ขนาด 8-bay และมีช่องเสียบส่วนขยายสองช่อง DL160 ถือเป็นอีกหนึ่งรายการในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ProLiant ราคาเป็นมิตรของ HPE เช่น HPE ProLiant DL180 Gen10
 
โดยรวมแล้ว DL160 ทำงานได้ตามคาดหวังสำหรับเซิร์ฟเวอร์ระดับเริ่มต้น และเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการปรับแต่งเพิ่มเติมหรือต้องการฟีเจอร์รุ่นระดับไฮเอนด์อย่างแน่นอน DL160 ถือเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัดและยังคงต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจาก HPE


ที่มา: 
https://bit.ly/3Cz6JuW

สนใจสั่งซื้อสินค้า HPE ProLiant DL160 Gen10 คลิกที่นี่
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์