75 เปอร์เซ็นของงานในอนาคตต้องใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงภายในปี 2030
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
75 เปอร์เซ็นของงานในอนาคตต้องใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงภายในปี 2030

75 % ของงานในอนาคตต้องใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงภายในปี 2030



งานวิจัยเผยว่ารีครูทเตอร์มีแนวโน้มจะรับผู้สมัคร Gen Z มากขึ้นเนื่องจากความสามารถทางเทคโนโลยีของคนเหล่านี้
 
งาน 75% ในอนาคตจะต้องใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงภายในปี 2030 ในขณะที่ชาว Gen Z กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางดิจิทัลมากที่สุด

นี่คือคำกล่าวจากรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับผลกระทบที่ COVID-19 มีต่อโอกาสการจ้างงานคน Gen Z รายงานฉบับนี้เผยแพร่โดยสำนักให้คำปรึกษา Oxford Economics ซึ่งถูกจ้างวานโดยบริษัทกล้องและโซเชียลมีเดียชื่อ Snap

รายงานดังกล่าวอ้างว่า ภายในสิ้นทศวรรษนี้ งานจำนวน 75% จะต้องใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูง เนื่องจากนายจ้างกำลังมองหาความรู้ในสาขาต่าง ๆ เช่นด้านเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ซึ่งเป็นตลาดที่คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 10 เท่าภายในปี 2023

ยิ่งไปกว่านั้น รีครูทเตอร์ยังมีแนวโน้มจะจ้างผู้สมัครที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งและมีสิ่งที่เรียกว่า "ทักษะทางปัญญา" อย่างเช่นความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิเคราะห์อีกด้วย

นั่นหมายความว่าคน Gen Z ซึ่งในรายงานนิยามว่าเป็น ‘ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1995 ถึง 2010’ จะได้เปรียบมากกว่าคนในช่วงกลุ่มอายุอื่น ๆ เนื่องจากความสามารถด้านดิจิทัลของพวกเขาที่ได้รับมาจากการเติบโตอยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีนั่นเอง

ในความเป็นจริง แม้จะมีความกังวลว่าการศึกษาทางไกลที่เกิดจากข้อจำกัดของการล็อคดาวน์จะขัดขวางโอกาสในอนาคตของเยาวชน แต่รายงานของ Oxford Economics พบว่าการระบาดดังกล่าวไม่น่าจะขัดขวางโอกาสในการหารายได้และโอกาสในการจ้างงานระยะยาวของ Gen Z ได้แต่อย่างใด

เฮนรี เวิร์ธทิงตัน ผู้อำนวยการของ Oxford Economics กล่าวว่างานวิจัยชิ้นนี้ “ชี้ให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องหยุดการสอนแบบเน้นให้เยาวชนสั่งสมความรู้ แล้วเปลี่ยนเป็นการศึกษาที่รอบด้านมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้ความรู้ การมีความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิพากษ์”

“พูดง่ายๆก็คือ ในอนาคตอันใกล้ แรงงานจะต้องทำงานที่คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ นี่ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์แย่งงานในตลาดแรงงาน แต่เป็นการทำให้แน่ใจว่าเราได้ฝึกฝนให้คนรุ่นต่อไปได้คิดและทำงานในแบบที่คอมพิวเตอร์ไม่อาจทำได้” เขากล่าวเสริม

ในเรื่องของความคิดเห็นที่มีต่อผลรายงานนั้น แคลร์ แวโลติ รองประธานด้านต่างประเทศของ Snap เอ่ยว่า แม้คนรุ่นใหม่จะต้องเผชิญกับความท้าทายในปัจจุบัน แต่ “เราก็ยังสามารถมองโลกในแง่ดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราสามารถเตรียมเยาวชนให้พร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้”

“เทคโนโลยีอย่าง Augmented Reality นั้นมีศักยภาพในการเข้าแทรกซึมทุกด้านของสังคมและผลักดันให้เกิดความต้องการกลุ่มทักษะทางเทคนิกดิจิทัลและทักษะเชิงสร้างสรรค์แบบใหม่ ๆ ในทศวรรษหน้า ซึ่งมีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับ Gen Z ในแง่นี้ ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี AR จะยิ่งให้ความสำคัญมากกับทักษะการทำงานเชิงอ่อนที่มีอยู่ใน Gen Z ดังเช่นความคิดสร้างสรรค์ ความคล่องตัว และความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้” แวโลติกล่าวเสริม


ที่มา: https://bit.ly/3h21ZRP

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์