ชีวิตช่วงล็อคดาวน์ เหตุใดเราจึงคิดถึงชีวิตการทำงานในออฟฟิศ
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
ชีวิตช่วงล็อคดาวน์ เหตุใดเราจึงคิดถึงชีวิตการทำงานในออฟฟิศ
ชีวิตช่วงล็อคดาวน์: เหตุใดเราจึงคิดถึงชีวิตการทำงานในออฟฟิศ





จากปัญหาการสื่อสารสู่ประเด็นความมั่นคงปลอดภัยในโลกออนไลน์– เมื่อ Work from Home ก็ทำให้เครียดได้

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ประกาศใช้มาตรการใหม่ท่ามกลางความพยายามที่จะชะลอการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ซึ่งมีอัตราการติดต่อเชื้อสูง ชีวิตเปลี่ยนไปจากวันต่อวันโรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วยรายใหม่ ในขณะที่ออฟฟิศหลายแห่งถูกทิ้งร้าง ร้านอาหารและร้านกาแฟต่างก็ปิดทำการ สถานีขนส่งสาธารณะหลายแห่งร้างคนเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี – หรือแม้กระทั่งในรอบหลายร้อยปีด้วยซ้ำ สำหรับพนักงานที่ยังโชคดีมีงานทำและต้อง Work from Home ชีวิตก็ต้องไปต่อไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ในขณะที่หลายๆโพสต์บนสื่อโซเชียลมีเดียเชิดชูความดีเลิศของการได้ทำงานในชุดอยู่บ้านตลอดทั้งวัน  work/life balance ของใครหลายคนก็กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง

ในวาระที่อังกฤษเข้าสู่สภาวะล็อคดาวน์ครบหนึ่งเดือนเต็มเป็นครั้งแรก พวกเราได้ไปทำการพูดคุยกับคนทำงานบางคนที่ยังรู้สึกถึงผลกระทบอันย่ำแย่จากการทำงานที่บ้าน พร้อมสอบถามว่าทำไมพวกเขาจึงตั้งหน้าตั้งตารอการได้กลับไปยังออฟฟิศอีกครั้ง


ผลิตภาพในการทำงาน – สิ่งที่หายไปท่ามกลางการสื่อสาร?

Work from Home เป็นอะไรที่โดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่คุ้นชินกับการใช้ชีวิต 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในสภาพแวดล้อมอันวุ่นวายที่ต้องติดต่อกับคนอื่นอยู่ไม่ขาด ชาร์ลี วอร์รัล ผู้ดูแลการตลาดออนไลน์ของบริษัทออกแบบเว็บไซต์ Imaginaire Digital ก็คิดถึงความเรียบง่ายที่ได้พูดคุยต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆเช่นกัน
“ผมไม่เคยทำงานแบบ Work from Home มาก่อน นี่จึงทำให้ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใหม่มาก และยิ่งทำให้ผมเห็นว่าจริงๆแล้วออฟฟิศของพวกเราดีขนาดไหน” วอร์รัลบอกกับ IT Pro ในมุมมองของเขา การขยับจากบทสนทนาวันต่อวันไปสู่พื้นที่ดิจิทัลนั้นส่งผลกระทบกับคุณภาพของการสื่อสารเป็นอย่างมาก

“ผมพบว่าบทสนทนาง่ายๆมักจะกลายเป็นเยิ่นเย้อกว่าเดิม เช่น แทนที่จะแค่หันไปถามคำถามกับคนข้างๆ ผมกลับต้องทำอะไรอย่างการส่งเมล์ ส่ง Whatsapp ไม่ก็ส่ง Slack ไปหาพวกเขา ถ้าพวกเขาไม่ตอบกลับมาสักพักผมก็จะโทรไปหา กว่าจะได้คำตอบที่ตัวเองต้องการ ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่สะดวกเอาเสียเลย แต่อย่างไรผมก็เข้าใจว่าเราต้องทำตามมาตรการในช่วงล็อคดาวน์และทำการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างจริงจัง”

เคอร์รี ชีฮาน หัวหน้าฝ่าย Content & PR ของ FSE Digital บริษัทดิจิทัลที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดเครื่องมือค้นหาออนไลน์ นับปัญหาทางเทคนิคและความเปลี่ยนแปลงในปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานเป็นข้อเสียหลักของการ Work from Home ในช่วงล็อคดาวน์

“พวกเราเป็นบริษัทดิจิทัล ดังนั้นก็แน่อยู่แล้วว่าพวกเราถนัดใช้เครื่องมือดิจิทัล แต่บางครั้งคนก็ชอบลืมว่าการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อทำการตลาดมันต่างจากการรู้เรื่องไอที ฉันเขียนเรียงความเล่าเรื่องความซับซ้อนขององค์ประกอบการทำ SEO On-Page ได้สบาย แต่ถ้า Outlook ตัวเองพังก็คงทำได้แค่เฟสไทม์ไปหาพวกฝ่ายไอที” เธอบอก

“สำหรับฉัน อีกอย่างก็คือในขณะที่พวกเราพยายามคงการติดต่อระหว่างกันไว้ คุณจะไม่ทราบว่าปฏิกิริยาแรกของคนอื่นเป็นอย่างไรเมื่อเขาได้ยินไอเดียของคุณ เราทุกคนมักจะทำตัวสุภาพเวลาติดต่องานทางอีเมล หรือถ้าต้องโทร เราก็มักจะรวบรัดทุกประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร แต่สำหรับฉัน ความเห็นที่ซื่อตรงที่สุดเวลาคนอื่นได้ยินไอเดียการตลาดใหม่ที่เรากำลังวางแผน มักจะเกิดขึ้นในปฏิกิริยาชั่วเสี้ยววินาทีที่คนคนนั้นไม่อาจควบคุมได้ตอนที่เขาได้ยินไอเดียคุณเป็นครั้งแรก”

เพื่อนร่วมงานของเธอ แซม มี้ด หัวหน้าฝ่าย SEO ก็เห็นด้วย “ต่อให้เรายังเชื่อมถึงกันผ่านทางเทคโนโลยี เราก็ไม่มีทางตะโกนข้ามออฟฟิศหรือเข้าไปไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบกับคนอื่นได้อีกแล้ว ไปๆมาๆ นี่ยังทำให้ส่วนหนึ่งงานโปรเจ็คชะลอตัวลง ซ้ำผลิตภาพในการทำงานยังถูกลดทอนลงไปบางส่วนอีกด้วย” เขากล่าว


ความมั่นคงปลอดภัยคือทุกอย่าง

ผลสำรวจจาก Atlas Cloud ผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการในสหราชจักรที่เน้นให้บริการโซลูชั่นคลาวด์และบริการโฮสติง  ชี้ให้เห็นว่าพนักงานเกินกว่าครึ่ง (57%) เชื่อว่าบริษัทของตนควรช่วยเหลือพวกเขาให้ทำงานได้ผลิตภาพมากกว่านี้ ในขณะที่พนักงานออฟฟิศจำนวนสี่ในห้า (79%) ซึ่งต้อง Work From Home เชื่อว่าการล็อคดาวน์พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประมาณหนึ่งในห้า (19%) บอกว่าพวกเขาต้องการให้บริษัทเร่งจัดการให้ตนเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงล็อคดาวน์

ปีเตอร์ วัตสัน CEO ของ Atlas Cloud เห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็น “การเปลี่ยนแปลงนิสัยการทำงานของชาวอังกฤษในชั่วข้ามคืนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา นับตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2” 

“ผลวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากนายจ้างของตนในการรับมือกับความท้าทายด้านเทคโนโลยีจากการที่ต้อง Work from Home” เขาบอก

หนึ่งในสามของพนักงาน (34%) กล่าวว่างานของพวกเขาได้รับผลกระทบจากอินเตอร์เน็ตบ้านที่ย่ำแย่ ในขณะที่ 24% บ่นว่าต้องลงชื่อเข้าใช้แพคเกจซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นที่แยกกันมากเกินไปขณะทำงานจากที่บ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งในห้ากล่าวว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงไฟล์งานที่ตนเองต้องการได้เมื่อทำงานจากที่บ้าน (22%) หรือบ่นว่าคุณภาพของแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแท็บเล็ตที่ใช้ใน Work from Home นั้นส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขา (20%)

การใช้เทคโนโลยีในการทำงานที่บ้านยังเป็นฝันร้ายของความมั่นคงปลอดภัย จากคำพูดของวัตสัน “พนักงานออฟฟิศอาจไม่สามารถ Work from Home ได้อย่างปลอดภัยเหมือนแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องธุรกิจไปจนถึงเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”

ลูกจ้างจำนวนถึงหนึ่งในสี่ใช้แล็ปท็อปส่วนตัวในการทำงานที่บ้าน ครึ่งหนึ่งยอมรับว่าพวกเขาเก็บไฟล์งานไว้ในอุปกรณ์ส่วนตัวของตน นี่ก่อให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจ
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นประเด็นที่ธุรกิจทั้งหลายต้องหาทางรับมือหากยังต้อง Work From Home กันอยู่ เพียงเดือนเดียว การล็อคดาวน์ในช่วงโคโรนาไวรัสก็เปลี่ยนภูมิทัศน์การทำงานในแบบดั้งเดิมไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ มันแสดงให้ทุกคนเห็นว่าการประชุมก็เป็นเพียงอีเมลได้

อันที่จริง - นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของวัฒนธรรมออฟฟิศในแบบที่เราคุ้นเคย เพราะพนักงานจะไม่มีวันได้กลับไปรวมยังโต๊ะของตนเองอีก ทว่าต่อให้การจราจรจะแสนเหนื่อย หรือตู้เย็นของโรงอาหารจะไม่มีนมถั่วเหลืองอย่างสุดจะน่ารำคาญ คนหลายคนก็ยังคิดถึงประสบการณ์ของการได้ทำงานร่วมกันตัวต่อตัว: ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมประเมินค่าไม่ได้ การพยักหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผ่านการตัดสินใจ เสียงหัวเราะเมื่อได้ยินมุกวงใน หรือการซุบซิบกันตรงเครื่องทำกาแฟ - ออฟฟิศที่รัก พวกเราคิดถึงคุณ



ที่มา: https://bit.ly/3duc86j

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์