รีวิว HPE ProLiant EC200a เซิร์ฟเวอร์ Intel Xeon D Edge
รีวิว HPE ProLiant EC200a เซิร์ฟเวอร์ Intel Xeon D Edge
ภาพรวมของฮาร์ดแวร์ HPE EC200
ตัวเครื่องมีขนาดค่อนข้างเล็ก และออกแบบมาสำหรับวางไว้บนโต๊ะ โดย HPE มีตัวเลือกการติดตั้งมากมายสำหรับ ProLiant EC200a รวมถึงการติดตั้งแบบขาตั้งและแบบยึดติดผนัง ตัวระบบได้รับการออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา (ไม่รวมน้ำหนักฮาร์ดไดรฟ์) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ช่วยให้ติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบ
ส่วนด้านหน้าของตัวระบบมีพอร์ต USB 3.0 และพอร์ต USB 2.0 ทางด้านหลังมีพอร์ต USB 3.0 ให้สองพอร์ตและพอร์ต VGA รุ่นเก่า ฟีเจอร์หลักเป็นพอร์ต NIC สามพอร์ต พอร์ตหนึ่งเป็นพอร์ต HPE iLO4 สำหรับการจัดการนอกสายแบนด์ อีกสองพอร์ตคือพอร์ต Intel i366 Ethernet ที่แปะป้ายเป็นช่อง WAN และ LAN เหนือพอร์ตทั้งสามพอร์ตนี้เป็นช่องโมเดลการขยาย LAN เพิ่มเติมซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก และทำให้มีพอร์ตเพิ่มเป็นสี่พอร์ตในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไป (ฟอร์มแฟกเตอร์เฉพาะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของระบบ) และหาได้ยากอย่างพอร์ต NIC
ภายในระบบ เราสามารถเห็นโซลูชันที่ออกแบบโดยเอา Motherboard ไว้ด้านล่าง มีพื้นที่สำหรับฮาร์ดไดรฟ์ 3.5” สองตัวอยู่เหนือ PCB หลัก
ในส่วนระบายความร้อนนั้น ระบบมีพัดลมขนาด 40 มม. เพียงตัวเดียว นอกจากนี้ยังมีฮีทซิงค์ที่เชื่อมต่อผ่านท่อความร้อนกับโปรเซสเซอร์ Intel Xeon D-1518 4-core/ 8-thread ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องนี้
โดยตัวระบบจำเป็นต้องมีการประกอบท่อความร้อนเนื่องจากซีพียู Xeon D-1518 มีบอดี้ที่เหมือนเป็นโลหะ แต่จริงๆ แล้วเป็นพลาสติก โดยอยู่ถัดจากสล็อต DDR4 DIMM สองช่อง สล็อต DDR4 DIMM ทั้งสองช่องนี้ใช้ DDR4 RDIMM สูงสุด 32GB สำหรับหน่วยความจำทั้งหมด 64GB ซึ่งหากเทียบกับราคาและเทคโนโลยี DDR4 ในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับตอนเปิดตัวครั้งแรก
HPE แก้ปัญหาการรับข้อมูลและการจ่ายให้ไดรฟ์ SATA สองตัวด้วยโซลูชันการใช้สายที่ดีมาก ระบบได้รับการออกแบบมาสำหรับฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 3.5” พร้อมขายึดที่รุ่นที่เราเอามารีวิวนี้ไม่ได้มีมาด้วย และนี่คือหน้าตาระบบพร้อมด้วยไดรฟ์ 3.5”
ส่วนสายเชื่อมแบบ high-density นั้น ใช้สำหรับ NIC ที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งเป็นออพชั่นของระบบพวกนี้ โดย NIC เริ่มจากตรงด้านขวาข้างหน้าของเคสตรงนี้ และพาดอยู่ภายในฝาครอบพลาสติกไปยังด้านตรงข้ามของเคส ถ้านี่เป็นฟอร์มแฟคเตอร์ NIC มาตรฐานทั่วไปเราอาจจะชอบกว่า ไม่ว่าจะเป็น PCIe แบบ low-profile, FlexLOM, OCP NIC 2.0 / 3.0 หรืออะไรทำนองนั้น นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของฟอร์มแฟคเตอร์แบบมาตรฐานที่ช่วยให้ใช้ประโยชน์จากระบบได้เต็มที่กว่า ในทางตรงกันข้าม โซลูชัน Quad-core Supermicro Xeon D-1500 จำนวนมากมีเครือข่าย 4x 1GbE ในตัวหรือ 10GbE ในตัว บวกกับสล็อต PCIe มาตรฐานในราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้ HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus และ MicroServer Gen10 รุ่นเดียวกันตัวอื่นๆ ยังใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ที่มีสล็อต PCIe มาตรฐานสำหรับเป็นส่วนขยายอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีส่วนขยายส่วนอื่นอีก ตรงด้านล่างของระบบ มีสล็อตไดรฟ์ M.2 2280 NVMe ช่วยเพิ่ม SSD ให้กับระบบพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์อีกด้วย ฟีเจอร์อื่นๆ ที่อยู่ตรงด้านล่าง มีตัวเชื่อมต่อที่เก็บข้อมูล โดยปกติจะมีฝาครอบยางเล็กๆ หุ้มไว้ (ดูได้ในวิดีโอ) และเปิดช่องให้เพิ่มส่วนขยายสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอก เราไม่มียูนิตเสริม แต่มันเสียบอยู่ตรงด้านล่างของเคส และใช้ตัวเชื่อมต่อนี้เชื่อมกับช่องใส่ไดรฟ์ SATA 4x เพิ่มเติม ช่องใส่ไดรฟ์เหล่านี้ใช้ถาด Hot-swap มาตรฐาน ซึ่งมักจำหน่ายพร้อมไดรฟ์ 4TB ที่ช่วยเพิ่มความจุของระบบทั้งหมดเป็น ไดรฟ์ 6x SATA III
อีกฟีเจอร์หนึ่งที่เราอยากพูดถึงคือฟีเจอร์การจัดการ ถ้าคุณเคยดูซีรีส์แนะนำ Project TinyMiniMicro ของเรามาแล้ว ก็จะเห็นความทับซ้อนกันบางจุด หนึ่งในตลาดหลักของ EC200a คือตลาดขายปลีก ซึ่งบริษัทอื่นๆ ได้นำโหนด Project TMM มาดัดแปลงสำหรับการขายปลีกด้วยเช่นกัน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วโหนด Project TMM จะใช้ Intel vPro หรือ AMD DASH สำหรับการจัดการ แต่ EC200a จะใช้โซลูชัน iLO4 ที่มีฟีเจอร์มากกว่า ซึ่งเดี๋ยวในส่วนการจัดการ เราจะเจาะประเด็นตรงนี้เต็มๆ
ประเด็นสุดท้ายที่เราอยากเล่าเพื่อปิดท้ายการรีวิวภาพรวมฮาร์ดแวร์เราก็คือ เรื่องรูปลักษณ์และสัมผัส HPE ทำได้ยอดเยี่ยมในการทำให้ภายนอกระบบดูน่าสนใจและเหมือนกับความเป็นแบรนด์ ProLiant ตัวอื่นๆ ด้านในของระบบดูเหมือนมีการเสริมเหล็กทุกที่ ทั้งที่ในความเป็นจริงระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นพลาสติก รวมทั้งตัวเครื่องด้านนอกและพื้นผิวด้านในที่ดูคล้ายโลหะ วิศวกรรมส่วนใหญ่นั้นยอดเยี่ยมภายใน แต่ในส่วนของสัมผัสนั้นให้ความรู้สึกราคาถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับโหนด Project TinyMiniMicro
การกำหนดค่าการทดสอบ HPE EC 200 a
สำหรับโซลูชันของเรา เรามีการกำหนดค่าพื้นฐานที่ค่อนข้างดี:
ระบบ: HPE ProLiant EC200a
ซีพียู: Intel Xeon D-1518 (ออนบอร์ด)
หน่วยความจำ: 2x32GB DDR4-2666 ECC RDIMMs (ทั้งหมด 64GB)
SSD: Intel DC S3700 400GB
ใบอนุญาต iLO: iLO Essentials (มาตรฐาน) iLO Advanced (ได้รับอนุญาต)
นี่ไม่ใช่การกำหนดค่าระบบที่ทรงพลัง เพราะมันมาพร้อมกับ CPU แบบ 4-core/8-thread ที่ใช้พลังงานต่ำ มีพื้นที่ขนาดเล็ก และมีตัวเลือกการขยายที่เป็นกรรมสิทธิ์จำกัดว่าเราจะทำอะไรกับระบบนี้ได้ เราจะสังเกตได้ว่ามีโซลูชัน HPE TM200 ที่คล้ายกันมาก และ TM200 ไม่เพียงแต่มี Xeon D-1518 เท่านั้น แต่ยังมี Xeon D-1537 8 core/16 ส่วนเธรดด้วย
การจัดการของ HPE EC 200a
ออนบอร์ดเราได้รับ HPE iLO 4 Baseboard Management Controller หรือ BMC ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดการ iLO มาตรฐานที่เราสามารถพบในเซิร์ฟเวอร์ HPE อื่นๆ
คุณลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ได้รับจากระบบนี้คืออาร์เรย์สวิตช์ HPE ที่ช่วยให้สามารถทำสิ่งต่างๆ เช่น รีเซ็ตตัวควบคุม iLO แต่ยังทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น สามารถใช้สวิตช์เหล่านี้เพื่อล็อคการกำหนดค่าเพื่อป้องกันการปลอมแปลงของเซิร์ฟเวอร์ ในอุปกรณ์ Edge โซลูชันการรักษาความปลอดภัยประเภทนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากสามารถช่วยป้องกันภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางกายภาพเพิ่มเติมที่ Edge ซึ่งไม่มีอยู่ในศูนย์ข้อมูลได้
รูปลักษณ์และความรู้สึกของตัวควบคุม iLO 4 ของ EC200a นั้นคล้ายคลึงกับข้อเสนอ ProLiant อื่นๆ ดังนั้นผู้ใช้โซลูชันศูนย์ข้อมูล HPE จะคุ้นเคยกับโซลูชันนี้เป็นอย่างมาก
ระบบของเรามีการโหลด iLO 4 Essentials เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งโดยทั่วไป HPE แบ่งกลุ่มเฟิร์มแวร์ของตนออกเป็นระดับต่างๆอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ใช้จำนวนมากของเราจึงต้องการค้นหาผู้ค้าปลีกเพื่อให้สามารถเข้าถึง iLO Advanced ได้ แทนที่จะเป็น iLO Essentials เพื่อให้ได้ฟังก์ชันพื้นฐานบางอย่าง
การใช้พลังงานและเสียงรบกวนของ HPE EC 200 a
หน่วยนี้ใช้พลังงาน 120W จากแหล่งพลังงานภายนอก ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนมากเมื่อพิจารณาจาก SoC 25W ที่ใช้พลังงานต่ำและมีการขยายที่จำกัด เราต้องชี้แจงก่อนว่ามันไม่เหมือนกับ HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus เนื่องจากมันไม่มีคลิปยึดเพื่อให้ PSU ยังคงอยู่ในระบบได้ ด้วยเหตุนี้ จึงอาจมีแนวโน้มที่จะออกมาจากเต้ารับเนื่องจากไม่มีสิ่งใดที่ยึดขั้วต่อได้ สำหรับผู้ที่ได้รับแชสซีส่วนขยาย 4-bay HPE จะอัปเกรดอะแดปเตอร์จ่ายไฟเป็น 180W หน่วย ซึ่งคล้ายกับที่เราเห็นใน MicroServer Gen10 Plus
เสียงรบกวนอยู่ระหว่าง 29dba และ 36dba บนเครื่องวัดเสียง Extech ซึ่งก็ไม่ได้เงียบสนิทและแต่ก็ไม่ดังมากนัก หากคุณมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกับ EC200a ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน
ที่มา: https://bit.ly/3zh7iWP
สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © 2024 บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด
124/124 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2496-1234 โทรสาร 0-2496-1001