จากการสำรวจ Digital transformation สามารถเผยให้เห็นจุดอ่อนของเครือข่าย
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
จากการสำรวจ Digital transformation สามารถเผยให้เห็นจุดอ่อนของเครือข่าย

จากการสำรวจ: Digital transformation สามารถเผยให้เห็นจุดอ่อนของเครือข่าย

 

ขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มเปิดใจยอมรับใน Digital Transformation บางคนก็พบว่าระบบเครือข่ายที่พวกเขาใช้อยู่นั้น มีขีดความสามารถที่จำกัดในการจัดการกับการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ (Cloud Connectivity) หรือการเข้าถึงของผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile)
 
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลหรือ Digital Transformation เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงหรือแม้แต่การปฏิวัติวิธีการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจหรือองค์กรมีความพร้อมในโลกดิจิตอลมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคลากรและกระบวนการต่างๆ ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน โดยมีเป้าหมายสูงสุดในเรื่องของการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
 
การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบดังกล่าวได้กลายเป็นกระแสหลัก ซึ่ง IDC ได้คาดการณ์ว่า 40% ของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีทั้งหมดในขณะนี้ มุ่งไปสู่โครงการ Digital Transformation โดยองค์กรต่างๆ อาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับความพยายามของพวกเขาตลอดปี 2019 ที่ผ่านมา
 
โครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation ของทุกๆ บริษัทย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางการตลาดและการขายของบริษัท ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละรายและทุกๆ คน หรือการสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นในช่องทางการขายและปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อมอบผลิตภัณฑ์และทรัพยากรที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า โครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นองค์กรดิจิตอล (Digital Transformation) นั้น จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างระบบเครือข่ายพื้นฐาน (Network Infrastructure) ขององค์กรหรือไม่
 
ยังมีหลายๆ บริษัทที่เข้าใจไปเองว่าเครือข่ายของพวกเขาสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขายังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะสามารถจัดการได้หรือไม่? นอกจากนี้พวกเขายังต้องตอบคำถามด้วยว่า วิธีการทำงานใหม่ๆ เหล่านี้ จะทำให้โครงสร้างระบบเครือข่ายพื้นฐานที่มีอยู่เดิมของพวกเขาต้องเปลี่ยนมาใช้ข้อกำหนดใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวหรือเปล่า? ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงระบบคลาวด์ (Cloud Access), ระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) และการติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobility)

 

การประเมินความเชื่อมั่นในระบบเครือข่ายหลังจากที่มีการทำ Digital Transformation

จากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีมากกว่า 1,300 คน กล้าที่จะให้ซักถามเกี่ยวกับผลกระทบของการทำ Digital Transformation ในเครือข่ายองค์กร (Enterprise Network) ของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคน หลังจากที่ได้ทำการสำรวจประจำปีครั้งที่สี่ของการสำรวจ WAN ในช่วยท้ายของปี 2019 ซึ่ง Cato Networks ก็ได้ออกรายงานเกี่ยวกับ Networking ในปี 2020 เรื่อง "การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของ Digital Transformation ที่มีต่อความเชื่อมั่นด้านไอทีในระบบเครือข่ายขององค์กร" โดยมี Steve Taylor ผู้จัดพิมพ์และหัวหน้าบรรณาธิการของ Webtorials.Com และ Dr. Jim Metzler ผู้อำนวยการของ Ashton, Metzler & Associates ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและวิเคราะห์ผลจากการสำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation โดยพวกเขาต่างมีข้อสังเกตที่น่าสนใจบางอย่างเกี่ยวกับที่นี่ในฐานะของผู้จัดการเครือข่าย
 
ในการศึกษาครั้งนี้ พวกเขาได้พิจารณาไปที่ระบบเครือข่าย (Networking) และการลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัย (Security Priorities) ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ในปี 2020 โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาพวกเขาพยายามที่จะบ่งชี้ว่าระบบเครือข่ายขององค์กรมีความพร้อมแค่ไหนสำหรับยุคดิจิตอล โดยผลการศึกษาจากรายงานฉบับนี้ได้กล่าวไว้ว่า "ธุรกิจสมัยใหม่นั้นมีข้อมูล (Data) และผู้ใช้ (Users) อยู่ในทุกๆ ที่" และมันก็เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา ที่จากระบบเครือข่ายขององค์กรที่จะต้องมอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยไปยังศูนย์ข้อมูล (Data Centers) และสำนักงานสาขา (Branch Offices) ดังนั้น พวกเขาจึงต้องมอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานระบบคลาวด์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน เพราะทั้งสองอย่างนี้จัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนถ่ายองค์กรสู่ยุคดิจิตอล (Digital Transformation Initiative)
 
ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 1,333 คน ต่างก็มีส่วนร่วมในการสำรวจเมื่อปลายปี 2562 โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดนั้นได้แก่ ผู้ที่ทำงานด้านไอทีและมีความเกี่ยวข้องกับการซื้อบริการโทรคมนาคมต่างๆ (Telco Services) สำหรับองค์กรที่มี SD-WAN หรือ MPLS เป็นหลัก (หรือ MPLS และ Internet VPN ผสมกัน) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้กล่าวว่า พวกเขาต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับปานกลางหรืออย่างมากในการทำ Digital Transformation
 
เราพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาต่างก็ทำงานให้กับบริษัทที่มีผลงานระดับโลกหรือระดับภูมิภาค และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามที่ทำงานให้กับบริษัทที่มีพนักงานจำนวนมากกว่า 2,500 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้กล่าวว่า องค์กรของพวกเขาดูแลพื้นที่มากกว่า 11 แห่งขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามยังมาจากบริษัทที่มีที่ตั้งมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งบริษัทของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดนั้น แสดงสถานะการใช้งานระบบคลาวด์ และส่วนใหญ่ก็จะมี Data Center แบบ Physical มากกว่าสองแห่งขึ้นไป
 
เพื่อเป็นการวัดผลกระทบจากการทำ Digital Transformation ที่เกิดขึ้นกับระบบเครือข่าย ในการสำรวจพวกเขาจะได้รับคำถามเชิงคุณภาพจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ (Characteristic) ของระบบเครือข่าย โดยคุณสมบัติแต่ละอย่างนั้น จะมีการศึกษาเฝ้าสังเกตที่ "ระดับความเชื่อมั่นของระบบเครือข่าย" นั่นก็คือ ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกมั่นใจมากขึ้นหรือน้อยลงในความสามารถของระบบเครือข่ายในพื้นที่นั้นๆ หลังจากที่มีการปรับใช้โครงการปฏิรูปดังกล่าว โดยผู้ที่ทำการศึกษาได้แบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามตามประเภทของเครือข่ายที่ใช้งาน ดังนี้  MPLS, ไฮบริด (MPLS และ VPN บนอินเทอร์เน็ต), SD-WAN หรือ SASE (Secure Access Service Edge) ซึ่ง SASE นั้น เป็นการผสานรวมกันของ SD-WAN และความสามารถด้านเครือข่ายอื่นๆ และการรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ จนเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับโลก (จากรายงานที่ตีพิมพ์ มีการเปิดเผยข้อมูลว่า Cato Networks ให้บริการ SD-WAN และเก็บค่าใช้จ่ายเองในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์ม SASE แรกของโลก)

 

ผลการวิจัยโดยรวม

เรากำลังจะได้รับผลลัพธ์เกี่ยวกับระดับความเชื่อมั่น (Confidence Level) ของระบบเครือข่าย ในไม่ช้านี้ แต่ก่อนอื่นจะให้ดูข้อมูลทั่วไปบางอย่างที่มีการเปิดเผยในรายงานฉบับนี้
 

  • มีการอนุมัติงบประมาณเพิ่มขึ้นในปี 2020 โดยผู้ตอบแบบสอบถามได้รายงานว่า มีการคาดการณ์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและงบประมาณด้านความปลอดภัยของพวกเขาที่จะมีการเติบโตในปี 2020 ซึ่งก็นับว่าเป็นข่าวดี เพราะเราจะต้องคำนึงถึงทั้งสองอย่างนี้มากขึ้น
 
  • การเชื่อมต่อเว็บไซต์ (Site Connectivity) ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ก่อให้เกิดความท้าทายด้านระบบเครือข่าย ในปี 2020 ซึ่งความท้าทายที่ว่านี้หมายรวมถึง ต้นทุนแบนด์วิชท์ (Bandwidth), ประสิทธิภาพการทำงานระหว่าง Location ต่างๆ และการจัดการระบบเครือข่าย
 
  • ความคล่องตัว (Mobility) ได้กลายเป็นกลยุทธ์สำหรับดึงดูดกลุ่มลูกค้าเครือข่าย นอกจากนี้ ความสำคัญของการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่และการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote Access) ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจประจำปีครั้งล่าสุด ซึ่งการจัดการกับความต้องการเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายด้านระบบเครือข่ายในอันดับต้นๆ
 
  • ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี WAN (WAN Transformation) ซึ่งองค์กรต่างๆ จะต้องมีกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย รวมถึงการป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น มัลแวร์ (Malware)/แรนซัมแวร์ (Ransomware), การบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยขององค์กรกับผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังต้องตระหนักถึงต้นทุนการซื้อและการจัดการอุปกรณ์และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยด้วยเช่นกัน
 
  • แอปพลิเคชันที่สำคัญที่สุดนั้นมีอยู่ในระบบคลาวด์ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าครึ่ง (60%) ของทั้งหมดได้ระบุว่า แอพพลิเคชั่นที่สำคัญที่สุดขององค์กรของพวกเขากำลังจะถูกโฮสต์ในระบบคลาวด์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้ ดังนั้น เรื่องนี้จึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อวิธีที่ผู้ใช้จะเข้าถึงคลาวด์ผ่านเครือข่าย WAN ของพวกเขา
 
  • ความคิดริเริ่มที่จะเปลี่ยนถ่ายองค์กรสู่ยุคดิจิตอล (Digital Transformation Initiative) เป็นตัวผลักดันให้มีการคิดทบทวนเกี่ยวกับระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิม ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีองค์กรที่ยังคงพึ่งพาบริการ MPLS (Multiprotocol Label Switching) โดยพวกเขาได้กล่าวว่า องค์กรของพวกเขากำลังวางแผนที่จะปรับใช้ SD-WAN (Software defined WAN) ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อลดต้นทุนและสนับสนุนโครงการทางธุรกิจ (Business Initiatives) ใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
 

การปรับเปลี่ยนองค์กรด้วย Digital Transformations กระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบเครือข่าย

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าทำไมองค์กรต่างๆ จึงละทิ้งการใช้งานผ่าน MPLS และบทเรียนใดที่จะได้รับจากโครงการเปลี่ยนแปลงระบบ WAN ต่างๆ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกขอให้จัดลำดับชุดข้อความที่ประเมินการรับรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับความคล่องตัว (Agility), การจัดการ (Management) และการดำเนินงาน (Operations) ตลอดจนประสิทธิภาพ (Performance) และความปลอดภัย (Security) ของระบบเครือข่ายของพวกเขา จากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามก็จะถูกจัดกลุ่มตามระบบเครือข่ายของพวกเขา เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นของระบบเครือข่าย ทั้งก่อนและหลังที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กรด้วยการทำ Digital Transformations
 
พบกรณีพิเศษที่ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงในระบบเครือข่ายของพวกเขา ภายหลังจากที่มีการทำ Digital Transformation ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ที่มีความเชื่อใจอย่างหนักแน่นเกี่ยวกับ MPLS เช่นเรื่องของสมรรถนะ (Performance) และมันก็เกิดขึ้นจริงแม้แต่กับระบบเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network) หรือบริการ SD-WAN ก็ตาม นั่นเป็นเพราะในขณะที่องค์กรนำเสนอโครงการดิจิตอลต่างๆ นั้น พวกเขาต่างก็ค้นพบจุดอ่อนในระบบเครือข่ายที่มีอยู่ของพวกเขา เช่น ความสามารถที่จำกัดในการจัดการการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ หรือการเข้าถึงของผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพา
 
นอกจากนี้ตามรายงานยังพบว่า ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามดำเนินการด้วยสถาปัตยกรรม SASE พวกเขาแสดงความมั่นใจมากขึ้น หลังจากที่มีการทำ Digital Transformation เนื่องจากการหลอมรวมของ SASE ด้วย SD-WAN ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และการเชื่อมต่อระบบคลาวด์รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีความคล่องตัวสูงเข้าด้วยกันนั้น มันมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการทำ Digital Transformation อย่างไรก็ตาม มันจะได้รับการยอมรับก็ต่อเมื่อมันเป็นไปตามข้อเรียกร้องของธุรกิจเท่านั้น
 
ย้อนกลับไปที่คุณสมบัติต่างๆ ของระบบเครือข่ายที่เกี่ยวกับความคล่องตัว, ความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดการและการดำเนินงาน แล้วลองมาดูกันว่าผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนมีการรับรู้อย่างไร ในแง่ของความมั่นใจในระบบเครือข่ายของผู้ตอบแบบสอบถาม
 

  • ความคล่องตัวของระบบเครือข่าย (Network Agility)
คุณสมบัติในข้อนี้ประกอบไปด้วยความสามารถในการเพิ่มไซต์ใหม่, การปรับใช้แบนด์วิดท์ที่มีอยู่, การเพิ่มทรัพยากรต่างๆ บนระบบคลาวด์ (Cloud Resources) และสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการทางธุรกิจโดยทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระบบเครือข่ายแบบ MPLS นั้น จะให้คะแนนความเชื่อมั่นในความคล่องตัวของระบบเครือข่ายที่ต่ำ แต่ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ปรับใช้ SD-WAN นั้น จะลดลงมากที่สุดเมื่อถูกถามเกี่ยวกับการส่งมอบที่รวดเร็วของโครงสร้างพื้นฐานของ Public Cloud ใหม่ ซึ่งในทางตรงกันข้ามก็เป็นจริง ด้วยเช่นกัน เพราะการเชื่อมต่อระบบคลาวด์ในตัวของ SASE เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ในความคล่องตัวของระบบเครือข่ายของพวกเขา หลังจากที่มีการทำ Digital Transformation
 

  • ระบบการรักษาความปลอดภัย (Security)
นี่เป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องผู้ใช้งานและทรัพยากรต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงระบบเครือข่ายพื้นฐาน (Underlying Network) ซึ่งระบบ MPLS ไม่ได้ช่วยปกป้องทรัพยากรและผู้ใช้งาน และแน่นอนว่าไม่ใช่ผู้ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทั่วไป หากแต่ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่ม MPLS ที่เป็นผู้นำเท่านั้น ที่มีความเชื่อมั่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญในระบบเครือข่ายของพวกเขา และหลังจากที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับใช้ในองค์กร (Digital Transformation) ในส่วนของผู้ที่ตอบแบบสอบถามของ SD-WAN นั้น พวกเขายังแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจที่ลดลงในเรื่องของความปลอดภัย (Security) หลังจากที่มีการทำ Digital Transformation โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นเพราะ SD-WAN ที่เป็นของตัวเองนั้น ล้มเหลวในการจำกัดการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจง หรือล้มเหลวในการจัดหาเครื่องมือความปลอดภัยขั้นสูงที่จำเป็นในการปกป้อง Edge ทั้งหมด ไปจนถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ  (Mobile Devices), ไซต์ (Sites) และ Cloud Resources ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นของ SASE นั้นเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการทำ Digital Transformation นอกจากนี้ การรวมตัวกันของบริการที่มีการรักษาความปลอดภัย (Security Stack) อย่างสมบูรณ์ก็ยังถูกเสริมเข้าไปในระบบเครือข่าย ซึ่งช่วยให้ SASE นำการควบคุมแบบละเอียดไปยังไซต์,อุปกรณ์เคลื่อนที่ และทรัพยากรต่างๆ บนคลาวด์
 

  • ประสิทธิภาพ (Performance)
การส่งมอบทรัพยากรคลาวด์อาจก่อปัญหาให้กับระบบ MPLS และ SD-WAN เนื่องจากผู้ใช้ต่างก็คาดหวังว่าประสบการณ์จากแอปพลิเคชั่นคลาวด์ (Cloud Application) ของพวกเขาจะสามารถตอบรับได้ดีเช่นเดียวกับแอปพลิเคชั่นแบบ On-Premise ที่ถูกติดตั้งภายในองค์กรของพวกเขา ซึ่งจุดนี้มีบทบาทสำคัญต่อความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ดังนั้นหากเมื่อไหร่ก็ตามที่ถูกถามว่า "ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถให้การเข้าถึงทรัพยากรบนคลาวด์ด้วยประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานที่เทียบเท่ากับทรัพยากรที่โฮสต์ภายในหรือไม่?" ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเครือข่าย MPLS, ไฮบริด WAN และ SD-WAN ต่างก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญภายหลังจากที่มีการทำ Digital Transformation แต่ในทางกลับกัน โซลูชั่น SASE ที่รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคลาวด์แบบดั้งเดิมนั้น จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบคลาวด์ได้ทันทีหลังจากทำการติดตั้ง ทำให้เจ้าของระบบเครือข่ายเหล่านั้นมีความมั่นใจมากขึ้นว่า พวกเขาสามารถส่งมอบในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ
 

  • การจัดการและการดำเนินงาน (Management and Operations)
ความเชื่อมั่นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับสูงก่อนที่จะมีการทำ Digital Transformation แต่พบว่าความเชื่อมั่นของพวกเขาลดลงภายหลังจากที่มีการทำ Digital Transformation ในเครือข่ายทุกประเภท ยกเว้น SASE ซึ่งจากการรายงานพบว่า การขาดการเชื่อมต่อของเครือข่ายในระยะสุดท้าย (Last Mile Connection) แบบซ้ำซากด้วย MPLS ทำให้ไซต์ไวต่อการตัดการเชื่อมต่อและปัญหา Last Mile อื่นๆ แม้ว่าการเพิ่ม Internet VPN ไปยัง MPLS จะช่วยปรับปรุงการเข้าถึงระยะสุดท้าย (Last Mile) แต่นั่นก็ยังไม่ได้ช่วยให้องค์กรสามารถทำการแก้ไขปัญหา Last Mile แบบอัตโนมัติไดเ โดยไม่เกิดช่วงเวลาการหยุดเดินของเครื่องจักร (Downtime) นอกจากนี้ยังพบว่า SD-WAN และ SASE สามารถเอาชนะปัญหา Last Mile ได้ดีขึ้น ด้วยการกำหนดค่าแบบ Active/Active
 
แผนยุทธศาสตร์ในการทำ Digital Transformation ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อย่าง ทั้งรูปแบบการรับส่งข้อมูลของระบบเครือข่าย, ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับแบนด์วิดท์, Location ที่เข้าถึง รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัย (Security Needs) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจจะเห็นได้ไม่ชัดจนกว่าโครงการจะถูกนำมาปรับใช้อย่างสมบูรณ์ โดยทุกๆ องค์กรต่างต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ให้ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ความคล่องตัวและการจัดการที่เพียงพอเพื่อรองรับ Digital Initiative ต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture) บางอย่างก็ดีกว่าในการเปิดโอกาสให้กับคุณสมบัติเหล่านั้นได้มากกว่าคนอื่นๆ
 
ดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานด้าน IT ที่ต้องการมั่นใจในความสามารถของระบบเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการในอนาคต จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ เช่น คลาวด์, ความคล่องตัวและระบบการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงกับเครือข่าย WAN ของพวกเขา
 
"Survey: Digital transformation can reveal network weaknesses" เรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่โดย Network World



ที่มา: https://bit.ly/36mRYcv
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์