1726202978.png
1731393918.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : เพื่อนคู่หูทางธุรกิจ
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : เพื่อนคู่หูทางธุรกิจ ที่ช่วยตอบโจทย์ด้านการใช้งานได้อย่างครอบคลุม
ThinkPad X390 รุ่นนี้ เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างประสิทธิภาพและฟังก์ชันการทำงานที่ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมจากการตรวจสอบพบว่า
ข้อดี
มันเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยม โดยมาพร้อมกับพอร์ตจำนวนมากที่มีให้คุณได้เลือกใช้งาน รวมถึงเงื่อนไขการรับประกัน (Warranty) ในขอบเขตที่กว้างขึ้น และที่สำคัญราคาของมันดีมากๆ
ข้อเสีย
เราค่อนข้างที่จะผิดหวังเกี่ยวกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ นอกจากนี้การจัดวางปุ่มฟังก์ชั่น (Fn)บนแป้นพิมพ์ก็ยังสร้างความหงุดหงิดให้กับเราไม่น้อยเลยทีเดียว
สรุป
ThinkPad X390 จัดเป็นอีกหนึ่งรายการที่น่าเชื่อถือในตระกูลThinkPad ที่มีชื่อเสียงของ Lenovo นั่นเป็นเพราะความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพการทำงานและฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยสร้างความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ก็เป็นเพียงแค่จุดอ่อนเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเทียบกับคู่แข่งบางราย แต่โดยรวมแล้วองค์ประกอบอื่นๆ นั้น ถือว่าให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว
มันคงจะเป็นวันที่ดีแน่นอนเมื่อมี ThinkPad เครื่องใหม่เข้ามาในสำนักงาน นั่นเป็นเพราะ ThinkPad เป็นตระกูลที่ขึ้นชื่อในด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือมาอย่างยาวนาน ซึ่งการมาถึงของรุ่นใหม่ๆ โดยทั่วไปแล้วก็หมายหมายความว่า เราจะได้ใช้เวลาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้ากับอุปกรณ์ที่แข็งแกร่งและมากด้วยความสามารถในหลายๆ ด้าน ซึ่งก็คงไม่ผิดอะไรที่จะกล่าวว่า ThinkPad X390 ของ Lenovoก็เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้หลายๆ อย่าง แต่ถ้ามันจะทำได้ดีเหมือนกับเพื่อนที่มาจากค่ายเดียวกันแล้วล่ะก็ นั่นก็คงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไรแน่นอน
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : ด้านการออกแบบ
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่คุ้นเคยกับตระกูล ThinkPadคุณอาจจะรับรู้ได้ว่านั่นคือ ThinkPad X390 จากการมองเห็น เพราะการออกแบบของตระกูลนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานหลายปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะรูปลักษณ์ของมันค่อนข้างคลาสสิกและยังมีลักษณะเด่นอย่างที่เราเคยเห็นเป็นปกติ ตั้งแต่ TrackPoint สีแดงที่อยู่ตรงกลางของแป้นพิมพ์ไปจนถึงแสงสว่างที่อยู่บนจุดของตัว "i" บนโลโก้ ThinkPad นอกจากนี้มันยังดูบอบบางและเรียบง่าย ด้วยคุณภาพในการผลิตที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นมืออาชีพ แม้ว่าโครงสร้างภายนอกจะทำด้วยพลาสติก แต่มันก็ยังดูดีได้ด้วยการเคลือบสีดำด้าน (Matte-Black)
คุณสมบัติดั้งเดิมอีกหนึ่งอย่างของซีรีย์นี้ก็คือ การเข้าถึงที่เอื้ออำนวยให้กับอุปกรณ์ภายในของมันเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา ซึ่ง ThinkPad X390 นั้นสามารถถอดประกอบได้ด้วยไขควงแบบแฉก และนี่ก็ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ล้ำค่าสำหรับแผนกไอที ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขาสามารถทำการวินิจฉัยฮาร์ดแวร์ขั้นพื้นฐาน, การซ่อมแซมและการอัพเกรดได้อย่างง่ายดาย แบบ On-Site โดยที่ไม่ต้องส่งแล็ปท็อปกลับไปยังบริษัทผู้ผลิตเพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สำคัญ อย่างเช่น ในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของฮาร์ดดิสก์ (Hard Drive Failure) อย่างไรก็ตาม หน่วยความจำของมันถูกบัดกรีไว้กับเมนบอร์ด ดังนั้นคุณคงต้องลืมเรื่องเกี่ยวกับการอัพเกรดหรือการแทนที่ไปได้เลย
มันค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คแบบ Ultraportableที่บางเบาอย่าง HP Specter Folio 13 หรือ Acer Swift 7 ด้วยความหนาที่ 17 มม. และน้ำหนักเริ่มต้นที่ 1.22 กก. อย่างไรก็ตามน้ำหนักส่วนเกินที่ทำให้มันใหญ่ขึ้นนี้ ก็เพื่อการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้มันสามารถบรรจุพัดลมระบายความร้อนได้อย่างเหมาะสม และยังรวมถึงพอร์ตที่ครอบคลุมการใช้งานที่มากกว่า ซึ่งเราจะพูดถึงเพิ่มเติมในภายหลัง
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : คีย์บอร์ดและแทร็คแพด
Lenovo เองก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากมายเกี่ยวกับการทำงานของคีย์บอร์ดและแทร็คแพด เช่นเดียวกับการออกแบบ ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะคีย์บอร์ดเรืองแสงของ ThinkPadก็ยังคงเป็นหนึ่งในคีย์บอร์ดที่ดีที่สุดและตอบสนองได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ Feedback, ระยะห่างระหว่างปุ่มกด (Key Spacing), ระยะของปุ่มที่เลื่อนลง (Travel Depth) และการตอบสนองของปุ่มกด (Responsiveness) ซึ่งก็ถือว่าทำได้ดีพอๆ กับ Surface Laptop ของ Microsoft และ Apple MacBook Pro ในเรื่องของการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจ
ปุ่มฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่สองอย่างในปุ่มเดียว จะช่วยเพิ่มการควบคุมที่มีประโยชน์สำหรับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง, ความสว่างของหน้าจอและบลูทูธที่แตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ง ThinkPad X390 ก็ไม่ได้หลอกลวงเราด้วยปุ่มลูกศรซ้ายและขวาที่มีความสูงเพียงครึ่งเดียวเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับปุ่มPage Up และ Page Down เท่านั้น แต่โชคไม่ดีที่มันยังมีขนาดเล็กอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ดีๆ แย่ลงไปอีก นั่นก็คือ ปุ่ม "Fn"
ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ทำให้สับสนหนักขึ้นไปอีก นั่นก็คือ Lenovoได้สลับตำแหน่งของปุ่ม Ctrl ที่อยู่ทางด้านซ้ายกับปุ่มFn นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นำเราไปสู่ช่วงเวลาแห่งความหงุดหงิด เมื่อความเคยชินในการเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า Muscle Memory ทำให้เรากดปุ่มผิด ในขณะที่เราพยายามจะใช้แป้นพิมพ์ลัด ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับมันมาซักระยะหนึ่งแล้ว แต่มันก็เป็นความน่ารำคาญที่ไม่จำเป็นและไร้สาระสำหรับเรา
โชคดีที่ Trackpad ยังคงไม่ได้ถูกรบกวน แถมยังใช้งานได้อย่างราบรื่นและตอบสนองได้ดีเช่นเคย ในส่วนของปุ่ม Physical Mouse ที่เป็นเครื่องหมายการค้า (Trademark) ก็กลับมาอีกครั้ง ในตำแหน่งเดิม ซึ่งจะอยู่ระหว่างแทร็คแพดกับคีย์บอร์ด เพื่อเป็นการเอาใจสำหรับผู้ที่ชอบเลย์เอาต์แบบดั้งเดิม
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : จอแสดงผล
หน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว ของ ThinkPad X390 นั้น เป็นจอแบบ IPS ที่มีความละเอียดในระดับ 1080p พร้อมด้วยหน้าจอ Anti-Glare ที่ผ่านการเคลือบผิว ทำให้สามารถลดผลกระทบของแสงสะท้อนได้ นอกจากนี้ยังมีให้เลือกสำหรับหน้าจอแบบสัมผัส แต่เนื่องจากว่ามันไม่ใช่แล็ปท็อปแบบที่พับหน้าจอได้ (Convertible Laptop) นี่จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะซ้ำซ้อนมากเกินไป อีกทั้งมันยังเป็นพาเนล (Panel)ที่มีความสามารถทางเทคนิค ที่ให้ความสว่างสูงสุดที่ 327cd/m2ซึ่งก็จัดว่ามากเกินพอที่จะรับมือกับสภาพของแสงในชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนความสามารถในการแสดงผลค่าสีที่ครอบคลุมมาตรฐาน sRGB ที่88%
อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ดีเทียบเท่ากับ MacBook Pro หรือ Dell XPS 13ที่หรูหราซะทีเดียว เนื่องจากสีเขียวมีความอิ่มตัวของสี (Undersaturated) น้อยไปนิด ส่วนสีแดงและสีม่วงก็มีความอิ่มตัวของสีที่ค่อนข้างน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วความแม่นยำของสีก็ยังจัดว่าอยู่ในระดับที่ดี
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : รายละเอียดต่างๆ และประสิทธิภาพการทำงาน
ในฐานะที่เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับใช้งานในองค์กร (Enterprise-Class) ThinkPad X390 จึงประกอบไปด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งก็รวมถึงโปรเซสเซอร์ Intel เจนเนอเรชั่น 8 และหน่วยความจำ (RAM) สูงสุดที่ 32GB โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โมเดลตัวที่เราได้ทำการตรวจสอบนั้นได้รับการติดตั้งด้วย โปรเซสเซอร์ Intel Core i7-8565U และ RAM ขนาด 16GB ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสเปคระดับไฮเอนด์ (High-End)ที่มากด้วยประสิทธิภาพ อย่างไม่ต้องสงสัย
เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้ว และมันก็สามารถทำคะแนนโดยรวมได้ที่ 83 คะแนน จากการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานของเรา ซึ่งก็ถือว่าเป็นคะแนนที่ทำได้ใกล้เคียงกับ HP Spectre x360 13 (รุ่นล่าสุด ปี 2019) และยังคงเป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้จากแล็ปท็อปที่มีการกำหนดค่าประมาณนี้ โดย ThinkPad สามารถทำคะแนนได้สูงกว่าเล็กน้อย แต่เราจะเพิ่มในส่วนของการจัดสรร RAM ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มในส่วนของการทดสอบแบบมัลติทาสกิ้ง และผลที่ได้ก็คือ Dell XPS 13 สามารถทำคะแนนนำทั้งสองรุ่นอยู่เล็กน้อย ด้วยคะแนนรวมที่ 96คะแนน แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การสร้างความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดสำหรับอุปกรณ์ของ Dellก็คือ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ (Battery Life) ในขณะที่ ThinkPad X390 สามารถใช้งานได้ยาวนาน 7ชั่วโมง 37 นาที ในการทดสอบแบตเตอรี่ของเรา แต่ Dell XPS 13 กลับใช้งานได้ยาวนานกว่าเกือบสามชั่วโมง นั่นคือการยกระดับความสามารถที่เหนือกว่าอุปกรณ์ของ Lenovo อย่างมีนัยสำคัญ และถึงแม้ว่าคะแนนของ ThinkPad จะไม่ได้ดูแย่ แต่โปรดจำไว้เสมอว่าความแตกต่างนั้นเป็นสิ่งที่เราควรจะนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้ามองกันในแง่บวก มันก็ยังมีความสามารถในการชาร์จแบตเตอรี่ให้ได้ปริมาณไฟที่มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง (Fast-Charging) ดังนั้น คุณจึงสามารถเติมพลังให้กลับมาสำรองข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอีกครั้ง
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : พอร์ตและคุณฟีเจอร์ต่างๆ
โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่จะช่วยแยกแล็ปท็อปที่ใช้ในระดับองค์กร (Enterprise)ออกจากแล็ปท็อปที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับผู้บริโภคโดยทั่วไปเป็นหลัก (Customer-Oriented) ก็คือ รายการของคุณสมบัติต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ (Business-Friendly) และการมีตัวเลือกของพอร์ตที่เพียงพอนั้นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้ใช้งานในเชิงธุรกิจ ต่างก็ต้องการความคล่องตัวในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย และ ThinkPad X360 เองก็สามารถรองรับอุปกรณ์ดังกล่าวด้วยตัวเลือกที่มีมากมาย เพราะสิ่งที่คุณจะได้รับก็คือ พอร์ต USB 3.1 แบบ Full-Sizedจำนวน 2 พอร์ต (หนึ่งในนั้นก็ยังสามารถส่งพลังงานให้ได้อีกด้วย) นอกจากนี้คุณยังจะได้รับพอร์ต HDMI, พอร์ต Thunderbolt 3 และพอร์ต USB-C แยกต่างหากสำหรับการชาร์จและเชื่อมต่อกับExternal Docks
นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ด (Smart Card Reader) แบบ Inbuilt และพอร์ตอีเธอร์เน็ต (Ethernet) แม้ว่าตัวหลังนี้จะต้องใช้อะแดปเตอร์แยกต่างหาก ส่วนที่จะช่วยทำให้รายการสมบูรณ์แบบมากขึ้น นั่นก็คือ พอร์ตขนาด 3.5มม. และเครื่องอ่านการ์ดที่รองรับทั้ง MicroSDและถาดซิม (SIM Tray) ซึ่งช่วยให้สามารถเปิดใช้งานการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี4G LTE นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลงชื่อเข้าใช้ด้วยใบหน้า (Facial) หรือลายนิ้วมือ (Fingerprint) และ ThinkShutter ที่เป็นฝาปิดกล้องหน้าเพื่อที่คุณจะมั่นใจได้ว่ากล้องเว็บแคมของโน้ตบุ๊กจะไม่สามารถ่ายภาพอะไรก็ตามในขณะที่คุณไม่รู้ตัว
Lenovo ยังประกาศอีกด้วยว่า ThinkPad X390 นั้น มาพร้อมกับตัวเลือกหน้าจอ PrivacyGuard ที่จะช่วยลดมุมมองของจอแสดงผลให้แคบลงเพื่อป้องกันคนแอบดูจากด้านข้าง เพียงแค่กดปุ่มคุณก็สามารถที่จะป้องกันการสอดแนมที่ไม่พึงประสงค์ได้ นี่เป็นฟีเจอร์ที่ดี แต่น่าเสียดายที่มันไม่มีในรุ่นที่จำหน่ายในสหราชอาณาจักร (ซึ่งแม้แต่จะอัพเกรดเพิ่มเติมก็ยังไม่ได้)นอกจากนี้ยังรวมถึงซอฟต์แวร์ Glance ที่ใช้เทคโนโลยี Eye-Trackingของ Mirametrix แต่นี่ก็อาจจะเป็นแค่เพียงลูกเล่นมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้อย่างจริงจัง และยังรวมถึงประกันแบบ Courier/Carry-in เป็นเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีประโยชน์ต่อการใช้งานอย่างแน่นอน
รีวิว Lenovo ThinkPad X390 : สรุป
โดยปกติแล้วผลิตภัณฑ์ในตระกูล ThinkPad จะเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้ในเรื่องของการนำเสนออุปกรณ์ทางธุรกิจที่โดดเด่นในทุกๆ ด้าน และสำหรับ Lenovo ThinkPad X390 เองก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้น ต่อไป มันเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความสามารถในการดำเนินงาน ที่มาพร้อมกับจอแสดงผลที่สามารถแสดงสีได้แม่นยำ, ภายใต้โครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน ตลอดจนพอร์ตและฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีให้คุณเลือกใช้มากมาย อย่างที่คุณเองก็คาดไม่ถึง
ในขณะที่มันเองก็ไม่ได้เป็นผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ว่ามันจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ดีที่สุดที่คุณจะสามารถพบได้ในโน๊ตบุ๊คสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจ และก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะมีราคาที่น่าดึงดูดเช่นนี้ แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะทำให้คะแนนของมันสมบูรณ์แบบนั่นก็คือ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่แอบทำให้เราผิดหวังอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็อย่าปล่อยให้สิ่งนั้นทำให้คุณต้องเลื่อนการตัดสินใจออกไป เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ
ดูสินค้าเพิ่มเติม : https://bit.ly/35YbMSq