รีวิว HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus
รีวิว HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus: บทความนี้จะนำเสนอภาพรวมฮาร์ดแวร์ภายในของ Super HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus
สิ่งหนึ่งที่ช่วย HPE ประหยัดค่าใช้จ่ายใน MicroServer Gen10 Plus คือการใช้แผงวงจร (backplanes) ที่ใช้การต่อเคเบิลแบบตรง โดยในสายเคเบิลเหล่านี้จะหายไปเพื่อที่ต่อไปจะสร้างแบ็คเพลนตัวอย่างที่สามารถใช้งานได้ อย่างไรก็ตามมันยังมีข้อเสียเปรียบอยู่หนึ่งอย่าง คือ มันไม่มีฟังก์ชัน hot-swap ที่สามารถเสียบเข้าหรือถอดออกในขณะที่เซิรฟเวอร์กำลังทำงานอยู่ได้ ดังนั้นหากคุณต้องการติดตั้งไดรฟ์ SATA ใหม่ คุณจำเป็นต้องปิดเครื่องแล้วทำการเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง ซึ่งเราก็คาดหวังว่า HPE จะมีคุณสมบัตินี้ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ edge virtualization ที่การหยุดทำงานจะต้องเกิดขึ้นหากอีกเซิรฟเวอร์กำลังจะให้บริการไดรฟ์
บนแผงวงจรหลัก (Motherboard/Mainboard) HPE ได้ยกเลิก risers และแผงระบายความร้อน (heatsink) เพื่อให้สามารถดูระบบได้ โดยเราจะเห็นได้ว่านี่คือเมนบอร์ดที่มีขนาดกะทัดรัดและมีความจุมาก และคุณสมบัติที่สำคัญของไมโครเซิร์ฟเวอร์นี้คือ ตำแหน่ง (ซ็อกเก็ต) สำหรับติดตั้ง CPU Intel LGA1151 ที่ช่วยให้ HPE สามารถสร้างมาเธอร์บอร์ดเพียงหนึ่งชุด แต่สามารถรองรับได้ทั้งซีพียูราคาประหยัดอย่าง Pentium และ ซีพียู Xeon E-2224 ที่ได้รับการปรับแต่งประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเราจะไม่ลงรายละเอียดลึกถึงตัวเลือกซีพียูทางเลือก แต่จะมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนสำคัญต่างๆในไมโครเซิร์ฟเวอร์นี้ และเราจะพูดถึงประสิทธิภาพของ HPE SKU ทั้งสองในภายหลังในการรีวิวนี้ด้วย
ไมโครเซิร์ฟเวอร์นี้มี 2 สล็อตสำหรับหน่วยความจำ DDR4 DIMM ซึ่งสามารถรองรับแรมแบบ ECC UDIMM ได้ อีกทั้ง HPE ยังสามารถรองรับความจุได้สูงสุด 32 GB ในการกำหนดค่า 2x16GB สำหรับโปรเซสเซอร์ Xeon E-2224 ซึ่งจะได้ระบบปฏิบัติการที่รองรับแรม DDR4-2666 ในขณะที่ Pentium Gold G5420 รองรับแรม DDR4-2400 อย่างไรก็ตามทั้งสองโปรเซสเซอร์นี้สามารถรองรับ DIMM 2 ตัวและหน่วยความจำ ECC, มีซ็อกเก็ตรองรับ DIMM ได้สูงสุด 4 ตัวต่อหนึ่งซ็อกเก็ตในโหมดหน่วยความจำสองช่องสัญญาณ ในขณะที่ HPE ปกติไม่มีพื้นที่ที่ขนาดกะทัดรัดเช่นนี้
พอร์ตอื่นๆที่มีให้ในเซิร์ฟเวอร์นี้คือการรวมกันของ พอร์ต USB 2.0 ประเภท A ภายใน แต่มันจะดียิ่งขึ้นหากเป็น พอร์ต USB 3.0 เพราะจะทำให้สามารถใช้งานได้จริงได้มากยิ่งขึ้นสำหรับสื่อภายใน
แผงระบายความร้อนที่คุณเห็นอาจดูเหมือนซับซ้อน และก็เป็นเช่นนั้นจริงโดยมันเป็นหน่วยระบายความร้อนด้วยท่อระบายความร้อนที่ช่วยระบายความร้อนจากแผงเข้าสู่การไหลเวียนของอากาศของพัดลมแชสซี ซึ่งนี่ถือเป็นการออกแบบที่ดีมาก
ก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึง1GbE สี่พอร์ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลงานจากชิป Intel i350-am4 NIC และยังนับเป็น 1GbE NIC ระดับสูงที่มีมาตั้งแต่ปี 2011 และคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนไปจนถึงปี 2029 ทำให้มันกลายเป็นส่วนที่มีอายุการใช้งานยาวนานมาก โดย NIC บน Intel Ark มีราคาปลีกอยู่ที่ 36.37 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ Intel i210-at เป็นพอร์ตเดี่ยวระดับล่าง NICs จะมีราคาอยู่ที่ 3.20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อตัว และ Realtek NIC มีราคาต่ำกว่าหนึ่งดอลลาร์เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ต้องการจ่ายเยอะ และอย่างที่คุณเห็นว่านี่เป็นพื้นที่ที่ HPE ออกแบบคอนโทรลเลอร์เครือข่ายระดับพรีเมียมซึ่งมีโอกาสมากมายในการลดค่าใช้จ่าย แต่ในขณะเดียวกันเมื่อใช้ i350-am4 HPE คุณก็ยังจะได้รับการสนับสนุนระบบปฏิบัติการที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเราจะเห็นในส่วนของการทดสอบระบบปฏิบัติการของเราในการตรวจสอบครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของเซิร์ฟเวอร์ HPE คือ HPE iLO 5 BMC ซึ่งช่วยให้เราสามารถกำหนดค่าภายในจำนวนมากได้โดยไม่ต้องเริ่มระบบปฏิบัติการ แถมยังทำให้ระบบนี้เป็นเซิร์ฟเวอร์ชั้นยอดที่จัดการได้โดย iLO เช่นเดียวกับเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ทาวเวอร์ HPE ProLiant ML110 Gen10, HPE ProLiant ML350 Gen10, HPE ProLiant DL20 Gen10 และ HPE ProLiant DL325 Gen10 ซึ่งระบบที่มีความแข่งขันสูง อย่างเช่น Dell EMC PowerEdge T40 (การตรวจสอบเกือบสมบูรณ์)กลับไม่มีระบบ BMCs ที่สามารถช่วยบริหารจัดการเชิงรุกสำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าวงจรย่อยของอุปกรณ์แต่ละตู้ Rack ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้
ในส่วนของการขยาย PCIe ผ่านสล็อต PCIe Gen3 x16 ว่าด้วยเรื่องของพลังและการระบายความร้อนของระบบนี้ที่เราจะพูดถึงในส่วนสุดท้ายของการตรวจสอบ เราจึงขอแนะนำว่าสิ่งนี้ไม่เหมาะสำหรับ SmartNIC และ GPU ระดับไฮเอนด์หรือแม้แต่ NVIDIA Tesla T4 เนื่องจาก HPE มีตัวเลือกที่ใช้พลังงานต่ำอย่าง AMD Radeon GPU ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เน้นเอาต์พุตในการแสดงผลมากกว่า
สล็อตด้านบนอาจดูเหมือนสล็อต PCIe x1 ในตอนแรก แต่มันถูกออกแบบมาให้ใช้กับตัวเลือก iLO Enablement Kit ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้คุณเตรียมตัวก่อนหากจะเลือก โดยเราจะเจาะรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าสิ่งนี้มากขึ้นในการตรวจสอบภายหลังนี้
การเชื่อมต่อ SATA ใช้พลังงานจาก Intel PCH ซึ่งอาจดูเหมือนขั้วต่อ SFF-8087 SAS แต่ในที่นี่มันไว้ใช้สำหรับพอร์ต SATA สี่พอร์ต โดยไม่มีพอร์ต SATA เพิ่มเติมหรือส่วนหัว SATADOM บนบอร์ด ซึ่งนั้นหมายความว่าจะไม่มีพอร์ต SATA พิเศษสำหรับบูตไดรฟ์ ซึ่งเราก็หวังว่าจะมีส่วนหัว SATADOM ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่จะช่วยให้สามารถใช้ช่องใส่ไดรฟ์ทั้งสี่ช่องเพื่อจัดเก็บข้อมูลได้
จำนวนขั้วต่อเมนบอร์ดลดลงอย่างมากจากรุ่นก่อนหน้า เพราะ HPE ใช้ตัวเชื่อมต่อแบบกำหนดเองเพื่อส่งพลังงานและข้อมูลไปยังส่วนที่เหลือของแชสซี แต่ในที่นี้ยังยกเว้นสายเคเบิล SFF-8087
โดยรวมแล้วสิ่งนี้ถือเป็นแพ็คเกจฮาร์ดแวร์ที่ยอดเยี่ยมกับ HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus เพราะไม่บ่อยนักที่ HPE จะมีโอกาสคิดค้นและสร้างผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งพวกเราเองก็ชอบที่ HPE เริมมาใช้ฮาร์ดแวร์ไปในทิศทางนี้
ที่มา: https://bit.ly/36VX7df
ช่องทางสั่งซื้อ HPE ProLiant MicroServer Gen10 Plus : https://www.quickserv.co.th/commercial/search/microserver.html
สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © 2024 บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด
124/124 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2496-1234 โทรสาร 0-2496-1001