รีวิว Microsoft Surface Pro X
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
COMMERCIAL IT UPDATE
รีวิว Microsoft Surface Pro X

รีวิว Microsoft Surface Pro X : เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า จึงต้องยอมแลกด้วยบางสิ่ง

รีวิว Microsoft Surface Pro X

เป็นเรื่องที่น่าประทับใจที่ผลิตภัณฑ์ในตระกูล Surface ของ Microsoft ได้นำ Snapdragon มาใช้เป็นรุ่นแรก แต่ระดับความน่าประทับใจก็ยังไม่เพียงพอสำหรับใครหลายๆ คน
 
ปัจจุบัน เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่วุ่นวาย หากคุณต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ดูได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า ในตอนนี้ Apple เป็นบริษัทที่ผลิตแล็ปท็อปที่ปลอดภัยและยังแปลงข้อความเป็นคำพูดได้ (Predictable) ในขณะที่ Microsoft ก็กำลังทำการทดลองกับแนวคิดใหม่ๆ โดยผลงานรุ่นล่าสุดก็คือ Surface Pro X ซึ่งจัดว่าเป็นอุปกรณ์ Microsoft Surface ของ First-Party ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนโดย Intel แต่เป็นการใช้โปรเซสเซอร์ ARM ที่ผลิตโดย Qualcomm แทน
 
นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ แต่วิธีการเช่นนั้นก็เกิดขึ้นจริง เนื่องจาก Pro X ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อกับ 4G และใช้ชิป Qualcomm เพื่อรักษาอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยาวนานยิ่งขึ้นในขณะที่ใช้งาน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องย้ำให้เข้าใจก็คือ มันไม่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่น x86 Windows ได้เต็มรูปแบบ
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : การออกแบบ

การออกแบบของ Pro X นั้นให้ความรู้สึกที่คุ้นเคยในทันทีที่พบเห็น เพราะสุดท้ายแล้วมันก็แค่มีความโค้งมนที่เพิ่มมากขึ้น และบางกว่าดีไซน์ของ Surface Pro ในเวอร์ชั่นก่อนๆ ที่ได้รับการยอมรับ แต่มันก็น่าสนใจพอสมควร แม้ว่าจะดูน่าเบื่ออยู่บ้างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ Surface Pro ทั่วๆ ไป ในส่วนของขอบที่กลมมนนั้นดูธรรมดากว่ามุมและเส้นที่โดดเด่นของเฟรมของ Pro ถึงแม้ว่าสีดำด้านจะเป็นสีที่ไม่มีความเสี่ยงและยังเป็นสีที่พวกเขาเชี่ยวชาญ แต่การทำให้มันเป็นตัวเลือกเดียวก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ในขณะที่สีอื่นๆ ที่เคยมีในตระกูล น่าจะให้ความรู้สึกที่ดูมีชีวิตชีวามากกว่านี้
 
นอกจากนี้ มันก็ยังมีขนาดที่เล็กได้อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยน้ำหนักเพียง 774 กรัม (ไม่รวมคีย์บอร์ด) และความหนาที่ 7.3 มม. แน่นอนว่ามันพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกจริงๆ (แต่ก็คงไม่สามารถพกพาได้สะดวกเหมือนกับ Acer Swift 7) ซึ่งมันก็อาจจะมีข้อเสียด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างของตัวเครื่องที่บางทำให้มันมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยสำหรับการระบายความร้อนและมันก็ยังมีแนวโน้มที่จะอุ่นขึ้นเล็กน้อยหากคุณใช้งานมันหนักเกินไป
 
ขอบด้านข้าง (Bezel) ที่บางกว่าก็จัดว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน และ Microsoft ก็ยังอวดด้วยว่าพวกเขาจับเอาจอแสดงผลขนาด 13 นิ้ว บีบอัดลงในฟอร์มแฟคเตอร์ขนาด 12 นิ้ว แต่ในการทำเช่นนี้มันจะต้องลดขนาดของกรอบหน้าจอลงอย่างมาก เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เน้นการสัมผัสก็คือกรอบที่หนาขึ้น ซึ่งผู้ใช้จะต้องยอมรับได้ในข้อนี้ (หรือเรียกว่าเป็นที่ต้องการเลยก็ว่าได้) เพื่อแลกกับการที่นิ้วหัวแม่มือของคุณจะไปกดโดนหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อใดก็ตามที่คุณถือมันในลักษณะเดียวกันกับแท็บเล็ต แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธว่าขอบที่บางกว่านั้นทำให้มันดูดี ซึ่งในความเป็นจริงของการออกแบบที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทั้งหมดของมันนั้น ทำให้รู้สึกได้ถึงคุณภาพระดับพรีเมียม
 
เมื่อใช้งานมันในโหมดแท็บเล็ต ทำให้รู้สึกว่าเราไม่สามารถจับมันได้อย่างสะดวกสบายโดยที่ไม่บดบังหน้าจอเหมือนในอุปกรณ์รุ่นก่อนๆ แต่นั่นก็ไม่ถึงกับเป็นตัวชี้ขาดในการตัดสินใจ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วเราพบว่า 90% ที่เรามีการใช้อุปกรณ์ Surface ในโหมดแล็ปท็อปอยู่ตลอดเวลา แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่ารำคาญยิ่งกว่าเล็กน้อยก็คือ เราพบว่ามันยากกว่าปกติในการเลือกซื้ออุปกรณ์จำเป็นบางอย่าง
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : จอแสดงผล

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการใช้งานมันในรูปแบบแท็บเล็ตคุณก็จะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่ามันคือ Panel ขนาด 13 นิ้ว และไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะมีอัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) แบบ 3: 2 ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในตระกูล Surface พร้อมกับความละเอียดภาพ (Resolution) 2880 x 1920 ที่สมควรได้รับคำชมเชย เพราะมันมีความละเอียดที่สูงกว่า Surface Laptop 3 รวมทั้งโน้ตบุคประเภท Ultraportable อื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดส่วนใหญ่ โดยที่มันก็ให้ภาพที่มีชีวิตชีวา, คมชัด, สดใส และจากการทดสอบของเรา ทำให้รู้ว่ามันเป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง ที่กำหนดโดยอุปกรณ์ Surface รุ่นก่อน ๆ
 
เมื่อความสว่างที่ 425cd/m2 มาพร้อมกับแล็ปท็อปที่ดีที่สุด ทำให้มันดีกว่า Surface Pro 7 แต่ก็ยังถือว่าด้อยกว่า Dell XPS 13 2-in-1 อยู่บ้างเล็กน้อย สำหรับค่าความสว่างที่ 538cd/m2 ที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ Surface Pro X ก็ยังมีหน้าจอที่ครอบคลุมช่วงสีตามมาตรฐาน sRGB ที่ 91.7% และที่อัตราส่วนคอนทราสต์ 1,394: 1 ที่จะแสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของมันมากขึ้น แต่เราก็ไม่ลืมที่จะเปลี่ยนโปรไฟล์สี (Colour Profile) จาก Enhanced ที่ออกจะเพี้ยนๆ อยู่เล็กน้อย ไปเป็นโปรไฟล์สีแบบ sRGB ในการตั้งค่าการแสดงผล เช่นเดียวกับที่เคยทำใน Surface Pro 7
 
ในเรื่องของการตลาดของ Microsoft เท่าที่สังเกตเห็นนั้น Pro X จะถูกจำหน่ายเพื่อนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ทางธุรกิจเป็นหลัก แต่บรรดาผู้ผลิตงานสร้างสรรค์และนักออกแบบก็ไม่ต้องกังลงกับเรื่องนี้ เพราะ Pro X เองก็มีอุปกรณ์ต่างๆ เพียบพร้อมเพื่อช่วยให้พวกเขาได้สร้างสรรค์ผลงานดีๆ เช่นเดียวกับเพื่อนรุ่นอื่นๆ ที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับมัน
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : แป้นพิมพ์ Type Cover และปากกา Surface

ไม่แน่ใจว่ายังมีอะไรที่เรายังไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับแป้นพิมพ์ TypeCover ของ Microsoft อีก เพราะมันเป็นแป้นพิมพ์แบบถอดได้ (Removable Keyboard) ที่ดีที่สุด (และช่วยให้ได้ภาพลักษณ์โดยรวมดีที่สุด) และการทำซ้ำในครั้งนี้ ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ที่สำคัญนี้ แม้ว่าการหุ้มด้วย Alcantara จะไม่ได้ให้ความรู้สึกหรูหราเช่นเดียวกับที่เราจำความรู้สึกได้จากคีย์บอร์ดในรุ่นก่อนๆ อย่างไรก็ตาม มันก็เกือบจะเหมือนกับรุ่นก่อนหน้านี้ แต่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวก็คือ ปัจจุบันมันมีช่องสำหรับเก็บปากกา Surface แบบใหม่ ที่ตัวปากกาจะมีความบางเบามากยิ่งขึ้น โดยปากกาใหม่ที่ว่านี้จะถูกวางไว้ที่ด้านบนสุดของแป้นพิมพ์ และจะมีแถบที่เชื่อมต่อด้วยแม่เหล็กที่ด้านหน้าของจอภาพเพื่อที่จะช่วยให้แป้นพิมพ์มีความลาดเอียงเล็กน้อย
 
นั่นเป็นความคิดที่ดี เพราะเราก็ได้พยายามหาวิธีที่ดีกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการนำปากกา Surface ติดตัวไปด้วยในขณะที่เราจะต้องพกมันติดตัวไปข้างนอก และนี่ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี เมื่อใดก็ตามที่ปากกาถูกเก็บเข้าที่ช่องเสียบแม่เหล็ก มันสามารถชาร์จได้ตลอดเวลา และมันก็ยังเข้ากันได้กับ Surface รุ่นก่อนหน้านี้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมียางลบดิจิตอลที่ปลายด้านหนึ่งของปากกาอีกด้วย
 
ตัวเครื่องใหม่นี้สะดวกในการพกพาปากกาและยังช่วยแก้ปัญหาปากกา Surface หลุดออกจากช่องแม่เหล็กที่ด้านข้างของ Surface Pro ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ (ซึ่งคุณยังสามารถนำมาใช้กับช่องเสียบใหม่นี้ได้ หากต้องการ) และในทางกลับกัน การถอดสไตลัสออกจากช่องเสียบของมันนั้นจะต้องยุ่งยากกับการถอดแยกหน้าจอออกจากคีย์บอร์ด เพื่อหยิบมันออกมา ซึ่งกลังจากนั้นก็ต้องติดคีย์บอร์ดกลับเข้าไปใหม่ ทำให้รู้สึกว่ามันออกจะเก้ๆ กังๆ นิดหน่อย
 
ในส่วนของปากกานั้น หลังจากปรับตัวกับมันได้ไม่นาน เราก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัดเกินกว่าที่จะใช้มัน เพราะการออกแบบที่ช่วยให้ปากกามีรูปร่างที่บางลง ทำให้เราหยิบจับมันได้ง่ายกว่าเดิมเล็กน้อย แต่เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของมันนั้นก็ยังดำเนินต่อไปอย่างราบรื่นและลื่นไหล เช่นเคย
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : รายละเอียดต่างๆ และประสิทธิภาพ

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทุกอย่างเรียบร้อยและเป็นที่น่าพอใจ แต่ทุกคนต่างก็รู้ดีว่ามีอะไรที่สำคัญอยู่ข้างในนั้น และไม่มีที่ไหนที่น่าเชื่อถือมากไปกว่า Pro X อีกแล้ว เพราะนี่เป็นอุปกรณ์ Surface เครื่องแรกที่สร้างขึ้นโดยใช้ฮาร์ดแวร์ Qualcomm Snapdragon แต่ Microsoft ก็ได้ทำมากกว่าแค่การติด Snapdragon 855 ไว้ในนั้นและเลิกคิดที่จะทำอะไรกับมันต่อ
 
เพราะพวกเขาได้ร่วมกันออกแบบแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ใหม่ทั้งหมดโดยเฉพาะสำหรับ Pro X ซึ่งเรียกกันว่าชิปเซ็ต "Microsoft SQ1" แต่อุปสรรคที่ตามมาก็คือ นี่คือชิป ARM ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับความเข้ากันได้ (Compatibility) ตามความหมายก็คือ มันจะไม่รันแอพพลิเคชั่นใดๆ ที่สร้างขึ้นสำหรับชิป Intel ดั้งเดิม (ซึ่งก็หมายถึง แอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่จำเป็น) เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Microsoft จึงทำการสร้างเครื่องมือจำลอง (Emulation Engine) เพื่อช่วยให้ Pro X สามารถเรียกใช้ Windows Applications แบบ 32-bit ได้
 
เราคาดว่าจะต้องเจอกับประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่แน่นอนจาก  App 32-bit ที่ถูกจำลองขึ้นมาเหล่านี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรารู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก แม้ว่ามันจะไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่เราเผื่อใจไว้ แต่ซอฟต์แวร์ Photoshop ล่าสุดของ Adobe กลับใช้งานได้ โดยอาจจะมีข้อร้องเรียนเป็นครั้งคราวเท่านั้น เราพบข้อขัดข้องเป็นระยะๆ ซึ่งนั่นก็เป็นปัญหาที่เราพบในแท็บ Chrome ด้วยเช่นกัน แต่นอกเหนือจากนั้น ประสิทธิภาพการทำงานของมันก็ยังดีกว่าที่เราคาดไว้
 
ข้อขัดข้องนั้นยังห่างไกลจากทฤษฎี และปัญหาความเข้ากันได้ก็ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ แม้ว่าจะอยู่นอกเหนือจากที่เราคาดไว้ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น มีบางแอพพลิเคชั่นที่ไม่สามารถใช้งานได้ในรูปแบบ ARM หรือ Windows เวอร์ชัน 32-bit ดังนั้น Pro X จึงไม่สามารถเรียกใช้งานพวกมันได้เลย ซึ่งกรณีตัวอย่างก็คือ แอพพลิเคชั่น Lightroom และ Premiere Pro ของ Adobe
 
แหล่งตรวจสอบอื่นอาจจะได้รบ Adreno 685 iGPU และ RAM 8GB หรือ 16GB แต่เครื่องที่เราทำการตรวจสอบนั้นมาพร้อมกับ RAM ขนาด 16GB และยังขับเคลื่อน Pro X ให้ไปสู่ผลลัพธ์ที่เราเองก็คาดไม่ถึงในการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเรา โดยจากการทดสอบ Geekbench 5 ในครั้งนี้ Pro X ทำคะแนนในส่วนของ Single และ Multi-core ได้ที่ 736 และ 2,891 คะแนน ซึ่งก็ถือว่าตามหลัง Core i7 Surface Pro 7 อยู่ไม่ถึง 10% หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มันมีกำลังขับเคลื่อนพอที่จะรับมือกับ Workload ทางธุรกิจได้อย่างที่คุณต้องการ โดยที่เราก็มีข้อสันนิษฐานว่าซอฟต์แวร์ของมันสามารถรองรับการทำงานในรูปแบบดังกล่าวได้
 
อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีปัญหาแปลกๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้ไจโรสโคป (Gyroscope) ของแท็บเล็ตสับสนอยู่ตลอดเวลา และเปิดใช้งานฟังก์ชันการหมุนทิศทางภาพโดยอัตโนมัติ (Autorotate) ของมันในช่วงสั้นๆ ที่กินเวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้เลย ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่มันก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นการรบกวนที่มากพอที่จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ได้
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : แบตเตอรี่

Microsoft ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยชิปเซ็ต SQ1 และเป้าหมายของอุปกรณ์ก็คือ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดทั้งวัน โชคดีที่เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสังเกตได้จากคะแนนที่ทำได้ 9 ชั่วโมง 3 นาที ในการทดสอบแบตเตอรี่ของเรา ซึ่งมันก็ทำได้ดีกว่า Pro 7 ประมาณสองชั่วโมง และมันก็ยังแข็งแกร่งพอที่จะยืนหยัดสู้กับโน้ตบุคประเภท Ultraportable รุ่นอื่นๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ได้อีกด้วย
 
นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติการชาร์จเร็วที่เหมือนกันกับอุปกรณ์ Surface รุ่นอื่นๆ ที่มาใหม่ โดยจะช่วยให้ระดับแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นถึง 70% หลังจากที่ใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในตระกูลนี้ที่ชาร์จผ่าน Surface Connector ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ Microsoft แต่ทั้งนี้ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับ พอร์ต USB-C (ซึ่งเราจะกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมต่อจากนี้) นอกจากนี้ มันก็ยังสามารถชาร์จได้ขณะที่เชื่อมต่อกับจอภาพภายนอก (External Monitor) หรือแท่น Docking Station เชื่อได้ว่ามันมีประโยชน์อย่างแน่นอน
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : พอร์ตและฟีเจอร์ต่างๆ

มันไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์ในตระกูล Surface รุ่นล่าสุดทั้งหมดของ Microsoft เพราะ Pro X มีพอร์ตที่เป็นพอร์ต USB-C ทั้งสองพอร์ต ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้งคู่ถูกสร้างขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า ตัวเครื่องที่บางเบานั้นจะทำให้มันไม่สามารถมีพอร์ต USB-A แบบ Full-size ได้ น่าเสียดายที่มันเป็นเพียงแค่ USB-C 3.2 Gen2 แทนที่จะเป็น Thunderbolt 3 แต่พวกมันก็ยังคงให้พลังงาน, ข้อมูลและการแสดงผล รวมถึงจอแสดงผลภายนอก 4K สูงสุดสองจอที่รันด้วยค่า Refresh Rate ที่ 60Hz
 
จุดขายอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับ Pro X และข้อสันนิษฐานทั้งหมดที่เกี่ยวกับคุณค่าที่แท้จริงของมัน ก็คือ ความสามารถในการรองรับการเชื่อมต่อ LTE Advanced Pro ที่รวดเร็วเป็นพิเศษ เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always On) แม้ว่าจะค่อนข้างประหลาดใจที่ Microsoft ไม่ได้พยายามที่ใช้ประโยชน์จาก 5G Bandwagon กับอุปกรณ์นี้ แต่เราก็ได้เห็นแล้วว่าทำไมจึงต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า แล็ปท็อปที่ใช้ ARM นั้น มีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยในตัวของมันเอง
 
แต่ก็ถือว่ายังโชคดีที่ความเสี่ยงนั้นมีผลตอบแทน เพราะการเชื่อมต่อ LTE ทำงานได้ดี เพราะเมื่อได้ใช้งานมันเราก็แทบจะไม่ได้สังเกตเห็นถึงความแตกต่างในเรื่องของความเร็วหรือความเสถียร (Stability) เมื่อเทียบกับการเชื่อมต่อแบบใช้สาย (Wire) ตามปกติของเรา และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ก็ทำให้เราใช้งานได้อย่างง่ายดายตลอดทั้งวันที่มีการเชื่อมต่อ LTE ที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะบุคคล  อย่างไรก็ตามควรจำไว้ว่าสิ่งนี้จะต้องมี Data Contract แยกต่างหาก ดังนั้น อาจจะดีกว่าที่บุคคลจำนวนมากหรือธุรกิจขนาดเล็กจะใช้ WiFi เว้นแต่ว่าพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเติมให้กับฟีเจอร์ Mobile Data Plan
 
นอกจากนี้มันยังรองรับระบบการจดจำใบหน้าผ่าน Windows Hello ตลอดจน Studio Mics ไมโครโฟนคู่ ระบบ Far-Field สำหรับการสนทนาทางวิดีโอและสถานการณ์ที่จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม (Collaboration) ซึ่งอย่างหลังนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก สำหรับผู้ใช้ทางธุรกิจที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการประชุมทางโทรศัพท์หรือการประชุมทางไกล และมันก็ทำงานได้ดีสำหรับการรับเสียงที่ชัดเจน ในขณะเดียวกันมันก็ยังช่วยกรองเสียงรบกวนจากรอบข้างได้ดีอีกด้วย
 

รีวิว Microsoft Surface Pro X : สรุป

ในตอนแรกดูเหมือนว่า Surface Pro X ก็พอจะมีความหวังอยู่บ้างเล็กน้อย แต่อุปกรณ์ของ Windows ที่สามารถรันได้เฉพาะบางแอพพลิเคชั่นนั้นรู้สึกว่ามันจะใกล้เคียงกับ Windows RT ในสมัยก่อนมากเกินไป และความน่ากลัวของปัญหาความเข้ากันได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาที่ยากเกินกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะมีบางแอพพลิเคชั่นที่ไม่สามารถใช้งานได้เลย แต่ก็จะมีบางแอพพลิเคชั่นที่มีอาการสะดุดบ้างเล็กน้อย เนื่องจากความเสถียรที่ไม่ต่อเนื่อง แต่แน่นอนว่าประสบการณ์จากการใช้งานของเราไม่ได้ถูกรบกวนจากปัญหาด้านประสิทธิภาพแต่อย่างใด
 
แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เราชอบเกี่ยวกับ Pro X ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่เพรียวบาง น้ำหนักเบา และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานผ่านระบบ 4G ทำให้มันสมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับการทำงานในระหว่างการเดินทาง ซึ่งหลังจากที่เราใช้เวลาอยู่กับมันมาสักระยะ ทำให้เรารู้สึกเสียดายที่จะต้องวางมันลง ขณะที่ต้องไปตรวจสอบเครื่องอื่นๆ ต่อไป
 
อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัดว่าทุกคนไม่ต้องการจะพูดถึงมันนั้นไม่มีเหตุผลมากพอที่จะยอมรับการประนีประนอมเพียงไม่กี่ข้อที่เป็นข้อเรียกร้องจากเรา แต่เมื่อเทียบกับ Acer Swift 7 ที่นำเสนอแพ็คเกจน้ำหนักเบา ในขณะที่ Surface Pro 7 ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในทางเทคนิคเลยแม้แต่น้อย (นอกเสียจากอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่น่าประทับใจน้อยกว่า) และสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์เพียงอย่างเดียวที่ Pro X มีติดตัวก็คือ การรองรับระบบ 4G ที่แข็งแกร่งของมัน แต่นั้นอาจจะเป็นไปได้ว่ามันต้องแลกเปลี่ยนกับความสามารถที่เข้ากันได้ของอุปกรณ์ ซึ่งก็น่าจะเป็นการลงทุนที่มากเกินไปสำหรับคนอื่นๆ ยกเว้นก็เพียงแต่ผู้ใช้ที่ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
 
เมื่อพิจารณาจากเรื่องทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น เราไม่มีข้อสงสัยเลยว่าทำไม Microsoft Surface Pro X จึงเป็นผลงานทางวิศวกรรมที่น่าประทับใจ และหวังว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของอนาคตที่สดใส เพราะมันเป็นเรื่องยากเกินไปที่จะได้รับอะไรมากไปกว่าการเห็นด้วยอย่างไม่เต็มใจ ในฐานะของแปลกที่ล้ำสมัย

ที่มา: 
https://bit.ly/3jmZYPZ
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์