Please wait...
IT UPDATE ENTERPRISE
รีวิว Lenovo ThinkServer TS460 เซิร์ฟเวอร์ ความลงตัวที่เหนือระดับสำหรับธุรกิจ SME

รีวิว Lenovo ThinkServer TS460 

Lenovo ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบ Big Tower รุ่น ThinkServer TS460 สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยมุ่งเน้นการเติบโตขององค์กรในอนาคต ในวันนี้เราจะมารีวิวประสิทธิภาพและความสามารถของ ThinkServer TS460 



 

 

จุดเด่น 

คุ้มค่า, SATA / SAS-3 ฮาร์ดดิสก์, ทำงานได้อย่างเงียบสนิท, มีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวสูง, ประหยัดพลังงาน  

จุดด้อย

มีฟีเจอร์ด้านการจัดการที่จำกัด

 

ผลสรุปโดยรวม

โดยทั่วไปแล้ว ฟีเจอร์ด้านการจัดการจากระยะไกลจัดว่าเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่ควรมี แต่สำหรับ Lenovo ThinkServer TS460 นับว่าเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่เหมาะกับธุรกิจ SMB ที่ ต้องการพื้นที่สำหรับการต่อเติมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่าง Xeon E3-1200 v6
 
เหล่า SMB ที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ต่างก็กำลังมองหาเซิร์ฟเวอร์แบบ Tower ที่จะสามารถทำงานร่วมกับพวกเขาได้ ซึ่งจะพบว่า ThinkServer TS460 ของ Lenovo นั้นสามารถที่จะเป็นพันธมิตรที่ดี ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Xeon E3-1200 v6 ล่าสุดของ Intel ที่ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับการขยายตัวในอนาคตและมีตัวเลือกในการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย
 
เพียงต้องอัพเกรด BIOS เพื่อทำงานกับชิปเซ็ต C232 ซึ่ง Think Server TS460 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับตระกูล CPU รุ่นใหม่ที่มีความเร็วพื้นฐานตั้งแต่ 3GHz up จนถึง 3.9GHz นอกจากนี้ ทุกรุ่นยังมีจำนวน CPU Core อยู่ที่ 4 Core, แคชระดับที่ 3 (L3 Cache) ขนาด 8MB เหมือนกันหมด และสนับสนุนหน่วยความจำ DDR4 แบบ ECC ที่ความเร็ว 2400 MHz
 
จากราคาที่เราได้แสดงให้เห็น นั่นก็คือราคามาตรฐานที่ซื้อขายกันทั่วไปโดยประมาณ (ESP) ของ Lenovo สำหรับรุ่น 70TT003XEA ซึ่งปรับใช้ Xeon E3-1200 v6 ความถี่ 3GHz และ 8GB 2400MHz DDR4 แบบ ECC โดยราคาของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์โดยตรง (End-user) ย่อมจะมีราคาที่ต่ำกว่ามาก อย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับประกันแบบ On-site ที่ให้บริการถึง 3 ปี
 

การออกแบบและความปลอดภัย

นับว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ Tower ขนาด 4U ซึ่งมี Chassis ที่ถูกสร้างขึ้นไว้อย่างแน่นหนา โดยมีแผงด้านข้างของเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถล็อคกุญแจหรือเพิ่มการรักษาความปลอดภัยได้ด้วย Kensington Lock และที่มากไปกว่านั้นประตูด้านหน้าสามารถปิดล็อคกุญแจ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้แผงด้านข้างถูกนำออกไปได้ และยังช่วยป้องกันปุ่มเปิด/ปิด และช่องใส่ไดร์ฟที่อยู่ภายในได้เป็นอย่างดี

 
ราคานี้ยังรวมถึง DVD-RW drive, ที่ปล่อยว่างไว้1 bay เพื่อให้คุณสามารถอัพเกรดได้อย่างอิสระ ยกตัวอย่างเช่นกล่อง Internal USB RDX หรืออุปกรณ์อย่าง LTO-6 SAS Tape ซึ่งทำหน้าที่เป็น Tape Backup ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ คุณสามารถเชื่อมต่อโดยใช้พอร์ต Internal USB 2.0 ได้ ในขณะที่ระยะหลังจำเป็นต้องใช้การ์ด RAID 520i โดยเฉพาะ ในการเชื่อมต่อ
 
พอร์ต USB 3.0 ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในส่วนของด้านหน้าและด้านหลัง, ฟีเจอร์ทางด้านการรักษาความปลอดภัย (Smart Security Feature) แต่ละอันสามารถเปิดหรือปิดการใช้งานได้ โดยการไปที่หน้า BIOS Setup นอกจากนี้ยังมีพอร์ต VGA มาตรฐาน ซึ่งเป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพที่ด้านหลัง แต่ ThinkServer TS460 ไม่มีพอร์ตการเชื่อมต่อ DisplayPort ที่มีเครื่องหมายการค้า (Trademark) ของ Lenovo ซึ่งมันก็ไม่ใช่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในมุมมองของเรา
 
ภายในของ ThinkServer TS460 ทุกอย่างมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบและเรียบร้อย ทั้งนี้ก็เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับการอัพเกรดและการบำรุงรักษา เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบปราศจากการใช้เครื่องมือ (Tool-Free) ในการติดตั้ง ดังนั้น Adapter Card และส่วนประกอบภายในส่วนใหญ่จึงสามารถเพิ่มหรือนำออกได้โดยไม่ต้องใช้ไขควง
 



 

ขนาดความจุของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

Lenovo ThinkServer TS460 นั้นมีระบบการนำเข้าข้อมูลที่สามารถทำได้โดย ช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟ LFF แบบ NHS (non-hot swap) แบบ 4 ช่อง ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับพอร์ต SATA จำนวน 4 พอร์ตที่เป็นของเมนบอร์ด ซึ่งพอร์ตเหล่านี้ต่างก็เชื่อมโยงด้วย SR 121i RAID controller แบบฝังตัว ซึ่งสนับสนุน Mirror, Stripes และ RAID 5 arrays
 
ในส่วนของชุดอุปกรณ์เสริมที่เลอโนโวเสนอให้มากมาย, ด้วยการเพิ่มช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟ LFF ชุดที่สอง ซึ่งเป็นแบบ Hot Swap แบบ 4 ช่อง เป็นครั้งแรก นอกจากนี้คุณยังจะต้องใช้การ์ด SAS / SATA RAID อย่างใดอย่างหนึ่งของ Lenovo พร้อมกับรูปแบบ RAID 520i พื้นฐานที่สนับสนุนทั้งแบบ Stripe และ Mirror ซึ่งจำเป็นต้องใช้ Upgrade Key สำหรับ RAID-5 และ RAID-50
 
ระบบที่พวกเราได้ทำการตรวจสอบคือเวอร์ชัน 8-bay SFF SAS3 แบบ Hot Swap ซึ่ง Backplane Cage ของมันมีการเชื่อมต่อกับการ์ด RAID 520i PCI-Express card โดยที่คุณสามารถอัพเกรดเป็นแบบ 16 SFF bays นอกจากนี้ยังสามารถเลือกในรูปแบบที่มีการผสมผสานระหว่าง Cage แบบ 4-bay LFF กับ Cage แบบ 8-bay SFF อย่างละ 1 ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับ Lenovo ThinkServer TS460 ในการเริ่มต้นธรุกิจ SMB


ที่มา: 
www.itpro.co.uk
 
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์