Dell Optiplex 5060 เป็นTower ขนาดกะทัดรัดที่เรากำลังจะพูดถึงในวันนี้ แม้ว่ามันจะไม่ได้มีคุณสมบัติที่มีลูกเล่นแพวพราว แต่มันก็เป็น PC ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางใจกับความสามารถในการทำงานของมันได้ในทุกๆ วัน
ตัวเครื่องประกอบไปด้วย CPU ที่มากด้วยประสิทธิภาพ พร้อมพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบ Small Form Factor แต่มันก็ยังสามารถอัพเกรดอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เพื่อเป็นการตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าที่หลากหลายและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
คุณภาพของลำโพงค่อนข้างต่ำ (Low quality) ทั้งยังไม่มีในส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ (Peripheral) ก็ดูจะธรรมดาเกินไป
การใช้งาน Dell Optiplex 5060 ก็ไม่ได้ทำให้หลายๆ คนรู้สึกทึ่งในเรื่องของประสิทธิภาพและฮาร์ดแวร์อย่างที่ได้มีการโฆษณาเอาไว้ แต่มันก็ยังจัดว่าเร็วพอที่จะนำไปใช้กับงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้มันยังมีตัวช่วยอย่าง Intel Optane Memory ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพียงตัวเดียวของมัน ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
หลายๆ คนอาจจะหน้าคุ้นตากันบ้างแล้วสำหรับ Dell Optiplex ซึ่งเป็นเดสก์ท็อประดับอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างภายนอกเหมือนกล่อง ให้ความน่าเชื่อถือและความคงทนตามแบบฉบับของเดสก์ท็อปสำนักงานที่มีชื่อเสียงที่สุดเท่าที่จะจินตนาการออกมาได้ อย่างไรก็ตาม หาก Dell Optiplex 5060 มีการบ่งบอกใดๆ ถึงระบบที่ต้องมีการปรับใช้จำนวนมากเพื่อที่จะช่วยมันให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานได้ ความตั้งใจนี้ก็จะไม่ทำให้ใครหลายๆ คนต้องผิดหวัง
ณ จุดนี้ เรากำลังทำการทดสอบ Dell Optiplex 5060 ในเวอร์ชั่นที่เรียกว่า Small Form Factor (SFF) นอกจากนี้ยังมีรุ่น Tower ที่มีขนาดใหญ่กว่า และยังมีในส่วนของ OptiPlex 5060 Micro ที่เป็นรุ่นจิ๋ว แต่รุ่นหลังนี้ดูเหมือนว่าจะมีการเสียสละการเชื่อมต่อ รวมทั้งต้องขึ้นอยู่กับชิปเซต Intel T-series ซึ่งเป็นรุ่นที่ประหยัดพลังงาน ส่วนรุ่นที่มีรูปแบบ SFF นี้ ก็มีการนำเสนอความน่าสนใจที่ไม่แพ้กันระหว่างฟังก์ชั่นการทำงาน (Functionality) และความเพรียวบาง (Slimness)
ด้วยรูปร่างที่เพรียวบางของ Dell Optiplex 5060 ที่มีความกว้างเพียง 9.3 ซม. สูง 29.2 ซม. และลึก 29 ซม. ดังนั้น มันจึงสะดวกและง่ายต่อการจัดเก็บ ด้วยขาตั้งจอภาพ (Monitor Stand) ที่ Dell ได้มีการผลิตออกมานั้นก็ค่อนข้างที่จะประหลาดพอสมควร ซึ่งเป็นการติดตั้งแบบ Built-in สำหรับพีซีรุ่นนี้ และยังรวมถึงพีซี Optiplex รุ่นอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แต่หากคุณไม่ชอบการจัดวางในแบบดังกล่าว ก็สามารถปรับให้ตัวเครื่องอยู่ในสภาพที่นอนตะแคงและวางจอภาพไว้ด้านบนได้เช่นกัน เนื่องจากมันมีชุดของ Rubber Feet ที่ติดอยู่ที่แผงด้านขวาและด้านล่างของตัวเครื่อง
หากพูดถึงเรื่องของความงาม มันออกจะดูจืดชืดเช่นเดียวกับที่เคยมีมา แต่รูปลักษณ์มันก็ไม่เคยเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในเชิงธุรกิจของ Dell แต่อย่างน้อยมันก็ยังฉลาดพอที่จะมีรูเล็กๆ เกือบทั่วทั้งแผงที่อยู่ด้านหน้า เพราะรูเหล่านี้จะช่วยในการระบายความร้อน ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Chassis ขนาดเล็กนั้นจะมีพื้นที่สำหรับการถ่ายเทของอากาศไม่ดีนัก ขณะเดียวกันนั้น ระบบที่ช่วยในการระบายความร้อนให้แก่ CPU ก็ถูกปิดล้อมไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ดังนั้นอากาศร้อนที่เกิดขึ้นจึงถูกส่งออกไปทางด้านหลังโดยตรง และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการจัดการที่ชาญฉลาดของ Dell
นอกจากนี้ แผนกไอทียังจะต้องรู้สึกประทับใจกับวิธีการเข้าถึงโครงสร้างภายในของ Dell Optiplex 5060 ที่สามารถทำได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ต้องมีการถอดแยกชิ้นส่วน เพียงแค่ปลดล็อคที่ด้านหลังของตัวเครื่องโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย (Tool-less) ซึ่งเมื่อเปิดฝาครอบด้านข้างออกแล้ว ก็สามารถที่จะดึงแผงด้านหน้าออกมาได้ ด้วยการถอดสลักเพียงไม่กี่จุดเท่านั้น
ยูนิตที่เราทำการตรวจสอบนั้นประกอบไปด้วย Intel Core i5-8500 ซึ่งเป็น CPU ที่มีแกนประมวลผลมากถึง 6 Core (Hexa-core) โดยมีสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน (Base Clock) อยู่ที่ 3 GHz และสามารถทำความเร็ว Boost Clock ที่ 4.1GHz พร้อมด้วยหน่วยความจำ DDR4 ขนาด 8GB นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชั่นที่มีหน่วยความจำขนาด 4GB วางจำหน่ายด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามสเปคอื่นๆ ของ Dell Optiplex 5060 ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ต่างกันในส่วนของ CPU ที่มี Intel Core i5-8500 เป็นตัวเลือกหลัก
นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีของ Dell Optiplex 5060 สำหรับการเลือกใช้ Intel Core i5-8500 เนื่องจากว่า มันเป็นชิป (Chip) ที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งยังสร้างความประทับใจด้วยคะแนนในระดับกลางๆ (Mid-range) จากการวัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐานอย่าง Geekbench 4 ยกตัวอย่าง เช่น มันสามารถขับเคลื่อนการทำงานของ Dell Optiplex 5060 ให้ทำคะแนนได้ถึง 5,018 ในการทดสอบแบบ Single-core และทำคะแนนได้สูงถึง 19,383 ในการทดสอบแบบ Multicore นอกจากนี้เรายังได้เปลี่ยนไปใช้การทดสอบที่ความละเอียด 4K ซึ่งเป็นมาตรฐาน (Benchmark) ของเรา โดยพบว่ามันสามารถทำคะแนนได้ที่ 111 จากการทำ Image Test ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีพอสมควร แต่ก็ยังไม่ถึงกับดีเยี่ยม – แต่คะแนนจากการทำ Video Test นั้นทำได้ที่ 173 คะแนน และ 160 คะแนนจากการทดสอบการทำงานแบบ Multitasking เป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพจากจำนวนคอร์ที่เพิ่มขึ้นอีก 2 คอร์ สำหรับ Intel Core i5 เจนเนอเรชั่น 8 โดยรวมแล้วระบบสามารถทำคะแนนได้ที่ 156 คะแนน ซึ่งก็เป็นผลคะแนนใกล้เคียงกับที่คุณจะได้รับจากการทดสอบระบบของ Core i7-7700 ที่มีแกนประมวลผล 4 Core
ความจริงแล้ว ก่อนหน้านี้ชิปประมวลผลอย่าง Core i7 และ AMD Ryzen ก็ตั้งใจที่จะทำออกมาให้มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า i5-8500 ในสภาพภาระงานแบบมัลติเธรด (Multithread) ที่หนักที่สุด อย่างไรก็ตาม Dell Optiplex 5060 ก็ยังคงรักษาพื้นที่ตรงกลางระหว่างมุมมองที่เห็นต่าง (Middle Ground) ได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะมีซอฟต์แวร์ที่เป็นที่ต้องการน้อยกว่า แต่มันก็ยังสามารถทำงานได้ราบรื่นกว่า บนพีซีระดับ Lower-end
โดยปกติแล้ว เราค่อนข้างไม่แน่ใจกับพีซีที่มีเพียงฮาร์ดดิสก์ ขนาด 500GB เป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลหลัก เนื่องจากความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำของ Mechanical Drives มักจะถูกชดเชยด้วยความจุที่เพิ่มมากขึ้น แต่มันกลับมีขนาดความจุเพียงแค่ 500GB ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในขนาดที่เล็กที่สุดของ HDD ขนาด 3.5 นิ้ว แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะมีเพียงวิธีเดียวที่จะสามารถอัพเกรดความจุได้ก็คือการแทนที่ไดร์ฟทั้งหมด หรือเพียงแค่ซื้อสเปคที่แตกต่างไปจากนี้ ซึ่งในส่วนของ Dell Optiplex 5060 รุ่นที่เราทำการตรวจสอบนี้ ผู้ผลิตเองก็พยายามที่จะจัดการกับปัญหาด้านความเร็วนี้ ด้วยการเพิ่ม Intel Optane Memory เข้าไป
ในส่วนของการติดตั้งนั้นจะเป็นการใช้ Slot M.2 บน Mainboard ซึ่ง Intel Optane Memory จะเป็นตัวช่วยเร่งความเร็วในการอ่านให้กับฮาร์ดดิสก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้บู๊ตและโหลดซอฟต์แวร์ได้เร็วขึ้น อันที่จริงแล้ว ผลจากการทดสอบ AS SSD Benchmark ของเราพบว่า การใส่ฮาร์ดดิสก์ที่เป็นตัวเร่งความเร็ว (Accelerate) จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ SSD แบบ SATA ด้วยความเร็วในการอ่านอย่างต่อเนื่องที่ 859.6MB / วินาที
แต่ข่าวร้ายก็คือ หาก Optane มีผลต่อความเร็วในการเขียนข้อมูล ในทางปฏิบัติมันก็แทบจะสังเกตไม่เห็นถึงความแตกต่าง เพราะผลจากการทดสอบ AS SSD ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันนั้น เราบันทึกความเร็วในการเขียนแบบต่อเนื่องได้เพียง 77.9MB/วินาที ซึ่งมีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับผลลัพธ์ที่เราคาดไว้จากฮาร์ดดิสก์แบบสแตนด์อโลน อย่างไรก็ตามความเร็วในการอ่านที่เร็วกว่าปกติก็ยังคงให้ผลลัพธ์ที่ราบรื่นกว่า แต่ก็คงอดคาดหวังไม่ได้ว่าสล็อต M.2 นั้นจะถูกแทนที่ด้วยSSD ที่เหมาะสมกว่านี้ ในฐานะที่มันจะต้องเป็นไดร์ฟหลักที่จะต้องลง Windows รวมทั้งขนาดความจุ 500GB ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำรอง ด้วยเช่นกัน
นอกเหนือจากซีพียูและการออกแบบที่กะทัดรัดแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของ Dell นั่นก็คือพอร์ต USB จำนวนมากที่มาพร้อมกับ Dell Optiplex 5060 ขณะที่บริเวณแผงด้านหน้าเพียงอย่างเดียวก็ยังมีพอร์ต USB 2.0 ถึงสองพอร์ต, พอร์ต USB 3.1 Gen 1 (USB 3.0) ที่เร็วกว่าอีกหนึ่งพอร์ต แล้วยังมีพอร์ต USB Type-C ที่มีหัวแบบ Reversible อีกหนึ่งพอร์ต ขณะเดียวกัน ที่แผง I/O Panel ที่อยู่ด้านหลังของตัวเครื่องก็ยังรองรับการขยายระบบด้วยพอร์ต USB 2.0 จำนวนสองพอร์ตและพอร์ต USB 3.1 Gen 1 ที่มีมากถึงสี่พอร์ต ซึ่งถ้าเป็นพีซีขนาดกะทัดรัดแล้ว ก็จัดว่าค่อนข้างเยอะ เลยทีเดียว
สำหรับพอร์ต DisplayPort Output ที่มีเพียงสองพอร์ตสำหรับวิดีโอ ทั้งยังไม่มีในส่วนของ HDMI อย่างไรก็ดี ที่ได้มานี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการแสดงผลแบบ Multiple Monitors และยังมีตัวเลือกพิเศษที่สามารถปรับเปลี่ยนบางอย่างได้ เช่น Slimline DVD R/W Drive ซึ่งอยู่ที่แผงด้านหน้า สำหรับ Dell Optiplex 5060 รุ่นที่เรานำมาตรวจสอบนั้น ยังมีตัวเลือกสำหรับ SD Card Reader ซึ่งในส่วนของสล็อตเองก็ยังถูกปิดไว้อยู่ เราพบว่ามันอยู่ในตัวเลือกเพิ่มเติม ทั้งๆ ที่มันควรจะจัดรวมอยู่ในอุปกรณ์มาตรฐาน
หากพูดถึงตัวเลือกเพิ่มเติมอื่นๆ สำหรับ Dell Optiplex 5060 นั้น มีขอบเขตสำหรับการอัพเกรดภายในที่มากกว่าพีซีในรูปแบบ SFF ที่เราเคยเห็น โดยสล็อตในรูปแบบของ PCI-e x4 และ x16 ที่ยังว่างอยู่นั้น ยังเปิดโอกาสให้คุณสามารถเพิ่ม Wi-Fi, Sound Card หรือ Graphics Card โดยมีเงื่อนไขว่า พวกมันจะต้องเป็นแบบ Low-Profile และสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบ SFF และมีเพียงสองในสี่ของสล็อต RAM เท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ในกรณีที่ต้องการ Memory เพิ่มขึ้น ก็สามารถติดตั้งหน่วยความจำเพิ่มได้สูงสุดถึง 64GB โดยข้อจำกัดที่สำคัญเพียงอย่างเดียวก็คือ ช่องใส่ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว ที่มีอยู่เพียงช่องเดียวนั้น มันเป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณไม่สามารถเพิ่มฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองได้
หากคุณต้องทำงานด้วยงบประมาณที่จำกัด ในส่วนของคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ นั้น ก็ถือว่าพอใช้ได้ แต่หากคุณคิดที่จะอัพเกรด มันก็ถือว่าเป็นการอัพเกรดที่แสนคุ้มค่าเลยทีเดียว แม้แต่ลำโพงแบบอินทิเกรต (Integrated Speaker) ก็เช่นกันและถึงแม้ว่าการรวมเข้าด้วยกันมันจะเป็นความสะดวกแค่ไหน แต่หากนำมาใช้กับชุดหูฟัง (Headset) เสียงที่ได้ยินจะทำให้รู้สึกว่ามันดูกลวงและแย่เกินไป ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจสำหรับของแถมอย่างเมาส์และคีย์บอร์ดแบบมีสายที่ดูคล้ายกับพลาสติกที่มีราคาค่อนข้างถูก
อย่างไรก็ตามในส่วนของพีซีเองนั้น Dell Optiplex 5060 ทำหน้าที่ได้ดีสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไปในสำนักงาน ซึ่งโปรเซสเซอร์แบบ 6 Core ของมัน จะช่วยให้คุณมั่นใจกับการทำงานแบบ Multitasking โดยไม่มีสะดุด มันจะตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานของคุณแบบเงียบๆ โดยไม่มีเสียงดังรบกวน รวมถึงความจุฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเล็ก ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวกับการท่องเว็บหรือเป็นงานที่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มากกว่างานประเภทที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ไข Media และแน่นอนว่า ใครก็ตามที่ต้องทำงานเกี่ยวกับไฟล์ประเภทที่เป็นรูปภาพและวิดีโอจำนวนมากนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่านี้ ด้วยพีซีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและแตกต่างจากรุ่นที่เราทำการทดสอบนี้โดยสิ้นเชิง แต่สำหรับคนอื่นๆ ที่ใช้งานโดยทั่วไปนั้น Dell Optiplex 5060 จะช่วยให้งานประจำวันดำเนินไปด้วยความราบรื่นขึ้น
ดูสินค้าเพิ่มเติม : https://bit.ly/2XAjmy8