กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตราไหนที่ควรระวัง
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตราไหนที่ควรระวัง

กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตราไหนที่ควรระวัง

การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ปัจจุบันการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ชาวเน็ตต้องศึกษาและมีความรู้ติดตัวไว้ เนื่องจากในชีวิตประจำวันทุกคนย่อมวนเวียนใช้งานโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย การรู้กฎหมาย รวมถึงข้อควรระวังที่อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งตัวเองและผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ 

ที่มาที่ไปของ พรบ.การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ที่มาของพรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็เนื่องมาจากในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์โดยการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นการนำเข้าซึ่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง และรูปแบบวิดีโอ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยหลากหลายวัตถุประสงค์ ทั้งด้วยเจตนาการเปิดเผยข้อเท็จจริง การให้ความรู้ การโฆษณา ซึ่งเป็นเจตนาที่ดี รวมถึงเจตนาไปในทางที่ไม่ดี ทั้งด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง หลอกลวง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาและคดีความต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงได้ถูกบัญญัติขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบและกำกับดูแล มีเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบการกระทำความผิดและมีบทลงโทษหากเกิดการกระทำผิวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับบุคคล ส่วนรวม รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยของประเทศได้ 

ข้อบังคับที่ควรระวังใน พรบ.การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พรบ.การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับที่ประกาศใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 2 ปี 2560 ที่ถูกปรับปรุงจากฉบับเดิมในปี 2550 ซึ่งข้อควรระวังก็คือบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะโทษที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายตามพรบ.ฉบับนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก ได้แก่ 

  • มาตรา 12 การกระทำต่อข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ ความปลอดภัยสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งการกระทำโดยเจตนาและไม่เจตนาสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน ทำเกิดอันตรายกับผู้อื่น ไปจนถึงกรณีที่อาจทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต 
  • มาตรา 14 การบิดเบือนหรือปลอมข้อมูลทั้งหมด หรือแม้แค่บางส่วนที่เป็นเท็จที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการหมิ่นประมาท และการนำเข้าข้อมูลที่มีลักษณะลามกซึ่งผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ 
  • มาตรา 16 การตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพของบุคคลอื่น ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียหาย อับอาย หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งไม่ใช่แต่ผู้ที่นำเข้าข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นที่ถือเป็นผู้กระทำความผิด แต่ยังรวมถึงผู้ที่ทำการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลดังกล่าว ก็จะได้รับโทษตามที่ได้มีการบัญญัติเอาไว้ด้วย 

ที่สำคัญในพรบ.การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุดนี้ ยังได้ระบุบทลงโทษให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าเจ้าหน้าที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ทำผิดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นชาวเน็ตทั้งหลายจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือจากความคึกคะนอง อาจจะนำมาซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมายได้ การใช้ความรู้และสติปัญญาพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนการนำเข้าและส่งต่อไปยังเครือข่ายออนไลน์และโซเชียลมีเดีย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 

 

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์