USB Type C: ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
USB Type C: ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้

USB Type C: ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้

ในที่สุด USB-C ก็กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย, แต่มันคืออะไรกันแน่?, มันสามารถทำอะไรได้บ้าง? แล้วคุณจะอัพเกรดได้อย่างไร? ทั้งหมดนี้มีคำตอบ!!


 

ในปี 1996 กลุ่มบริษัทไอทีหลายรายได้มีการรวมตัวกันเพื่อสร้างมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบใหม่ ที่มีชื่อว่า Universal Serial Bus หรือ USB ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทุกประเภท เพื่อเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อความสับสนที่เกิดจากขั้วต่อคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายประเภท  มันถูกนำไปใช้อย่างรวดเร็วโดยผู้ผลิตสินค้า (Manufacturer) และผู้ใช้ (User) นั่นเป็นเพราะ USB แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อที่รวดเร็ว (Fast), เสถียร (Stable) และการเชื่อมต่อที่ไม่ยุ่งยากระหว่างอุปกรณ์

 

ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา USB ได้มีการสูญเสียความสามารถในการรองรับการเชื่อมต่อ (Universality) บางอย่าง 

ที่ทำให้มันเคยเหมาะสมตั้งแต่แรก เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ได้มีการใช้พอร์ตที่แตกต่างกัน (Full-size, Mini, และ Micro เป็นต้น) และสิ่งต่างๆ ที่ว่านี้ ก็เริ่มก่อให้เกิดความสับสนขึ้นมาอีกครั้ง

 

แม้ว่าจะมีการเปิดตัวกันไปแล้วเมื่อห้าปีก่อน USB Type-C  หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า USB-C นั้น เพิ่งเริ่มที่จะกลายมาเป็นกระแสหลัก (Mainstream) โดยมีปรากฏให้เห็นบนแล็ปท็อป (Laptop), เดสก์ท็อป PC (Desktop PC), สมาร์ทโฟน (Smartphone) และอื่นๆ หากคุณยังไม่เคยได้พบกับมัน คุณมีโอกาสที่จะได้พบกับมัน เร็วๆ นี้ อย่างแน่นอน

 

USB-C คืออะไร

USB-C ไม่ใช่มาตรฐาน USB อย่างแท้จริง (ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากกว่ารูปร่างและขนาดของตัวเชื่อมต่อ) ถ้าพูดถึงในทางเทคนิคแล้ว มันคือประเภทการเชื่อมต่อ USB เช่น USB Type-A (การเชื่อมต่อ USB แบบ Full-size ที่เป็นรูปแบบดั้งเดิม) และ USB Type-B (ด้วยรูปแบบที่หลากหลายที่สามารถพบได้ทั่วไปในปริ้นเตอร์) ที่มีมาก่อนหน้านี้

 

มาตรฐาน USB ถูกกำหนดโดยตัวบ่งชี้ที่เป็นตัวเลข (Numerical Indicator) เช่น USB 2.0 หรือ USB 3.2 และเกี่ยวข้องกับความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดที่รองรับเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฮาร์ดแวร์ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ผ่านพอร์ต USB-C ส่วนใหญ่ต่างก็มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรฐาน USB 3.2 Gen 2 ซึ่งมีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดที่ 10Gb/วินาที (ยังเป็นที่รู้จักกันในนามของ USB 3.1 หรือ USB 3.1 Gen 2) และผู้คนก็มักจะเข้าใจผิดว่าคำศัพท์สองคำนี้เป็นสิ่งที่ใช้แทนกันได้

 

คุณไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB-C เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากความเร็วของ USB 3.2 Gen 2 (เพราะการเชื่อมต่อ USB-A ที่ใหม่กว่าบางรุ่น ก็สามารถเข้ากันได้กับมาตรฐานดังกล่าว) แต่ USB-C ก็มีข้อได้เปรียบอื่นๆ เพิ่มเติมในตัวของมัน

 

คำอธิบายเกี่ยวกับมาตรฐาน USB

หากคุณสับสนและกำลังพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน USB ทั้งหมดที่กำลังถูกนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่ต้องกังวล เพราะมันเป็นพื้นที่ ที่เริ่มต้นด้วยความสับสนมากพอสมควร และมันก็ยิ่งทำให้ต้องสับสนมากขึ้นไปอีกจากการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด จากแนวทางการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการของ USB Implementers Forum (USB-IF)

 

กล่าวโดยสรุปคือ USB 3.0, 3.1 และ 3.2 ทั้งหมด จะถูกเปลี่ยนโฉมเป็นให้ “USB 3.2” รุ่นต่างๆ ซึ่งทางหน่วยงานด้านมาตรฐาน USB-IF (USB Implementers Forum) ออกมาเปิดเผยว่า สิ่งนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงความสับสนแม้ว่าทุกคนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ลองทำการตรวจสอบตารางอ้างอิงด้านล่าง ถ้าหากคุณกำลังมีปัญหาในการติดตามว่ามาตรฐานใดอ้างถึงระดับความเร็วสูงสุดที่เท่าไหร่

 

Thunderbolt 3

ราวกับว่าโลกของมาตรฐาน USB-C นั้นยังมีความสับสนไม่เพียงพอ เพราะยังมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออื่นที่ใช้ตัวเชื่อมต่อ USB-C นั่นก็คือ มาตรฐาน Thunderbolt 3 ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกัน (Co-developed) โดย Intel และ Apple และในปัจจุบัน Thunderbolt 3 ก็นับว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ USB ที่ทันสมัยที่สุด ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 40 Gb/วินาที

 

สิ่งนี้มีความหมายต่อผู้ใช้อย่างไร, เพราะนอกเหนือจากการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วขึ้นแล้ว ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ เช่น การเชื่อมจอแสดงผล 4K แบบ Daisy-Chain ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อจอแสดงผลหลายจอผ่านพอร์ตเดียว (Single Port) หรือในการเชื่อมต่อ GPU ภายนอก (External GPU) เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการแสดงผลของแล็ปท็อป

 

โดยทั่วไปแล้วพอร์ต Thunderbolt 3 จะถูกกำหนดโดยไอคอนรูปสายฟ้า (Lightning bolt) ที่อยู่ใกล้ๆ กับตัวพอร์ต และความเข้ากันได้ (Compatible) กับอุปกรณ์ USB-C อื่นๆ รวมถึงสามารถเข้ากันได้กับรุ่นที่เก่ากว่า (Backwards-compatible) ในส่วนของ Thunderbolt รุ่นก่อนหน้านี้ ผ่านทางอะแดปเตอร์

 

USB-C Charging

มาตรฐาน USB รุ่นเก่าเหมาะสำหรับการชาร์จอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำเท่านั้น เช่น สมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม USB-C สามารถรองรับมาตรฐาน USB Power Delivery ที่เป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า โดยสามารถรองรับพลังงานได้สูงสุดถึง 100W ซึ่งหมายความว่ามันสามารถจ่ายไฟให้อุปกรณ์อื่นๆได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นแล็ปท็อปที่ความต้องการมากเกินกว่า 100W ขณะเดียวกันก็ยังสามารถให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ภายนอก เช่น จอมอนิเตอร์ (Monitor) และ Docking Station เป็นต้น

 

ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ USB-C

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าประโยชน์ที่สำคัญของ USB-C นั่นก็คือ ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของมัน โดยความเร็วที่แท้จริงที่คุณสามารถเข้าถึงได้ผ่าน USB-C นั้น สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับความสามารถของฮาร์ดแวร์ที่คุณกำลังเชื่อมต่อ ซึ่งการเชื่อมต่อของ USB-C ส่วนใหญ่ จะสามารถรองรับการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงสุดที่ 10Gb/วินาที แม้ว่าพอร์ตที่เก่ากว่าอาจถูกจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 5Gb/วินาที

 

ถึงแม้ว่ามันจะยังคงล้าหลังกว่า Thunderbolt 3 ซึ่งเป็นมาตรฐานล่าสุด หรือ USB 3.2 ซึ่งให้ความเร็วสูงสุดที่ 20Gb/วินาที ก็ตาม และมันก็ยังเคยถูกนำมาสาธิตให้เห็นแล้วในปีที่ผ่านมา โดยบริษัทซอฟต์แวร์ Synopsys อย่างไรก็ตาม ก็ไม่น่าเป็นไปได้ ที่ USB 3.2 จะกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จนกว่าจะถึงปี 2020

 

USB-C ที่เชื่อมต่อแบบเสียบกลับด้านได้ (Reversible)

เหตุผลข้อหนึ่งที่มีการเชื่อมต่อ USB หลากหลายประเภทก็คือ ปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันมากมาย และคุณก็คงไม่ต้องการให้ซ็อกเก็ต USB-A แบบ Full-size อยู่บนสมาร์ทโฟนที่เก๋ไก๋ของคุณ เพราะมันคงจะไม่เข้ากัน ดังนั้น USB-C จึงมีขนาดเล็กและหลากหลาย ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เหมาะกับอุปกรณ์ทุกประเภท ตั้งแต่พีซีและแท็บเล็ต ตลอดจนกล้องและโทรศัพท์ (แม้ว่าจะไม่ใช่ iPhone) เนื่องจาก USB-C ได้กลายเป็นเรื่องที่ธรรมดามากขึ้นเรื่อยๆ คุณสามารถใช้เพียงแค่สายเคเบิลเพียงสายเดียวเท่านั้นสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณ อย่างไรก็ตามจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า คุณอาจจำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์ แบบ Wall Charger ซึ่งสามารถจ่ายไฟได้แรงกว่า Adapter ทั่วไป เพื่อชาร์จอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า

 

สิ่งที่น่ารำคาญอย่างหนึ่งสำหรับตัวเชื่อมต่อ USB รุ่นเก่าก็คือ พวกมันเข้ากันได้พอดีเพียงทางเดียวเท่านั้น บ่อยครั้งแค่ไหนที่คุณสามารถเสียบสาย USB ได้โดยที่ไม่ต้องพลิกกลับไปกลับมาเพื่อลองอีกข้างหนึ่ง และมั่นใจได้แค่ไหนว่าคุณสามารถเสียบถูกด้านในครั้งแรก ซึ่งในที่สุด USB-C ก็ขจัดความรำคาญนี้โดย ทำให้มันสามารถเสียบได้ทั้งสองด้าน ซึ่งคุณสามารถเสียบปลั๊กจากทางใดทางหนึ่งได้โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายที่จะเกิดจากการดื้อรั้นพยายามบังคับให้มันเข้าไปที่พอร์ตแบบผิดทาง นอกจากนี้ยังสามารถใช้พอร์ตเดียวกันที่ปลายทั้งสองด้าน ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญว่าคุณจะต้องจับปลายด้านไหน

 

USB-C Docking

การสนับสนุน USB-C สำหรับโปรโตคอลการเชื่อมต่อประเภทต่างๆ (เช่น HDMI และ DisplayPort) ก็ไม่จำเป็นต้องมีพอร์ตจำนวนมากบนพีซีและอุปกรณ์อื่นๆ และสิ่งนี้ก็มีประโยชน์อย่างมากสำหรับแล็ปท็อปที่มีรูปร่างบางเฉียบ ในขณะที่คุณสามารถใช้พอร์ต USB-C เพียงพอร์ตเดียวเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายๆ เครื่องได้  นั่นยังหมายความว่า คุณสามารถใช้สายเคเบิล USB-C เพียงเส้นเดียว เพื่อเชื่อมต่อแล็ปท็อปของคุณกับ Docking Station ได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น D6000 ของ Dell (159 ปอนด์) ที่จะให้พลังงานและชาร์จแล็ปท็อปของคุณ รวมทั้งส่งสัญญาณออกไปยังจอภาพ HDMI แบบมัลติมอนิเตอร์ ตลอดจนทำการเชื่อมต่อกับแป้นพิมพ์และเมาส์ USB และ Gigabit Ethernet ซึ่งจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ เชื่อมต่อแล็ปท็อปของคุณเข้ากับเครื่องโดยใช้สาย USB-C เพียงสายเดียว

 

ยังมีอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อ USB-C (USB-C dock) ที่ราคาถูกกว่านั้น เช่น USB C Hub (28.98 ปอนด์) ของเลอโนโว แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ได้ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับแล็ปท็อปของคุณ แต่มันก็ยังช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อจอภาพและยังมีในส่วนของพอร์ต USB อีกสามพอร์ตและตัวอ่านการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader) สองตัว ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเชื่อมต่ออย่างง่ายดายผ่านสาย USB-C เพียงแค่สายเดียว

 

USB-C ยังคงสามารถใช้งานร่วมกันได้กับมาตรฐานเดิม (Backwards Compatibility)

เห็นได้ชัดว่าคุณไม่สามารถเสียบสายเคเบิล USB-C เข้ากับซ็อกเก็ตแบบดั้งเดิม (USB-A) ได้ หรือแม้แต่ในทางกลับกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากมาตรฐาน USB สามารถรองรับความเข้ากันได้กับการเชื่อมอุปกรณ์เก่าและใหม่ (Backward Compatibie) อย่างสมบูรณ์ ทั้งหมดที่คุณจะต้องมีก็คือ อะแดปเตอร์สำหรับเชื่อมต่อโทรศัพท์แบบ USB-C ยกตัวอย่างเช่น แล็ปท็อปที่มีเพียงพอร์ต USB-A เท่านั้น อย่างไรก็ตาม โปรดระลึกไว้เสมอว่า แม้ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นพอร์ตที่ใช้มาตรฐานที่เก่ากว่า แต่มันก็จะเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสุดที่รองรับมาตรฐานของมันเท่านั้น ดังนั้น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวเข้ากับอุปกรณ์ USB-C จึงไม่สามารถทำให้มันทำงานได้เร็วขึ้นได้

 

ฉันจะได้รับ USB-C ได้อย่างไร?

หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่มีพอร์ต USB-C ไม่ต้องตกใจ เพราะนี่คือสามวิธีหลักในการเพิ่มการรองรับ USB-C:

 

ซื้ออะแดปเตอร์มาเพิ่ม

หากคุณต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB-C เข้ากับพีซี/แล็ปท็อปที่ไม่มีพอร์ต USB-C (หรือในทางกลับกัน) คุณสามารถใช้อะแดปเตอร์แบบเรียบง่าย ในกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้ว ทั้งหมดที่คุณต้องการก็คือ สายเคเบิลแบบ USB-C-to-USB-A (ดูเหมือนว่าสายนี้จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 6.49 ปอนด์) หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือ คุณสามารถใช้สายเคเบิล USB ที่มีอยู่ พร้อมกับอะแดปเตอร์ อย่างเช่น อะแดปเตอร์ Type C ของ Ailun (5.91 ปอนด์) เพื่อแปลงการเชื่อมต่อ USB-A ที่ปลายสายอีกด้านหนึ่งให้เป็น USB-C  

 

ทำการอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ : 

หากคุณต้องการเพิ่มขีดความสามารถของ USB-C อย่างเต็มรูปแบบให้กับพีซีเดสก์ทอป คุณสามารถติดตั้งการ์ด USB-C PCIe ลงในเมนบอร์ดของพีซีได้โดยตรง เพียงแต่ต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการ์ดที่คุณซื้อนั้นสามารถรองรับ USB 3.1 Gen 2 เพื่อการเชื่อมต่อที่เร็วที่สุด เช่น การ์ด PCI Express แบบ PCI-E to USB 3.1 ของ Inateck (21.99 ปอนด์)

 

ซื้อพีซีใหม่ : 

หากคุณกำลังจะตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ให้เลือกแบบที่จะมีพอร์ต USB-C ในตัว (Built-in) อย่างน้อยหนึ่งพอร์ต และโปรดจำไว้เสมอว่า คุณไม่เพียงแต่กำลังมองหาพอร์ต USB-C แต่ยังรวมถึงความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอีกด้วย กรุณาทำการตรวจสอบข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specification) ของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่คุณกำลังจะซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าพอร์ตต่างๆ สามารถรองรับมาตรฐาน USB 3.1 ซึ่งในบางครั้งสิ่งเหล่านี้จะมีตราสินค้ากำกับว่าเป็นประเภท  "SuperSpeed USB" และ "SuperSpeed USB+"

 

ก้าวต่อไปของ USB จะเป็นอย่างไร?

USB-C อาจจะเป็นสิ่งใหม่ล่าสุดในการเชื่อมต่อ แต่ในส่วนของเทคโนโลยีเองก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง USB 3.2 ก็ได้ให้สัญญาว่าจะเพิ่มความเร็วข้อมูลเป็นสองเท่าของมาตรฐานเก่า และเราก็คาดว่าจะเห็นอุปกรณ์ USB 3.2 ที่ออกสู่ตลาดในปีหน้านี้ ระหว่างนี้และต่อไป USB-C ก็มีแนวโน้มที่จะแพร่หลายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น Apple ที่เพิ่งเริ่มรวมพอร์ต USB-C เพิ่งเริ่มมีพอร์ต USB-C รวมอยู่ด้วยบน iPad Pros และ MacBooks แต่อย่างไรก็ตาม iPhones รุ่นล่าสุดก็ยังคงใช้การเชื่อมต่อแบบ Lightning ของ Apple แทน และนอกจากนี้ยังมีข่าวลือที่อาจเป็นไปได้ว่า iPhone 11 อาจจะยอมสละ Lightning เพื่อยกประโยชน์ให้แก่ USB-C แทน

 

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะหาโอกาสเพิ่มคุณสมบัติของตัวเองลงไปใน USB-C ยกตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมาพบข้อมูลว่า Microsoft ได้มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรในสหรัฐ สำหรับหัวชาร์จ USB-C ชนิดที่เป็นแม่เหล็ก (Magnetic USB-C) ที่น่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหาย ในกรณีที่คุณลืมถอดสายเคเบิลขณะที่มีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่ออยู่

ที่มา:
www.www.itpro.co.uk

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์