รู้จัก ข้อผิดพลาด HTTP 503 พร้อมวิธีแก้ไข
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
SOLUTIONS CORNER
รู้จัก ข้อผิดพลาด HTTP 503 พร้อมวิธีแก้ไข

รู้จัก ข้อผิดพลาด HTTP 503 พร้อมวิธีแก้ไข

https 503

ยังไม่แน่นอนว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหานี้ แต่มีวิธีแก้ไขที่สามารถทำให้เว็บไซต์กลับมาปกติได้
 
ข้อความแสดงข้อผิดพลาด 503 อาจเป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่น่าหงุดหงิดที่สุดที่พบเมื่อพยายามเข้าถึงเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่ในฐานะนักพัฒนาแต่ในฐานะผู้ใช้ทั่วไปด้วยเช่นกัน
 
เช่นเดียวกับข้อผิดพลาด HTTP อื่นๆ รวมไปถึงข้อผิดพลาดเกตเวย์ 502 ที่คุณไม่มีทางจะบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น หากคุณไม่ได้เป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าหมายเลขข้อผิดพลาดจะมีประโยชน์กับคุณมากพอๆ กับเว็บไซต์เสียที่คุณกำลังพยายามเข้าถึง
 
อย่างไรก็ตามมีขั้นตอนบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อลองแก้ไขปัญหานี้ดู ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหาเกิดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เบราว์เซอร์พยายามเข้าถึง
 

ข้อผิดพลาด HTTP 503 หมายถึงอะไร 

ข้อผิดพลาด 503 จะปรากฏขึ้นเมื่อมีบางสิ่งขัดขวางไม่ให้เบราว์เซอร์เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์เป้าหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเซิร์ฟเวอจะไม่สามารถจัดการกับคำขอข้อมูลได้แม้ว่าจะไม่สามารถระบุเหตุผลได้อย่างชัดเจนก็ตาม
 
โดยปกติ ข้อผิดพลาดมักจะมาพร้อมกับการดำเนินการที่แนะนำจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้น แม้ว่าหนึ่งในนั้นจะเป็นเพียงการพยายามเข้าถึงเว็บไซต์ในภายหลัง ในขณะที่คำแนะนำนี้อาจทำให้คุณหงุดหงิดและไม่มีประโยชน์ในการช่วยคุณแก้ปัญหาสักเท่าไหร่ หากแต่ก็ยังดีกว่าบางเว็บไซต์ที่แสดงหน้าข้อผิดพลาดเปล่าๆ โดยไม่บอกอะไรคุณเลย
 
 

อะไรทำให้เกิดข้อผิดพลาด HTTP 503

 
เช่นเดียวกับกรณีของข้อผิดพลาดเกตเวย์ที่ไม่ถูกต้อง 502 การวินิจฉัยสาเหตุของข้อผิดพลาด 503 นั้นทำได้ยาก แต่โดยปกติแล้วจะเป็นกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนเว็บไซต์ที่คุณกำลังพยายามเข้าถึง
 
สาเหตุส่วนใหญ่ของข้อผิดพลาด 503 คือรายละเอียดในการสื่อสารระหว่างเซิร์ฟเวอร์และเว็บไซต์ที่สนับสนุน ส่งผลทำให้เว็บไซต์นั้นไม่สามารถจัดการต่อคำขอข้อมูลใดๆ จากเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ตามกำหนดเวลาหรืออาจเป็นปัญหาทางเทคนิคที่ไม่คาดคิด หากเป็นอย่างหลังคุณอาจพบว่าเว็บไซต์บางแห่งได้หยุดให้บริการมากกว่าเว็บไซต์อื่นๆ อยู่เป็นประจำ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผู้ให้บริการโฮสติ้งของพวกเขานั้นไม่เพียงพอ
 
นอกจากนี้ข้อผิดพลาด 503 อาจเกิดขึ้นได้หากเซิร์ฟเวอร์ยังคงออนไลน์อยู่แต่ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับจำนวนคำขอที่เข้าชมเว็บไซต์ สิ่งนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมต่ำจู่ๆก็มีผู้ใช้ใหม่หลั่งไหลเข้ามา และด้วยปริมาณการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นนี้อาจมาจากผู้ใช้แห่กันเข้ามาที่ไซต์ เช่น เมื่อมีดีลส่งเสริมการขาย อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหล่านี้อาจเกิดจากการเข้าชมที่เป็นอันตรายได้เหมือนกัน เช่น การโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ (DDoS) แบบกระจาย
 
นอกจากนี้เว็บแอปที่กำหนดค่าไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด 503 ขึ้น เช่นความขัดแย้งของปลั๊กอินที่เกิดจาก WordPress
 
ข้อผิดพลาด 503 ปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือปัญหาของเซิร์ฟเวอร์ DNS เอง
 
อย่างไรก็ตาม การหาสิ่งที่ผิดพลาดอย่างแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้เว็บไซต์กลับมาออนไลน์ได้ดีที่สุด
 

วิธีแก้ไขข้อผิดพลาด HTTP 503


วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือการรีเฟรชหน้าไซต์และดูว่าสามารถนำกลับมาได้หรือไม่
 
คุณยังสามารถลองรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์ของคุณ หากข้อความแสดงข้อผิดพลาดแสดงว่า "Service Unavailable - DNS Failure" เป็นไปได้ว่าอาจมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการกำหนดค่า DNS ของคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์ หากเป็นปัญหาที่เราเตอร์สามารถแก้ไขได้โดยการรีสตาร์ท แต่ถ้าในกรณีที่มีปัญหากับเซิร์ฟเวอร์ DNS ที่เลือก อาจแก้ไขได้โดยเลือกเซิร์ฟเวอร์ DNS อื่นที่จะใช้แทน
 
อย่างไรก็ตามหากข้อผิดพลาด 503 เป็นผลมาจากปัญหาฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ในฐานะผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์คุณไม่สามารถแก้ไข้ปัญหาหรือทำอะไรได้มากนัก
 
หากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รายงานข้อผิดพลาด HTTP 503 เป็นประจำ ผู้ดูแลระบบจะต้องแก้ไขปัญหาและค้นหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม และหากจำเป็นก็ต้องมีการอัปเดตสำหรับเว็บไซต์ให้กำหนดเวลาที่แม่นยำกว่านี้เพื่อไม่ให้ผู้ใช้เห็นข้อความนี้เป็นประจำ
 
หากปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดข้อผิดพลาด อาจถึงเวลาที่ต้องเพิ่มทรัพยากรเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมชม
 
หากข้อผิดพลาดเกิดจากการโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ (DDoS) คุณควรติดต่อผู้ให้บริการโฮสติ้งเพื่อดูว่าจะมีการบรรเทาความเสียหายใดได้บ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก คุณอาจต้องดูที่การเพิ่มความปลอดภัยหรือการใช้โปรแกรมแก้ไขที่แฮกเกอร์อาจใช้เพื่อโจมตีเว็บไซต์ของคุณและทำให้เป็นแบบออฟไลน์ ทั้งนี้ผู้ให้บริการโฮสติ้งหลายรายมีการป้องกัน DDoS ซึ่งสามารถจำกัดจำนวนผู้ใช้ที่จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ตลอดเวลา
 
สุดท้ายนี้หากข้อผิดพลาดเกิดจากข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อระบุปัญหาและดำเนินการเพื่อแก้ไขต่อไป


ที่มา: 
https://bit.ly/3tYaena
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์