1726202978.png
1731393918.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
เหตุผลที่มนุษย์เป็นกุญแจสำคัญทำให้ AI น่าเชื่อถือ
ในหนังสั้นเรื่อง “ม้าตัวเก็งหาย” (Silver Blaze) ของ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ (Sir Arthur Conan Doyle) นั้น เชอร์ล็อก โฮมส์ (Sherlock Holmes) สามารถค้นพบการขโมยม้าแข่งที่มีชื่อเสียงโดยทำการจับอย่างรวดเร็ว แถมยังไม่มีใครได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนในคืนที่ขโมยอีกด้วย เนื่องจากสุนัขถูกเก็บไว้ในคอกสัตว์ จึงสรุปตามปกติวิสัยว่าขโมยต้องเป็นใครซักคนที่สุนัขรู้จักดี
การให้เหตุผลแบบนี้ถือว่าเป็นการสืบหาความจริงที่ง่ายที่สุดและอธิบายว่าเป็นไปได้มากที่สุดจากการสังเกต ซึ่งเป็นแนวคิดอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า การให้เหตุผลแบบจารนัย (Abductive Reasoning) และเป็นประเภทของเหตุผลที่มนุษย์มักใช้บ่อยที่สุด จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่เราสามารถสรุปได้ทันที และบ่อยครั้งจะคาดเดาเข้าใจผิดกันว่าเป็นสัญชาตญาณ การให้เหตุผลแบบจารนัยมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่ไม่สมบูรณ์หรือในรายละเอียดที่อาจลวงตา ทำให้เหมาะที่สุดในสถานการณ์จริง มันเป็นรูปแบบของเหตุผลที่ต้องได้รับการกระตุ้นในระบบ AI เสียก่อนจึงจะเป็นที่น่าเชื่อถือได้ นั่นคือ ประเด็นสำคัญที่เราไว้วางใจระบบ AI ในการทำงานที่ซับซ้อนซึ่งต้องการความยืดหยุ่นและการตัดสินใจที่ฉับไว แม้ว่าจะมีการป้อนข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องก็ตาม และในกระบวนการนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อเราอีกด้วย
เมื่อเราได้ยินเกี่ยวกับ AI มักมาพร้อมกับคำศัพท์ต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ดีมากพอและต้องมีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอ (หนักหน่วงและราคาสูง) เพื่อใช้ประมวลผลข้อมูลทั้งหมด มันเป็นสิ่งหนึ่งที่จะเอาชนะเกมหมากรุกหรือชนะแชมป์ระดับโลก และทั้งหมดนั้นเป็นตัวช่วยหากคุณพยายามจะทำแลนด์โรเวอร์บนดาวอังคาร นั่นคือ การก้าวกระโดดระหว่างระบบ AI ที่จดจำเกมที่มีกฎเกณฑ์จำกัด กับระบบ AI ที่น่าเชื่อถือเพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างฉับไว ทั้งในขอบเขตความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุดและความเป็นไปไม่ได้ตามปกติวิสัย
มันเป็นก้าวกระโดดที่บริษัทด้าน AI หลายแห่งกำลังพยายามทำอยู่ พร้อมด้วยนักวิจัยด้าน AI สุดไฮเทค และบริษัทกำลังสร้างแพลทฟอร์ม AI ที่ได้แรงบันดาลใจจากชีวภาพ (bio-inspired AI platform) โดยสามารถให้เหตุผลเหมือนมนุษย์และสามารถไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ในขณะนี้นักวิจัยจำนวนหนึ่งตัวอย่างเช่นที่ Jet Propulsion Laboratory (บางส่วนของแพลตฟอร์ม AI ของบริษัทของเราทำงานบนพื้นฐานการวิจัยและเทคโนโลยีจากโครงการวิจัยของ NASA/JPL research) ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม AI ประเภทนี้ขึ้นแล้ว ในขอบเขตจำกัดขนาดเล็กที่สามารถอยู่รอดได้และมีค่าใช้จ่ายหลายล้านในการวิจัยและพัฒนา มีความฉับไว คล่องแคล่ว ระบบยืดหยุ่นที่เห็นได้ชัด สามารถวินิจฉัย คาดการณ์ และตอบสนองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่มีปัจจัยที่ไม่แน่ชัดหลากหลายหรือคำตอบที่เป็นไปได้มีมากมายก็ตาม
เทคโนโลยีด้าน AI ที่ผสมผสานความสามารถในการอุปนัย (inductive) นิรนัย (deductive) และจารนัย (abductive) ทำให้การให้เหตุผลเหมือนมนุษย์มีความเป็นไปได้ ช่วยให้แพลตฟอร์มสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดียวกับมนุษย์ แม้ว่าจะมีข้อมูลที่ขาดหายไป ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด หรือข้อมูลที่กวนใจ ก็ตามที สิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์ม AI เหล่านี้มีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้นคือ มันสามารถทำหน้าที่เป็นทูตสวรรค์เป็นผู้พิทักษ์ต่าง ๆ นานา ที่ทำงานควบคู่กับระบบ AI แบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มชั้นเลเยอร์ของการจัดการ แพลตฟอร์ม AI สามารถตั้งโปรแกรม ให้เรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์และแนวคิดที่เป็นนามธรรม คล้ายกับศีลธรรมและจริยธรรม และสามารถปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ได้ไม่ว่าจะมีการนำเสนอในสถานการณ์ใดก็ตาม
ฟังก์ชันเหล่านี้มีความสำคัญและมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากระบบ AI เริ่มมีบทบาททำงานมากขึ้นในสังคมของเรา มักจะมีการควบคุมน้อยที่สุด คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างเช่น อีลอน มัสก์ (Elon Musk) และ สตีเฟน ฮอว์คิง (Steven Hawking) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์หากอุปกรณ์ด้าน AI รุดหน้าไปไกลเกินกว่าที่ผู้ใช้งานจะควบคุมมันได้ เมื่อไม่นานมานี้ Facebook ต้องปิดห้องทดลองด้าน AI ลงชั่วคราว เนื่องจาก chatbots เริ่มสื่อสารด้วยภาษาที่นักวิจัยไม่สามารถเข้าใจได้
นอกจากนี้ระบบ AI อาจมีความเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กและข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเสียหายจะส่งผลต่อฟังก์การทำงานที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ นักบินของเยอรมันวิงส์ (Germanwings) ถูกล็อกโดยผู้ช่วยนักบินอยู่ด้านนอกห้องนักบิน และใช้ระบบการบินอัตโนมัติปะทะชนเทือกเขาในที่สุด ระบบ AI อิสระที่เชื่อถือได้ต้องมีความซับซ้อนมากพอที่จะเอาชนะคำสั่งดังกล่าวได้ แม้ว่าจะมีการให้คำสั่งผิด ๆ ก็ตาม เป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการบินจะตั้งธงคำสั่งยับยั้งเมื่อวิถีโคจรของเครื่องบินเป็นที่น่าสงสัย แม้ว่าอาจไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบนเครื่องบิน ในฐานที่ AI เป็นผู้พิทักษ์ควรสามารถวิเคราะห์สถานการณ์แสดงบทบาทในสถานการณ์ต่าง ๆ และประเมินคำสั่งที่แปลกประหลาดได้ภายในเสี้ยววินาที และหากคำสั่งเป็นที่น่าสงสัยก็อาจปฏิเสธที่จะเปลี่ยนเส้นทางโคจรโดยอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดหวังไว้
แม้ว่า AI ที่มีลักษณะเป็นเอกเทศที่น่าเชื่อถือ แต่เป็นไปตามกฎคลาสสิกของ ไอแซค อสิมอฟ (Issac Assimov) คือ กฎสามข้อของหุ่นยนต์ และมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอุตสาหกรรมและแอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่ปรับใช้งานได้ ขณะเดียวกันระดับของการคุกคามของ AI ยังคงมีมากขึ้นทุกวันดั่งนิยายวิทยาศาสตร์ แต่กลับทำให้รู้สึกอุ่นใจเมื่อรู้ว่าผู้สร้าง AI ยุคใหม่จะก้าวหน้าสามารถสร้าง AI ขั้นสูงที่ให้เหตุผลเหมือนมนุษย์ที่สามารถทำงานควบคู่กับคำสั่งของมนุษย์ได้ และช่วยให้ชีวิตมนุษย์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ที่มา: https://www.autodesk.com