1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
เมื่อปิด firewall เสี่ยงอันตรายต่อการถูกโจมตีทางคอมพิวเตอร์หรือไม่
เมื่อปิด firewall เสี่ยงอันตรายต่อการถูกโจมตีทางคอมพิวเตอร์หรือไม่
การถูกโจมตีทางคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป ด้วยข้อมูลการทำงานหรือข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญมักถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ถูกโจมตีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์กระจายสัญญาณในเครือข่ายขององค์กร มักจะติดตั้ง firewall ไว้สำหรับป้องกันการถูกโจมตี มันจะทำหน้าที่บล็อกการเข้าถึงบางเว็บไซต์หรือป้องกันตัวข้อมูลบางอย่างไม่ให้เข้ามาได้ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกไม่สะดวกในการใช้งาน เพราะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบางอย่างที่ firewall ตั้งค่ากรองไว้ จึงได้เข้าไปตั้งค่า ปิด firewall ซึ่งถือว่าเปิดโอกาสให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้น
หน้าที่หลักของ firewall และความเสี่ยงที่ต้องเจอเมื่อ ปิด firewall
Firewall คือซอฟต์แวร์ที่ถูกติดตั้งในระบบปฏิบัติการหรือฮาร์ดแวร์ที่เป็นอุปกรณ์ของระบบเครือข่าย มีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือภายในเครือข่าย สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล หากเป็นผู้บุกรุกจะไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เพราะ firewall จะตรวจสอบผู้ใช้ก่อนเข้าถึงข้อมูล การมี firewall ที่สามารถสร้างการป้องกันระหว่างอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ไม่ถูกโจมตี แต่การปิด firewall จะทำให้เกิดช่องโหว่งที่แฮคเกอร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีความอันตรายเข้าถึงตัวคอมพิวเตอร์ได้ เพราะบางที่สิ่งที่คอมพิวเตอร์ได้รับอาจจะเป็นมัลแวร์ที่จะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยไม่รู้ตัว firewall ก็เหมือนการตั้งการ์ดนั่นเอง ถ้าเราปิด firewall ก็เหมือนเราลดการ์ดให้ต่ำลง โอกาสที่จะถูกต่อยและได้รับบาดเจ็บก็มากขึ้น
ถ้าจำเป็นต้องปิด firewall สามารถทำได้อย่างไร
หลายคนคงสงสัยว่า ในเมื่อการปิด firewall ดูเป็นเรื่องอันตราย ทำไมจึงมีคนถามถึงวิธีการปิดและต้องการปิด ในส่วนนี้อาจจะมีเหตุผลหลายอย่าง เช่น บางโปรแกรมอาจจะต้องอาศัย port บาง port สำหรับรันโปรแกรม ซึ่งเป็น port ที่ถูกปิดโดย firewall ไว้ หรือการตั้งค่า firewall ของบางหน่วยงาน ตั้งค่าด้วยการปิดไว้ทุก port ทำให้ใช้งานไม่สะดวก จริง ๆ แล้วถ้าจำเป็นการสามารถเปิด port บางอันในการใช้งานโปรแกรมที่ต้องการได้ หรือถ้าเห็นว่าการ์ดของ firewall ตั้งสูงไป จะเชื่อมต่อกับข้อมูลต่าง ๆ ก็รู้สึกไม่สะดวก อาจจะปิด firewall และใช้การติดตั้ง Antivirus ป้องกันการถูกโจมตีแทนก็ได้ หรือบางหน่วยงานมี firewall ของเครือข่ายอยู่แล้ว อาจจะปิด firewall ของระบบปฏิบัติการก็ได้ เพราะบางที firewall บนระบบปฏิบัติการก็บล็อกการทำงานพวกรีโมท ทำให้ฝ่าย IT ดูแลผู้ใช้งานไม่ค่อยสะดวก แบบนี้ปล่อยให้ firewall ของบริษัททำหน้าที่ป้องกันข้อมูลนั้นดีกว่าอยู่แล้ว
ชื่อของ firewall ก็ตรงตัวว่าเป็นกำแพง ซึ่งอาจจะมีความหนาและแข็งแรง แต่ถ้าทำให้เราทำงานหรือใช้งานไม่สะดวกแบบที่เราต้องการ เราสามารถปิด firewall เพื่อเปิดบางช่องทางเพื่อให้ข้อมูลถูกส่งผ่านมาได้ หรือจะใช้วิธีอื่นเพื่อทำการกรองข้อมูลแทนก็ได้ ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นได้ด้วยเช่นกัน