ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”

ประธานบริษัทของ Google ได้กล่าวว่า “มันถึงเวลาที่ต้องควบคุม AI เสียที”



ศุนทัร ปิจไชให้เหตุผลว่ามันจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการป้องกันที่ดีในยุคแอพลิเคชั่น Deepfakes และระบบจดจำใบหน้าที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย


ศุนทัร ปิจไช ประธานบริหารของบริษัท Google and Alphabet ได้เรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดและการแพร่กระจายข้อมูลผิดๆ
แม้ว่าการทำงานของ AI จะเป็นไปในทางที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แต่ความเห็นล่าสุดของคุณปิจไชที่ตีพิมพ์ในไฟแนนเชียลไทมส์ ก็ได้แย้งว่า ทีผ่านมานั้นเต็มไปด้วยตัวอย่างความผิดพลาดทางเทคโนโลยีที่เราควรนำมาเป็นข้อควรระวังในการใช้ในปัจจุบันและอนาคต


"อินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้และรับข้อมูลจากที่ใดก็ได้ แต่มันก็ง่ายต่อการกระจายข้อมูลผิดๆด้วยเช่นกัน"
คุณปิจไชกล่าว
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า มันชัดเจนว่าบทเรียนที่ผ่านมานั้น เทคโนโลยีอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้อีกแน่นอน โดยที่เขาชี้ให้เห็นถึงเรื่อง "ความน่ากังวลที่แท้จริงเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจาก AI" รวมถึงแอพลิเคชั่น Deepfakes และระบบการจดจำใบหน้า ซึ่งเขาเชื่อว่าภาครัฐไม่ควรปล่อยให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้อย่างไร


“ผมไม่มีคำถามในหัวเลยว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นจำเป็นต้องได้รับการควบคุมหรือไม่ เพราะจริงๆแล้วเรื่องนี้มันมีความสำคัญมากเกินกว่าที่เราจะปล่อยปะละเลยกับมันได้ แต่ผมมีเพียงคำถามเดียวเลยก็คือเราจะริเริ่มมันได้อย่างไร”

คุณปิจไชยังได้กล่าวถึงหลักการ AI ของ Google ซึ่งชี้ว่า AI ควรถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางสังคมในการหลีกเลี่ยงอคติ การสร้างความปลอดภัยและความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้คนคงอยู่ในหลักวิทยาศาสตร์และรวมถึงความเป็นส่วนตัวที่สามารถออกแบบเอง ตลอดจนถึงความพยายามในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับทดสอบ AI อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าหลักการ AI ของ Google และคณะกรรมการจริยธรรมด้าน AI ได้ก่อตั้งขึ้นหลังจากมีผลสะท้อนกลับอย่างรุนแรงจากกลุ่มความเป็นส่วนตัวและพนักงานบริษัทของตัวเองหลังจาก Google ลงนามข้อตกลงกับ Pentagon เพื่อใช้ AI ในการวิเคราะห์ภาพจากโดรนหนึ่งปีให้หลัง และต่อมา Google ได้ปฏิเสธที่จะต่ออายุสัญญาดังกล่าวและแจ้งว่าจะไม่ใช้ AI ในการสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่จะยังคงทำงานร่วมกับกองทัพต่อไป

แนวทางภายในหน่วยงานเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ คุณปิจไชยอมรับว่าเขาเรียกร้องให้รัฐบาลออกข้อบังคับการใช้งาน AI โดยชี้ให้เห็นว่า GDPR หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปสามารถทำหน้าที่เป็น "รากฐานที่แข็งแกร่ง" เพื่อพัฒนากรอบการทำงานแบบใหม่ให้แก่ AI
"ข้อบังคับจะสามารถเป็นแนวทางในการใช้งาน AI ได้อย่างกว้างขวางในขณะที่ภาครัฐเริ่มอนุญาตให้มีการปรับใช้ในภาคส่วนต่างๆ และสำหรับการใช้งาน AI บางประเภท เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการควบคุม รวมถึงเครื่องช่วยตรวจหัวใจโดย AI กรอบการทำงานที่มีอยู่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่สำหรับพื้นที่การทำงานแบบใหม่ เช่น ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง รัฐบาลจะต้องกำหนดข้อบังคับใหม่ที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด” ปิจไชกล่าว

ในขณะที่ Google กำลังเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้ AI แต่พวกเขาเองกกลับมีข้อพิพาทกับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาลเช่นกัน เพราะอันที่จริงถึงแม้ว่าปัจไชจะชูการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) แต่ Google เองกลับถูกลงโทษให้จ่ายค่าปรับเนื่องจากละเมิดกฎการคุ้มครองข้อมูล และในปี 2561 บริษัทได้ก้าวล้ำบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ในการวิ่งเต้นรัฐบาล แม้จะมีผู้นำเทคโนโลยีรายอื่นหลายรายกำหนดบันทึกการใช้จ่ายในปีนั้นแล้วก็ตาม

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์