Hybrid Cloud คืออะไร
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
Hybrid Cloud คืออะไร

Hybrid Cloud คืออะไร?

Hybrid cloud: มันคืออะไร, ความจริงแล้วมันเป็นการนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดของทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ใช่หรือไม่?

 

Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Private Cloud และ Public Cloud ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกัน เพื่ออุดข้อเสียของ Cloud ทั้งสองรูปแบบนี้ และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจใช้ทรัพยากรการประมวลผลของระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และแอพพลิเคชั่นสำหรับกระบวนการบางอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์บัญชีเงินเดือน (Payroll Software) แต่เลือกที่จะใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญทางธุรกิจ โดยมีกุญแจสำคัญคือ Public Sphere และ Private Sphere ที่มีการเชื่อมโยงกันผ่านการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ (Encrypted Connection) ที่จะช่วยให้สามารถทำการรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัยระหว่างพวกเขา

 

Hybrid cloud อาจรวมถึงการจัดสรรทรัพยากรแบบไดนามิค (Dynamic Resource Allocation) และการย้ายข้อมูลระหว่าง Cloud (Migration among Clouds) นอกจากนี้ Hybrid Cloud ยังได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายได้ (Portability) เป็นหลัก โดยองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานหรือโยกย้ายถ่ายโอนปริมาณงาน (Workloads) ของคลาวด์ภายใต้การบริหารจัดการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (Unified Management)

 

ด้วยประโยชน์ที่มีให้ทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมา มันจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ต้องประหลาดใจ ที่ Hybrid Cloud ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นโมเดลกระแสหลักในอนาคต - กว่า 90% ขององค์กร ได้ให้ความคิดเห็นว่า Hybrid Cloud เป็นรูปแบบไอทีในอุดมคติ, จากรายงานการวิจัยโดย VansonBourne

 

IDC มีความเห็นพ้อง กับการคาดการณ์ที่ว่า ตลาด Hybrid Cloud จะโตขึ้น 20.5% ในปี 2021 โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของบริการด้านความปลอดภัย (Security Service) และการให้บริการข้อมูล (Data Service) ที่เป็นไปตามข้อกำหนด (Compliance)

 

สถานการณ์การใช้งานแบบ Hybrid Cloud 

มีหลายสาเหตุที่องค์กรอาจจะเลือกใช้งานสถานการณ์คลาวด์แบบไฮบริด (Hybrid Cloud Scenario) ยกตัวอย่างเช่น มันสามารถใช้เพื่อเป็นโฮสต์ (Host) สำหรับจัดการเว็บไซต์ผู้บริโภค (Consumer Website) ด้วยแอปพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์หรือฐานข้อมูลของเว็บไซต์ที่วางในซับเน็ตส่วนตัว (Private Subnet) ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ผ่าน Open Internet

 

นอกจากนี้มันยังสามารถนำมาใช้เพื่อส่งมอบเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application) ที่สามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ ในขณะที่ แอปพลิเคชั่นเหล่านี้สามารถดำเนินการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยในศูนย์ข้อมูลของลูกค้าของตัวเอง โดยใช้วิธีการเข้าถึงเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network: VPN) เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลที่สำคัญจะไม่สามารถถูกดักจับ (Intercept) และถูกเข้ารหัสได้อย่างสมบูรณ์

 

ระบบ Hybrid มักจะเป็นโซลูชั่นที่ทำงานได้ ก็ต่อเมื่อองค์กรไม่มีพื้นที่ว่างทางกายภาพ (Physical Space) เหลืออยู่ในศูนย์ข้อมูลของตนเอง ซึ่งสถาบันการเงิน (Financial Institutions) อาจตัดสินใจที่จะเรียกใช้งานการซื้อขายในศูนย์ข้อมูลใน Local Data Center เพื่อลดความล่าช้าในการตอบสนอง แต่กลับเรียกใช้แอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์บนบริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud Service)  เนื่องจากเวลาแฝงที่เพิ่มขึ้น (Increased Latency) จะไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอพพลิเคชั่นการวิเคราะห์

 

Hybrid Cloud อาจจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ Corporate Network ขององค์กร โดยมอบความปลอดภัยให้กับความสามารถที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีความจำเป็น สิ่งนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถย้ายแอพพลิเคชั่นขององค์กรไปสู่ระบบคลาวด์ครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดช่วงระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี หรือจนกว่าจะมีการถอนการติดตั้งฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แบบ In-House ในขณะที่มันหมดอายุการใช้งานและสร้างมูลค่าสูงสุดจากการลงทุนนั้น

 

ระบบ Hybrid ยังอาจให้ความจุสำรองสำหรับการกู้คืนความเสียหายในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ (Natural Disaster) หรือการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) เป็นต้น นอกจากนี้การเก็บสถานะของ Virtual Machine ไว้สำหรับการเรียกใช้ในภายหลัง หรือที่เรียกว่าการทำ Snapshots นั้น สามารถจัดเก็บไว้ในคลาวด์และเรียกใช้จากระยะไกลได้ ในกรณีที่เกิดความล้มเหลวอย่างรุนแรงในศูนย์ข้อมูลของบริษัทอย่างน้อยหนึ่งแห่งหรือมากกว่านั้น เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทกลับสู่สถานะออนไลน์ ข้อมูลบน Virtual Machine ก็สามารถที่จะทำการคัดลอกกลับมาได้ และบริษัทจะจ่ายแค่เฉพาะพลังประมวลผล (Compute Capacity) และการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นในระหว่างที่ระบบเกิดความขัดข้อง (Outage) เท่านั้น

 

มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่สร้างความสับสนให้กับ Multi-Cloud ด้วยระบบคลาวด์แบบไฮบริด (Hybrid Cloud)

ซึ่งก่อนหน้านี้มันเป็นคำกว้างๆ สำหรับการรวมกันของ ทรัพยากร (Resource) คลาวด์จากผู้ให้บริการที่หลากหลาย (Multiple Cloud) และด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถนำไปใช้กับเครื่องมือ (Tools) ในระบบคลาวด์ที่เฉพาะเจาะจง (Cloud-specific) เช่น สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Machine Learning ไปจนถึง Software as a service (SaaS) เป็นต้น

 

ข้อดี และ ข้อเสียของ Hybrid Cloud

หากมีการจัดการอย่างเหมาะสมกับระบบคลาวด์แบบ Hybrid ก็จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ที่มีความคิดแบบเก่าๆ สามารถที่จะมองเห็นข้อได้เปรียบของทั้งข้อดีและข้อเสียของ Hybrid Cloud ได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Data) ขององค์กร ก็ยังคงสามารถที่จะรักษาและจัดเก็บไว้ภายในศูนย์ข้อมูลของบริษัท โดยใช้วิธีการควบคุมอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือข้อมูลลูกค้าในแบบที่หลายๆ องค์กรต้องการ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงสามารถได้ประโยชน์จากการประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นและความยืดหยุ่นในการปรับขนาดที่เสนอโดยผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ

 

ในส่วนของคลาวด์สาธารณะ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่มักจะถูกนำมาใช้ในการส่งมอบภารกิจที่มีความสำคัญในระดับที่น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น แผนกทรัพยากรมนุษย์หลายแห่งใช้บริการคลาวด์สาธารณะเพื่อจัดการกับบัญชีเงินเดือนของพวกเขา อาจมีบ้างในบางครั้งที่แอปพลิเคชั่นเหล่านี้จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ (Cloud Infrastructure) แบบส่วนตัวของบริษัท แต่ Core Data ที่เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ก็ยังคงอยู่ภายในขอบเขตขององค์กร

 

ข้อเสียของวิธีการแบบ Hybrid ก็คือการจัดการทางด้านเทคนิค ที่ยากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เป็นแบบส่วนตัว (Private) หรือสาธารณะ (Public) ซึ่งแผนกไอทีจะต้องอุทิศทั้งเวลาและความพยายามในการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ, การกำหนดค่าและการวางแผนพัฒนาแบบผสมผสาน และอาจจำเป็นที่จะต้องปรับระบบภายในเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับระบบของบุคคลที่สาม (Third Party Systems)

 

นอกจากนี้ มันยังอาจทำให้บริษัทต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานเป็นครั้งแรกจากผู้ให้บริการภายนอก (External Provider) ในขณะที่ระบบอำนวยความสะดวกสำหรับกรณี Failover และ Backup Facility ในผู้ให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะที่มีชื่อเสียง ก็น่าจะมีแนวโน้มที่เหนือกว่าบริษัทของตัวเอง แต่ก็ยังเกิดปัญหาขัดข้อง และบริษัทก็จะต้องคำนวณความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational Risk) และความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk) ของแอปพลิเคชั่นทางธุรกิจ (Business Applications) ที่ไม่พร้อมใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

 

การรักษาความปลอดภัยก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่ง สำหรับ Hybrid Cloud ด้วยโครงสร้างพื้นฐานแบบผสมผสานทำให้เกิดเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Incident) ที่มีความรุนแรงยิ่งกว่าการใช้ประโยชน์จาก Cloud Hosting หรือการจัดการกับ Workload ด้วยระบบที่มีอยู่ภายในองค์กร (On-Premises) โดยมีการวิจัยของ Voice of the Enterprise จาก 451 Research ที่แสดงให้เห็นว่า 51.8% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีความเห็นว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) บนระบบคลาวด์แบบ Hybrid มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่น้อยกว่า ซึ่งจัดว่าเป็นข้อเสียในลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

 

อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีอีกหลายวิธีที่สภาพแวดล้อมคลาวด์แบบ Hybrid สามารถทำงานเพื่อปกป้องข้อมูลทั้งในระหว่างการโอนย้าย (In Transit) และในส่วนที่เหลือ แต่มาตรการเหล่านั้นอาจแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการ และอาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองความกังวลด้านความปลอดภัยของตลาดที่เฉพาะเจาะจง (Specific Markets) ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูลมักจะขัดแย้งกับความคาดหวังในยุคที่มีการเร่งการพัฒนาของคลาวด์ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีระบบคลาวด์แบบ Hybrid ที่สามารถทำให้นโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นไปโดยอัตโนมัติและรับประกันว่าพวกเขาจะปฏิบัติตาม ในขณะที่ยังคงเปิดใช้งานความสามารถแบบออนดีมานด์ (On-Demand) สำหรับพื้นที่จัดเก็บบนระบบคลาวด์แบบ Hybrid

 

การกำหนดงบประมาณสำหรับการติดตั้งระบบคลาวด์แบบ Hybrid อาจทำให้เกิดความซับซ้อนได้เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ผู้ให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะมอบความจุสำรองสำหรับการกู้คืนระบบ (Fallback Capacity) จากความเสียหาย หรือเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ขององค์กร ซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ถึงแนวโน้มความต้องการที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานแบบสาธารณะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมใช้งานของทรัพยากรในปัจจุบันของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ โดยความจุพิเศษนั้นอาจถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราผันแปร (Variable Rate)

 

นั่นอาจเป็นวิธีที่ได้ผลกับบริษัท ทั้งในแง่ของการสนับสนุนและคัดค้าน หากมีการใช้ Extra Capacity ก็สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาให้ตรงกับ Quiet period ของผู้ให้บริการคลาวด์ ซึ่งทรัพยากรพิเศษที่ว่านั้น อาจพร้อมให้บริการในอัตราที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามหากมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่มีการใช้งานมาก (Peak periods) บริษัทอาจถูกบังคับให้จ่ายเบี้ยประกันภัยเพื่อรักษาความพร้อมใช้งานของเครือข่ายองค์กร (Corporate Network) หรือแอปพลิเคชั่น ซึ่งมันอาจจะจบลงในสงครามการเสนอราคากับลูกค้าอื่นๆ ของผู้ให้บริการคลาวด์ เพื่อให้แน่ใจว่ามันมีความจุที่เพียงพอ เมื่อมีการซื้อขายบริการที่เรียกกันว่า Spot Instances เช่น Amazon EC2 

 

สำหรับธุรกิจที่เปิดกว้างในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ, Hybrid Cloud จะช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถมุ่งเน้นไปที่การนำเอา Digital Technology มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ (Digital Transformation) ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นว่า มีวิธีใดบ้างที่จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่จะใช้สำหรับการผสมผสานระหว่างการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายให้กับคลาวด์เทคโนโลยี (Cloud Technology) ที่สามารถเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความสามารถในการควบคุมภายใน (Internal Control) และความปลอดภัยที่นำเสนอโดยโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร (On Premise)

 

แต่ในการที่จะทำให้ Hybrid Cloud มีสภาพ Environment ที่ใกล้เคียงกับ Production แบบไดนามิก (Dynamic) อย่างแท้จริงนั้น มันจำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของกรอบ (Framework) ที่ครอบคลุมข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการจัดการนโยบาย (Policy Management) ที่สำคัญ โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งทางกายภาพ (Physical Locations) ของข้อมูลและ Mobile Workloads

ที่มา:
www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์