1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
วิธีหาความเร็ว ขนาด และประเภทของแรม
วิธีหาความเร็ว ขนาด และประเภทของแรม
Image credit: twenty20
หากคุณต้องการอัพเกรดหน่วยความจำของ PC คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าคุณมีอะไรอยู่แล้วบ้าง
หากไม่มีหน่วยความจำชีวิตคุณคงยุ่งเหยิงไม่น้อย ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับแล็ปท็อปของคุณ เนื่องจากในปัจจุบันเรามีการทำงานจากระยะไกลมากขึ้นเรื่อยๆ และอุปกรณ์ของเราก็ไม่เคยอยู่ภายใต้สภาวะงานที่หนักหน่วงเท่านี้มาก่อน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าแล็ปท็อปของคุณนั้นต้องมีแรมในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อภาระงานที่แล็ปท็อปของคุณจะต้องเจอ
Random Access Memory หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 'RAM' เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์และมักจะมาในรูปแบบของแท่งแบบถอดได้ ซึ่งคุณสามารถพบมันได้ในเมนบอร์ด
สิ่งนี้มักถูกสับสนกันกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วไป แต่มีวิธีง่ายๆ ในการอธิบายความแตกต่างและบทบาทเฉพาะของ RAM โดยใช้การเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัด
What is RAM? 'แรม' คืออะไร?
ทางที่ดีที่สุดคือคิดว่าหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นสมอง และในทำนองเดียวกันให้คิดว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์หรือ SSD เป็นส่วนที่ควบคุมหน่วยความจำระยะยาว
ในส่วนนี้สามารถอธิบาย แรม ได้ดีที่สุดว่าเป็นส่วนหน่วยความจำระยะสั้นของระบบ ซึ่งหากอยู่ในสมอง สิ่งนี้จะเป็นส่วนที่จัดการกับงานประจำวันที่ง่ายต่อการจดจำ ไม่ว่าจะเป็นการกิน, การนอน, การหายใจ หรือ กระบวนการทั้งหมดที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงบริบทซึ่งสามารถลืมได้อย่างรวดเร็วเมื่องานจบลง ซึ่งในคอมพิวเตอร์ส่วนนี้คือ แรม โดยมันยังอนุญาตให้มี "headspace" มากขึ้นได้ ดังนั้นหากพูดง่ายๆ คือ แรมจะให้ข้อมูลบริบทชั่วคราวที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว
ยิ่งคุณมี แรม มากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถใช้พื้นที่สำหรับข้อมูลนี้ได้มากขึ้นและสามารถรองรับแอปพลิเคชันและกระบวนการต่างๆ ได้มากขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โชคดีที่เดสก์ท็อปสมัยใหม่ส่วนใหญ่และแล็ปท็อประดับสูงอนุญาตให้อัปเกรดแรมได้ แต่ในทางกลับกันก็มักจะทำให้ระบบเสื่อมอายุเช่นกัน
ต้องมี แรม เท่าไหร่ ?
น่าเสียดายที่การซื้อ แรม อาจยุ่งยากเล็กน้อยหากคุณไม่แน่ใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ เนื่องจาก แรม มีหลายรูปทรง, ความเร็ว และขนาด และแม้ว่าแท่งแรมจะพอดีกับเครื่องของคุณแต่ก็มีโอกาสที่จะใช้งานไม่ได้เช่นกัน
Windows 10 ให้ข้อมูลที่จำกัดมากในเรื่องนี้ หากต้องการรู้เกี่ยวกับสิ่งนี้คุณต้องการเปิดส่วน "เกี่ยวกับ" ของแผงควบคุม ซึ่งทำได้โดยพิมพ์ "RAM" ในแถบค้นหาของ Windows 10 แล้วคลิก "ดูข้อมูล RAM" หรือโดยการเข้าไปที่การตั้งค่า "ระบบ" และเลื่อนลงไปที่ "เกี่ยวกับ"
ในหน้า เกี่ยวกับ คุณจะเห็นข้อมูลเกี่ยวกับชื่ออุปกรณ์, ประเภทตัวประมวลผล และความเร็วแรมที่ติดตั้งอุปกรณ์และรหัสผลิตภัณฑ์ว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการ 32 บิตหรือ 64 บิต และข้อมูลเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
คุณจะสังเกตเห็นว่าแรมที่ติดตั้งแสดงตัวเลขสองตัว เลขลำดับแรกคือจำนวนแรมทั้งหมดที่ติดตั้งในระบบ และตัวที่สองจะแสดงแรมที่ "ใช้งานได้" ซึ่งจะระบุว่าแอปและกระบวนการของคุณสามารถใช้แรมได้เท่าใดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งตัวเลขหลังจะต่ำกว่าเนื่องจากสัดส่วนของแรมที่ติดตั้งจะถูกสงวนไว้สำหรับกระบวนการที่สำคัญบางอย่างของ Windows
ด้วยวิธีที่มันโต้ตอบกับระบบ การติดตั้งแรมแบบทวีคูณจากสี่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นหมายความว่าแรมที่คุณติดตั้งควรเป็น 4GB, 8GB, 16GB และอื่นๆ เครื่องรุ่นเก่าบางเครื่องอาจมีแรม 2GB แต่เนื่องจาก Windows 10 ต้องการอย่างน้อย 2GB เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้นคุณจะพบว่าเครื่องในปัจจุบันจะมีแรมอย่างน้อย 4GB แต่หากคุณพบว่าตัวเลขที่แสดงว่าไม่ใช่ผลคูณสี่ (เช่น 6GB) อาจเป็นไปได้ว่าแท่งแรมล้มเหลวหรือติดตั้งไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การติดตั้งแรมขนาด 12GB อาจบ่งบอกได้ว่าจากแรม 4GB ของคุณสี่แท่งมีอันหนึ่งล้มเหลว
ควรเลือกซื้อ แรม แบบไหน ?
ปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่แนะนำแรมอย่างน้อย 4GB สำหรับการประมวลผลแบบวันต่อวัน หากใช้ในการเล่นเกมและมีการใช้งานกราฟิกอื่นๆ ต้องใช้แรมที่มากขึ้นเล็กน้อย และแล็ปท็อประดับไฮเอนด์สามารถมีแรมได้ 16GB หรือสูงถึง 32GB ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเดสก์ท็อปสามารถก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม อย่างเช่นใน Windows รุ่น 64 บิตบางรุ่นจะสามารถรองรับแรมได้สูงสุด 6TB ที่ถึงแม้ว่าคุณจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้สามารถใช้แรมได้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของเมนบอร์ดเป็นเวลานานก่อนที่จะแตะขีดจำกัดนั้นก็ตาม
ก่อนที่จะไปซื้อ เรายังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อย ยูทิลิตี้ CPU-Z ฟรีของ CPUID เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการรวบรวมข้อมูลนี้ โดยสามารถติดตั้งมันบนคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นเรียกใช้และไปที่แท็บหน่วยความจำ
มีรายละเอียดมากมายในแท็บนี้ที่เราไม่จำเป็นต้องรู้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ:
จำนวนสล็อตหน่วยความจำที่เมนบอร์ดของคุณที่มี (โดยปกติคือสองช่อง บางครั้งอาจจะหนึ่งช่อง หรือ สี่ช่อง)
หน่วยความจำประเภทใดที่ใช้ (โดยปกติจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษร DDR)
ความถี่ของหน่วยความจำ (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเร็วแค่ไหน)
ตอนนี้คุณมีข้อมูลทั้งหมดแล้ว คุณสามารถเริ่มค้นหาแรมที่ต้องการได้ เราขอแนะนำให้ซื้อของใหม่เสมอ เว้นแต่จะมีการรับประกันเหล็กหล่อหากคุณเลือกซื้อแรมมือสอง เนื่องจากชิปแรมค่อนข้างบอบบาง เพียงแค่สัมผัสผิดจังหวะก็สามารถแตกได้และหมุดเชื่อมต่อสีทองของมันอาจเสียหายได้ง่ายจากการติดตั้งซ้ำๆ
แม้ว่าจะแนะนำให้ใช้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อที่ไม่มีประสบการณ์) แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับข้อกำหนดของแรมที่ติดตั้งไว้แล้วในระบบมากนัก เพียงแค่คุณควรดูเอกสารประกอบต่างๆที่คุณมีเพื่อรองรับเมนบอร์ดของคุณ เนื่องจากสิ่งนี้มักเป็นกรณีที่เมนบอร์ดสามารถรองรับความถี่แรมได้หลากหลาย และคุณอาจพบว่าสิ่งที่ติดตั้งนั้นอยู่ในระดับต่ำสุดของช่วง
เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากแรมใหม่ สล็อตเมนบอร์ดทั้งหมดควรมีหน่วยความจำเท่ากันและทำงานด้วยความเร็วเท่ากัน หากคุณมีสี่ช่องคุณสามารถใส่หนึ่งช่อง, สองหรือสี่ช่องก็ได้ แต่เช่นเคยหากคุณใช้มากกว่าหนึ่งช่อง ให้ใส่ชิปที่เหมือนกันในทุกช่อง นั่นหมายความว่าหากคุณไม่แน่ใจ 100% ว่ากำลังทำอะไรอยู่ อย่าซื้อแรมแท่งเดียวพร้อมกับบิตที่มีอยู่แล้ว เพราะสิ่งนี้อาจทำให้คอมพิวเตอร์มีค่าเสถียรน้อยกว่าค่าเริ่มต้น
มันคุ้มค่าและควรค่าแก่การลงทุนในชิปที่เหมือนกัน, ความเร็วเท่ากัน, แรมเดียวกัน และยี่ห้อเดียวกัน เราขอแนะนำแบรนด์ชั้นนำ เช่น Samsung, Crucial หรือ Kingston ที่ซื้อจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้
เคล็ดลับในการเลือกซื้อแรม
ก่อนที่คุณจะทำอะไร สิ่งสำคัญคือ คุณต้องตรวจสอบว่าระบบของคุณอนุญาตให้ขยายแรมได้หรือไม่ ในขณะที่พีซีและแล็ปท็อปสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะมีช่องพิเศษสำหรับเพิ่มหน่วยความจำมากขึ้น แต่เครื่องรุ่นเก่าบางเครื่องอาจยังไม่มี เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์ที่มีรูปแบบที่ผิดปกติในอุปกรณ์บาง อย่างเช่นอุปกรณ์ 2-in-1 ที่แรมอาจติดอยู่กับเมนบอร์ดซึ่งในกรณีนี้คุณจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้
MacBook หลายรุ่นส่วนใหญ่นั้นเหมือนกัน ใน MacBook Pro และ MacBook Air รุ่นล่าสุดมีแรมมาพร้อมกับ SSD ที่บัดกรีเข้ากับเมนบอร์ด และในขณะที่ iMac รุ่นใหม่บางรุ่นมีแรมที่ผู้ใช้สามารถอัพเกรดได้ในทางเทคนิค ซึ่งในการทำเช่นนั้นจำเป็นต้องมีการรื้อถอนเครื่อง นอกจากนี้ยังควรจดจำว่าหากคุณอัปเกรดแรมในเครื่อง Apple ของคุณ แรมจะมีขนาดและรูปร่างที่เฉพาะเจาะจงซึ่งแตกต่างจากที่คุณติดตั้งในแล็ปท็อป Windows
เมื่อพูดถึงการอัปเกรด คุณสามารถทำได้หากคุณต้องการที่จะทำมันจริง โดยการใช้ชิปแรมใดๆที่คุณมีอยู่ก็ได้ อย่างไรก็ตามในขณะที่เครื่องจะบู๊ต คุณอาจพบว่าเครื่องทำงานช้าลงและมีความเสถียรน้อยกว่าก่อนที่คุณจะยุ่งกับมัน
ชิปแรมมาพร้อมกับความถี่ที่แตกต่างกัน กล่าวคือความเร็ว หากคุณไม่รักษาความเร็วให้สม่ำเสมอมันก็เหมือนกับรถ Formula 1 ที่ชนชิเคนกะทันหัน ชิปที่ช้าจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับจากชิปใหม่และเครื่องของคุณอาจมีอาการค้างและขัดข้องมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณควรตรวจสอบหน้าการสนับสนุนสำหรับเครื่องของคุณและมองหาแรมความถี่ที่เร็วที่สุดเท่าที่เครื่องของคุณจะสามารถรองรับได้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
มีอีกสองสามอย่างที่คุณควรระวังเมื่อซื้อแรม CAS Latency มักแสดงเป็น CL หรือ CAS ซึ่งเป็นการวัดความหน่วง พูดง่ายๆคือเวลาที่หน่วยความจำต้องรอเพื่อส่งข้อมูลไปยัง CPU สิ่งนี้จะไม่สำคัญมากนักเว้นแต่คุณจะสร้างพีซีที่มีสเปคสูง แต่ก็น่าสังเกตว่า ยิ่งค่า CAS ต่ำลงเท่าใด เวลาในการตอบสนองก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น
เครื่องกระจายความร้อนก็คุ้มค่าที่จะมองหาเช่นกัน แม้ว่ามันจะไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญให้กับเครื่องของคุณได้ แต่การมีคุณสมบัตินี้สามารถช่วยลดความร้อนของหน่วยความจำซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานแรมของคุณได้
จำไว้เสมอว่าแรมเป็นสิ่งที่เปราะบางและต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการทำให้ถูกต้องในครั้งแรกจึงมีความสำคัญ ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่มักไม่ใส่ใจในการดึงแรมคืน เมื่อเอาแรมออกจากถุงป้องกันแล้วอาจแตกหักได้หากใช้งานผิดวิธีแม้เพียงเล็กน้อย
ข่าวดี คือ การอัปเกรดแรมสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ที่เฉื่อยชากลับมามีชีวิตอีกครั้งหรือแม้กระทั่งทำให้คอมพิวเตอร์ราคาถูกหรือสเปคต่ำ ให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่ในคอมพิวเตอร์ระดับท๊อปๆได้ ซึ่งมันยังสามารถปรับเปลี่ยนและใส่ได้ง่าย ที่จะทำให้คุณควรรู้สึกถึงความแตกต่างในการตอบสนองในครั้งต่อไปที่คุณเปิดเครื่องอย่างแน่นอน
ที่มา: https://bit.ly/2PEYOWR
สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © 2024 บริษัท ควิกเซิร์ฟ โปรไวเดอร์ จำกัด
124/124 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
โทรศัพท์ 0-2496-1234 โทรสาร 0-2496-1001