1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
Threadripper คืออะไร?
Threadripper คือกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ของ Ryzen ที่ออกแบบโดย AMD โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ Workstation มันเปิดขายครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2017 และใช้กับไมโครสถาปัตย์ Zen ที่ใช้ซ็อคเก็ต TR4
ใจความสำคัญ
· โปรเซสเซอร์ Threadripper มาพร้อมกับคอร์และเธรดจำนวนมาก ทำให้มันเป็นขุมพลังแห่งประสิทธิภาพ
· CPU เหล่านี้อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับการสร้างคอนเทนต์ดิจิทัล เล่นเกม การสตรีม การเรนเดอร์ 3 มิติ การบันทึก การตัดต่อวิดีโอแบบ Ultra HD การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหรือโปรแกรม CAD และอื่น ๆ
· Threadripper ถูกมองว่าจะเป็นรุ่นแห่งอนาคตสำหรับผู้ใช้ที่เน้นความทรงพลัง และอาจทำได้ถึงขั้นที่ทำให้ไม่ต้องใช้งานสองระบบควบอีกต่อไป
· Threadripper มีรุ่นเดสก์ท็อปสำหรับผู้บริโภคจำหน่าย ผู้ใช้สามารถปลดปล่อยพลังของ Threadripper ที่ก่อนหน้านี้สงวนไว้สำหรับคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชันโดยเฉพาะ
· โปรเซสเซอร์อันทรงพลังเหล่านี้มีหลายรุ่นและหลายแบบให้เลือกใช้ พร้อมฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากมาย
ทำความเข้าใจ Threadripper
Ryzen Threadripper หมายถึงเดสก์ท็อปและเวิร์กสเตชันประสิทธิภาพสูงตระกูล x86, 64-bit โดยโปรเซสเซอร์เหล่านี้มีประสิทธิภาพมาก และแข่งขันกับโปรเซสเซอร์ Xeon และ Core i7 จาก Intel ได้สบาย ๆ
สิ่งที่ทำให้โปรเซสเซอร์เหล่านี้มีประสิทธิภาพและความสามารถสูงก็คือจำนวนเธรดของมันนั่นเอง มีการใช้ได CPU หลายตัวเพื่อให้ทำสิ่งเหล่านี้ได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Simultaneous Multithreading ซึ่งโดยปกติแล้วโปรเซสเซอร์ Threadripper จะใช้ชิ้นส่วนไดที่คล้ายกันกับซีพียู Ryzen ทั่วไป แต่ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ด้านประสิทธิภาพ
Threadripper รุ่นที่ 2 ใช้วงจรไดแบบคู่ ส่วนรุ่นที่ 3 ใช้ควอดได โดยแผ่นไดเหล่านี้เชื่อมต่อกันผ่าน AMD Infinity Fabric ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้แผ่นไดหลายตัวเหล่านี้ใน CPU ทำงานเป็นหน่วยอย่างมีระบบ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกถ่ายโอนโดยใช้เวลาแฝงต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โค้ดเนม
โปรเซสเซอร์เฉพาะด้านเหล่านี้สามารถระบุตัวได้ง่ายเนื่องจากโค้ดเนมสุดโดดเด่นของพวกมัน โดยโค้ดเนมของพวกมันมีดังนี้ และยังมีรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตย์เฉพาะตัวของพวกมันอีกด้วย:
· ในเดือนสิงหาคม 2017 โปรเซสเซอร์ Threadripper ซึ่งมีโค้ดเนมว่า Whitehaven ที่ใช้ไมโครสถาปัตย์ Zen และซ็อคเก็ต sTR4 และเป็นโปรเซสเซอร์ระดับ 14 nm หรือ 14 LPP เริ่มวางขาย โดยมีจำนวนคอร์อยู่ที่ 8 – 16
· ในเดือนสิงหาคม 2018 โปรเซสเซอร์ Threadripper ซึ่งมีโค้ดเนมว่า Colfax ที่ใช้ไมโครสถาปัตย์ Zen+ ซ็อคเก็ต sTR4 และเป็นโปรเซสเซอร์ระดับ 12 nm หรือ 12 LP เริ่มวางขาย โดยมีจำนวนคอร์อยู่ที่ 12 – 32
· ในเดือนพฤศจิกายน 2019 โปรเซสเซอร์ Threadripper ซึ่งมีโค้ดเนมว่า Castle Peak หรือ CPK ที่ใช้ไมโครสถาปัตย์ Zen 2 ซ็อคเก็ต sTRX4 และเป็นโปรเซสเซอร์ระดับ 7 nm หรือ N7 เริ่มวางขาย โดยมีจำนวนคอร์อยู่ที่ 24 – 64
· ในเดือนมีนาคม 2022 โปรเซสเซอร์ Threadripper ซึ่งมีโค้ดเนมว่า Chagall ที่ใช้ไมโครสถาปัตย์ Zen 3 ซ็อคเก็ต sWRX8 และเป็นโปรเซสเซอร์ระดับ 7 nm หรือ N7 เริ่มวางขาย โดยมีจำนวนคอร์อยู่ที่ 12 – 64
โมเดล
โปรเซสเซอร์ Ryzen Threadripper มีโมเดลหลายรุ่น และทั้งหมดมีฟีเจอร์แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเราสรุปมาให้คุณที่นี่แล้ว
โมเดล 1900-Series (Zen) มีฟีเจอร์ดังต่อไปนี้:
· ตัวควบคุมหน่วยความจำแบบ Quad-channel สูงสุดถึง 512 GB ในแต่ละช่องสัญญาณ
· สายเลย PCI Express 3.0 กว่า 60 เลน โดยแบ่งเป็น 48 เลนสำหรับ GPU และอีก 12 เลนสำหรับ I/O
· มี Thermal Design Power (TDP) 125 วัตต์, 155 วัตต์, 180 วัตต์
· โมเดลยังรองรับสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งหลายอย่าง เช่น SMM, FPU, NX, MMX, SSE, SSE2, SSE3, SSSE3, SSE4.1, SSE4.2, AES, AVX, FMA3, AVX2 และ SHA
· โมเดลรองรับ AMD-V และ AMD-Vi, SMEP, Precision Boost, XFR และ SMT แบบ 2 ทาง
· มีขนาดแคชระดับ 3 ตั้งแต่ 16 MB ถึง 32 MB
โมเดล 2900-Series (Zen+) มีฟีเจอร์ดังต่อไปนี้:
· ตัวควบคุมหน่วยความจำแบบ Quad-channel สูงสุดถึง 512 GB ในแต่ละช่องสัญญาณ
· สายเลย PCI Express 3.0 กว่า 60 เลน โดยแบ่งเป็น 48 เลนสำหรับ GPU และอีก 12 เลนสำหรับ I/O
· Thermal Design Power (TDP) 180 วัตต์ หรือ 250 วัตต์
· โมเดลรองรับสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งหลายอย่าง เช่น SMM, FPU, NX, MMX, SSE, SSE2, SSE3, SSSE3, SSE4.1, SSE4.2, AES, AVX, FMA3, AVX2 และ SHA
· โมเดลรองรับ AMD-V และ AMD-Vi, SMEP, Precision Boost 2, Precision Boost Overdrive, XFR และ SMT สองทาง
· ขนาดแคชระดับ 3 ตั้งแต่ 32 MB ถึง 64 MB
โมเดล 3900-Series (Zen 2) มีฟีเจอร์ดังต่อไปนี้:
· ใช้ Quad-channel HEDT (High End Desktop Double Data Rate) หรือหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 3200 MHz และสูงถึง 256 GB พร้อม UDIMM 32-GB จำนวนแปดโมดูล
· WS Octa-channel DDR4 3200 MHz และรองรับหน่วยความจำ RDIMM, LRDIMM, UDIMM และ 3DS RDIMM ได้สูงสุดถึง 2 TB ด้วย LRDIMMs 256 GB จำนวนแปดตัว หรือ 3DS DIMMs
· HEDT I/O พร้อมสายเลน PCIe Gen 4.0 จำนวน 64 เลน โดยมีสายเลนจำนวน 8 สายที่ใช้สำหรับชิปเซ็ต TRX40
· WS I/O พร้อมสายเลน PCIe Gen 4.0 จำนวน 128 เลน โดยมีสายเลนจำนวน 8 สายที่ใช้สำหรับชิปเซ็ต WRX80
· Thermal Design Power (TDP) 280 วัตต์
· โมเดลรองรับสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งหลายอย่าง เช่น SMM, FPU, NX, MMX, SSE, SSE2, SSE3, SSSE3, SSE4.1, SSE4.2, AES, AVX, FMA3, AVX2, and SHA
· รองรับ AMD-V และ AMD-Vi, SMEP, Precision Boost 2 และ SMT แบบสองทาง
· แคชระดับ 3 ขนาด 64 MB, 128 MB และ 256 MB
โมเดล 5900-Series (Zen 3) มีฟีเจอร์ดังต่อไปนี้:
· ใช้ DDR4 3200 MHz แบบ Quad-channel รองรับหน่วยความจำ RDIMM, LRDIMM, UDIMM และ 3DS RDIMM สูงสุด 2 TB พร้อม LRDIMMs หรือ 3DS DIMMs 256-GB จำนวนแปดโมดูล
· I/O พร้อมสายเลน PCIe Gen 4.0 จำนวน 128 สายเลน โดยมีสายเลน 8 สายสำหรับเชื่อมต่อชิปเซ็ต WRX80 โดยเฉพาะ
· Thermal Design Power (TDP) 280 วัตต์
· โมเดลรองรับสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งหลายอย่าง เช่น SMM, FPU, NX, MMX, SSE, SSE2, SSE3, SSSE3, SSE4.1, SSE4.2, AES, AVX, FMA3, AVX2, PCLMULQDQ, SHA และ VAES
· รองรับ AMD-V และ AMD-Vi, SMEP, Precision Boost 2 และ SMT แบบสองทาง
· แคชระดับ 3 ขนาด 64 MB, 128 MB และ 256 MB
Threadripper ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ส่วนใหญ่ โปรเซสเซอร์ Threadripper ของ AMD จะเน้นเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้คลั่งไคล้และทำงานด้วยเวิร์กสเตชันและพื้นที่การใช้งานแบบอื่น ๆ ที่ต้องการจำนวนคอร์มากกว่าปกติ เช่น การเรนเดอร์ 3 มิติ การเขียนโค้ด แอนิเมชัน การออกแบบกราฟิก และงานที่เน้นใช้งาน CPU หนัก
โปรเซสเซอร์เหล่านี้ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้กระแสหลักโดยเฉพาะ เช่นกลุ่มวิศวกร สถาปนิก และนักสร้างโมเดล 3 มิติ ซึ่งต้องใช้งานโปรเซสเซอร์เพื่อสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้:
· เพื่อทำงานที่ต้องใช้ CPU หนัก ๆ
· เพื่อรองรับแอปพลิเคชันที่ใช้เธรดมาก ๆ
· เพื่อทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน
· เพื่อทำงานที่มีระดับประสิทธิภาพสูงขึ้น
· เพื่อให้สามารถปรับสเกลได้หลากหลาย สำหรับการฝึกฝนศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตน
· เพื่ออิสระเสรีที่มากขึ้นในการทำงาน
โดยหลักการแล้ว เวิร์กโหลดที่เน้นใช้งานฮาร์ดแวร์ Multi-Tracking และเน้นซอร์ฟแวร์ตัดต่อหนัก ๆ หรือทำงานที่ซับซ้อนในสภาพแวดล้อมแบบมืออาชีพ จะได้ประโยชน์จาก Threadripper มากกว่าทำงานด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป
โปรเซสเซอร์ที่ทรงพลังนี้ยังนิยมใช้สำหรับการประมวลผลวิดีโอโดยนักพัฒนากม สตูดิโอแอนิเมชัน ฟาร์มเรนเดอร์ มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมากมาย
เราสามารถรัน Threadripper โดยไม่ใช้ GPU ได้ไหม
ก็อาจทำได้ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับรุ่นของโปรเซสเซอร์ ตัวอย่างเช่น AMD Ryzen Threadripper 3990X จัดการทั้งหมดได้ด้วยซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องใช้หน่วยประมวลผล Dedicated Graphics หรือแม้แต่ใช้ ณIntegrated Graphics เลย
Threadripper รองรับ RAM เท่าไหร่?
เราต้องบอกอีกครั้งว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับรุ่นของโปรเซสเซอร์ Threadripper รวมถึงสเปคของเมนบอร์ดที่ว่าด้วย โดยปกติแล้ว Threadripper รุ่นทั่วไปจะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 256 GB
นี่เป็นเพราะเมนบอร์ดสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ซึ่งรองรับ CPU ของ Threadripper นั้ดูเหมือนว่าจะสนับสนุนจำนวน RAM สูงสุดถึง 256 GB
Threadripper ต้องใช้ RAM แบบเร็วหรือไม่
โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen Threadripper ก็เหมือนกับ CPU ส่วนใหญ่ที่ทำงานได้ดีขึ้นหากมี RAM ที่เร็วขึ้น โดยหลักการแล้วก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าใช้โมดูลที่มีความเร็วนาฬิการะหว่าง 2666 - 3200 MHz
ทำไมถึงต้องซื้อ Threadripper
คนมักซื้อโปรเซสเซอร์ AMD Threadripper เนื่องจากมันมีคอร์จำนวนมาก ซึ่งให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงและประสิทธิผลสูง รวมถึงมีความเร็วนาฬิกาสูง
CPU เหล่านี้มีประสิทธิภาพสูง และรองรับการทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ขณะทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนักหน่วง ซับซ้อน และทำงานอย่างมืออาชีพ แทบไม่มีงานไหนที่ Threadripper ทำไม่ได้ คนซื้อโปรเซสเซอร์นี้เพราะพลังของมันล้วน ๆ โดยโปรเซสเซอร์เหล่านี้ยังสามารถโอเวอร์คล็อกได้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อทำงานสร้างโมเดลที่ซับซ้อน เช่น การสร้างโมเดลสภาพอากาศ เป็นต้น
คนยังซื้อโปรเซสเซอร์รุ่นนี้เพราะมันมีฟีเจอร์ระดับแอนวานซ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นเจเนอเรชันหรือรุ่น โปรเซสเซอร์ นอกจากนี้ Threadripper ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ เช่น:
· มีคอร์มากสุดถึง 64 คอร์ และมากสุด 128 เธรด สำหรับจัดการเวิร์กโหลดเชิงสร้างสรรค์ด้วยความเร็วระดับสายฟ้าฟาด
· มีหน่วยความจำแคชสูงสุดถึง 288 MB สำหรับจัดเก็บชุดข้อมูลขนาดใหญ่และเปิดการเข้าถึงชุดข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างว่องไวยิ่งขึ้น
· รองรับหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 1 TB ที่ 2933 MHz ในรูปแบบ Quad-Channel ที่รองรับ Error Correction Code (ECC) และมี output ที่เชื่อถือได้
· มีสาย Peripheral Component Interconnect Express หรือสายเลน PCIe 4.0 สูงสุดถึง 88 เลนเพื่อตอบสนองความต้องการ NVMe และ GPU ที่มากขึ้น
ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้โปรเซสเซอร์เหล่านี้สามารถทำงานระดับไฮเอนด์ อย่างเช่น:
· การพัฒนาซอฟต์แวร์
· แมชชีนเลิร์นนิง
· CGI
· Distributed Computing
ดังนั้น โปรเซสเซอร์เหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการสูงในหมู่นักผลิตคอนเทนต์มืออาชีพ เกมเมอร์มืออาชีพ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และอื่น ๆ
Threadripper เครื่องร้อนแค่ไหน
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่คุณใช้ Threadripper ทำงาน และระยะเวลาที่คุณใช้งาน ตามหลักการ สำหรับเวิร์กโหลดปกติ CPU ที่ทำงานด้วยความเร็วเกิน 3 GHz จะมีอุณหภูมิระหว่าง 45 ถึง 48 องศาเซนติเกรด
อย่างไรก็ตาม ถ้าอัตราความเร็วนาฬิกาของคอร์ทั้งหมดพุ่งขึ้นไปมากกว่า 4 GHz อุณหภูมิเฉลี่ยอาจสูงถึง 62 องศาเซนติเกรด
Threadripper เหมาะกับเล่นเกมหรือเปล่า
ดี เรียกได้ว่า AMD Threadripper นั้นค่อนข้างดีเลยสำหรับการเล่นเกม ชิปประมวลผลของมันถูกออกแบบมาโดยมีประสิทธิภาพการเล่นเกมที่โดดเด่น เนื่องจากมีจำนวนคอร์เพิ่มขึ้น
Threadripper ใช้ขุดคริปโตได้หรือเปล่า
ใช้ได้ คุณใช้ Threadripper ขุดคริปโตได้ ตัวอย่างเช่น AMD Ryzen Threadripper 3970X ที่มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ 32 คอร์และ 64 เธรดนั้นเหมาะใช้ขุดคริปโตมาก รวมถึงขนาดแคชที่ใหญ่ขึ้นถึง 144 MB บน CPU ยังทำให้มันเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการขุดเหรียญคริปโต
Threadripper เหมาะกับการตัดต่อหรือเปล่า
ที่สุดเลยล่ะ ดูเหมือน AMD Ryzen Threadripper จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากถ้าใช้สำหรับงานตัดต่อและการเล่นเกม
มีเหตุผลดี ๆ อยู่หลายข้อที่ทำให้ Threadripper เหมาะสำหรับงานตัดต่อ นั่นก็คือ: โปรเซสเซอร์เหล่านี้มักมาพร้อมกับความเร็วนาฬิกาพื้นฐานที่เร็วกว่ามาก เทียบได้กับความเร็วระดับเทอร์โบ นอกจากนี้ มันยังมาพร้อมกับแคชที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเร็วขึ้นด้วย เนื่องจาก Infinity Fabric ซึ่งช่วยในส่วนของการจัดการงานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้โดยเฉพาะ ยิ่งมีจำนวนคอร์และเธรดมากขึ้นยิ่งดี และเพียงพอแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ใช้การเร่งความเร็ว GPU สำหรับงานโมชันกราฟิกและอัฟเตอร์เอฟเฟกต์
Threadripper ระบายความร้อนด้วยอากาศได้หรือเปล่า
ได้ Threadripper ระบายความร้อนด้วยอากาศได้ ซึ่งไม่ได้แค่ทำได้ แต่ยังใช้งานได้จริงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำให้คุณเพิ่มพัดลมตัวที่สองเสมอ จะได้ไม่เกิดปัญหาใด ๆ จากการที่อุณหภูมิถึงขีดจำกัดสูงสุด
บทสรุป
จำนวนคอร์และเธรดที่มากขึ้น รวมถึงหน่วยความจำแคชที่ใหญ่ขึ้น ทำให้โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen Threadripper จบงานได้เกือบทุกงาน มันค่อนข้างทรงพลังและรวดเร็วสำหรับการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน และผู้เชี่ยวชาญจะพบว่าตนจะได้สัมผัสประสบการณ์แบบเวิร์กสเตชันได้อย่างง่ายดาย ด้วยความสามารถในการปรับขนาดของโปรเซสเซอร์และอิสระที่มีให้
ที่มา: https://bit.ly/3YdWROr