ทำความรู้จักกับ HPE SimpliVity ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
ENTERPRISE IT UPDATE
ทำความรู้จักกับ HPE SimpliVity ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักกับ HPE SimpliVity ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมงานของเราได้มีโอกาสเดินทางไปที่เมือง เวสต์โบโรห์, รัฐแมสซาชูเซตส์ (ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบอสตัน) เพื่อเยี่ยมชมบ้านเดิมและก็ยังคงเป็นบ้านในปัจจุบันของ HPE SimpliVity เราได้พบกับ Vinay Jonnakuti ผู้รับหน้าที่เป็น Senior Technical Marketing Manager และ Chuck Wood ที่ทำหน้าฝ่าย Product Marketing ให้กับ HPE ซึ่งทั้งสองคนนี้อยู่กับทีม SimpliVity มาตั้งแต่แรก โดย SimpliVity เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2009 และเป็นการปฏิวัติระบบดั้งเดิม ด้วยการออกแบบสิ่งที่กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper-Converged (HCI) และตอนนี้ก็ครบสองปีแล้ว หลังจากที่ HPE ได้มีการประกาศเข้าซื้อกิจการของ SimpliVity จนถึงตอนนี้การแข่งขันก็คงยังดำเนินต่อไป ในฐานะทีม SimpliVity ที่ยังคงเดินหน้าเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในสำนักงานดั้งเดิมของพวกเขา โดยได้รับการสนับสนุนจาก HPE นอกเหนือจากการเป็นบริษัทขนาดใหญ่แล้ว HPE ก็ยังมีในส่วนของแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ชั้นนำมากมายที่จะเป็นพื้นฐานไปสู่ความสำเร็จของ HPE SimpliVity

 

HPE SimpliVity 380

จากมุมมองด้านฮาร์ดแวร์ HPE SimpliVity ได้กลายเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของเซิร์ฟเวอร์ HPE รุ่นใหม่ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่พวกเขาก็ยังคงให้การสนับสนุนเซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าๆ ที่มี HPE เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนถึงเจตนาที่จะทำงานร่วมกับสายผลิตภัณฑ์ของ ProLiant และ Apollo ต่อไป อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อช่วยให้กระบวนการตรวจสอบและสนับสนุนทำได้ง่ายขึ้น แม้ว่าโดยพื้นฐานในแง่ของฮาร์ดแวร์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มากนัก โดย Mainline ของ HPE SimpliVity 380 ก็คือ HPE ProLiant DL380 Gen10 Server ขนาด 2U ซึ่งระบบนี้จะต้องใช้ HPE OnmiCube Accelerator Card เพื่อช่วยในการ Off-load CPU ไปยัง ASIC (Application-Specific Integrated Circuit) ที่พวกเขากำหนด ในกระบวนการลดขนาดของข้อมูล (Data Reduction)

 

วงจรรวมเฉพาะงาน (ASIC: Application Specific Integrated Circuit) ที่สามารถพบได้ในโหนดของ HPE SimpliVity ที่ติดตั้งบน ProLiant

 

รูปแบบการนำเสนอของ HPE SimpliVity 380 Gen10 

นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเซิร์ฟเวอร์ Apollo ที่นำเสนอระบบ HPE SimpliVity ด้วยความหนาแน่นที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่า Server โดยปกติทั่วไป และ HPE SimpliVity 2600 ที่นำเสนอระบบในเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U ที่มีมากถึง 4 node โดยที่ไม่ต้องใช้ ASIC ซึ่งโซลูชั่นนี้ได้รับการออกแบบเพิ่มเติมสำหรับกรณีการใช้งานที่เกี่ยวกับแอปพลิเคชั่น เช่น ROBO, สำนักงานขนาดเล็ก, ร้านค้าปลีกและระบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีค่า Latency-Sensitive น้อยมาก รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Chassis ที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กลง

 

HPE SimpliVity 2600

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตัวเครื่อง และ ASIC ก็เป็นชิ้นส่วนหนึ่งทางวิศวกรรมที่ประณีต ขณะเดียวกันก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความยืดหยุ่น (Flexibility) โดยมีความสะดวกในการใช้งานและความพร้อมในการเรียกใช้งาน (Availability) ของข้อมูล ซึ่งในแง่ของความยืดหยุ่นนั้นหมายถึง ความสามารถในการรองรับการทำงานบน Hypervisor ที่หลากหลายทั้ง Hyper-V และ VMware รวมถึงระบบคลาวด์ (Cloud) ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันนี้พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้งาน VMware อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ Hyper-V ก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานในบางกลุ่ม เช่น ด้านการศึกษา (Education) อย่างไรก็ตาม การ Deployment VM และการจัดการ VM นั้น เป็นเรื่องง่าย และวิธีการส่วนใหญ่ก็จะถูกบรรจุอยู่ในภายในตัวของไฮเปอร์ไวเซอร์เรียบร้อยแล้ว นั่นก็หมายความว่า HPE SimpliVity ถูกฝังลงในตัวเครื่องและไม่มีการจัดการหรือกระบวนการเฉพาะที่จะส่งผลรบกวนต่อพฤติกรรมของผู้ใช้โดยทั่วไป นอกจากนี้ HPE SimpliVity ยังให้การสนับสนุนบุคคลที่สาม (Third Parties) ที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น Veeam ซึ่งนี่ก็เป็นการเพิ่มจุดรวมสำหรับองค์กรต่างๆ เพื่อส่งต่อบริการคลาวด์ให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

 

ขณะที่ได้มีการทำงานร่วมกันกับ HPE SimpliVity ในสภาพแวดล้อมการสาธิตที่หลากหลายนั้น เราพบว่ามันเป็นเรื่องง่ายที่จะทำความเข้าใจในส่วนของการใช้งาน สำหรับอินเทอร์เฟซการจัดการระบบ (Management Interface) ที่ผ่านการพิจารณามาเป็นอย่างดีนั้นสามารถทำตามได้ไม่ยาก นอกจากนี้ HPE SimpliVity ยังนำเสนอการผสานรวมกับ VMware เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานอย่างครอบคลุม ผ่าน vSphere Web Clientเดียวกันกับที่พวกเขาใช้งานอยู่ เพื่อที่จะจัดการกับการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการทำงานของ VM อย่างเต็มรูปแบบ เช่น การกู้คืน แบบทั้ง  Virtual Machine (VM), การกู้คืนบางส่วนเฉพาะไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ เป็นต้น

 

ในขั้นตอนแรกนั้นการดำเนินการของ HPE SimpliVity จะถูกสร้างขึ้นใน vSphere ระดับคลัสเตอร์ (Cluster Level) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการกับรายการต่างๆ ได้ เช่น การสร้างดาต้าสโตร์  (Datastores) ใหม่ แยกจากที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่, การแสดงความจุของอาเรย์ (Array Capacity), การตรวจสอบประสิทธิภาพหรือการค้นหาผ่านการสำรองข้อมูล

 

นอกเหนือจากการใช้งานที่ง่ายแล้ว ยังมีบางสิ่งที่ช่วยลดความสำคัญด้านมูลค่าได้มากที่สุดสำหรับ SimpliVity นั่นก็คือ สิ่งที่พวกเขาเรียกกันว่า HPE SimpliVity HyperGuarantee เพราะนี่คือชุดของฟีเจอร์ที่จะทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ถึงการรับรองประสิทธิภาพข้อมูล (Data Efficiency) และนโยบายการป้องกันข้อมูล (Protection Policies) ที่สามารถใช้ได้ทั่วทั้งคลัสเตอร์ ในขณะเดียวกันก็รับประกันถึงการกำหนดค่า (Configuration) อย่างง่าย รวมถึงการกู้คืนที่ทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจาก HPE SimpliVity จะเป็นเทคโนโลยีในกลุ่ม Hyper-Converged Infrastructure (HCI) แล้ว มันยังคำนึงถึงความพร้อมใช้งานของข้อมูลที่ต่างจากระบบ HCI ทั่วๆ ไป และเพื่อให้ซาบซึ้งถึงประโยชน์ของความพร้อมใช้งานจาก HPE SimpliVity สิ่งสำคัญก็คือ คุณจะต้องเข้าใจถึงวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ก่อนเป็นอันดับแรก

 

การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ด้วยการทำ Global Deduplication ของพูล เป็นสิ่งที่ช่วยให้แพลตฟอร์ม รวมถึงไซต์อื่นๆ สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยจะมีเพียง Data Block ใหม่เท่านั้นที่จะถูกส่งไปยังคลัสเตอร์อื่น ในการทำ Replication เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บโดยรวม ซึ่งสิ่งนี้ยังช่วยให้การทำสำเนาสำรองข้อมูล (Backup Data) ทำได้เร็วขึ้น โดยการถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดเล็กไปยังหน้าต่างสำรองข้อมูลสามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงความสามารถในการ Replicate ข้อมูลผ่านลิงค์เครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่า ในขณะที่ลูกค้าบางรายยังได้มีการผลักดันข้อมูลผ่านลิงค์ดาวเทียม ซึ่งโดยทั่วไปมันก็อาจจะช้าเกินไปหรือมีค่า Latency ที่สูงเกินไปสำหรับการจัดการอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลผ่าน WAN ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลมากๆ นั้น HPE SimpliVity จึงยอมละทิ้งการติดตามบล็อกที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือบล็อกที่ทำซ้ำ แต่มันจะใช้ประโยชน์จากอัลกอริธึม (Algorithm) และเมทาดาทา (Metadata) เพื่อส่งเฉพาะข้อมูลที่ไม่ซ้ำ (Unique Data) กับที่ Receiving Site ไม่เคยเห็นมาก่อน เท่านั้น

 

แน่นอนว่า ความสามารถในการตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดเก็บของมันถูกบรรจุไว้ในส่วนของการจัดการด้วยเช่นเดียวกัน แม้ว่าประสิทธิภาพที่วัดออกมาเป็นตัวเลขนั้นจะค่อนข้างสูงเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ก็คือ ตัวเลขเหล่านี้เป็นค่าที่ได้จากทั้งในส่วนของการลดข้อมูล (Data Reduction) ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก (Primary Storage) และการลดข้อมูลสำรอง (Backup Data) รวมกัน

 

การสำรองข้อมูลเป็นอีกหนึ่งส่วนที่เราให้ความสำคัญนอกเหนือไปจากการทำ Snapshot และ Replication ที่ระบบจัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ให้ความสำคัญ ขณะที่นโยบายการสำรองข้อมูล (Backup Policies) ของเรานั้นก็ยังง่ายต่อการจัดการ พร้อมด้วยการควบคุมที่สามารถจัดการผ่านทาง vSphere Web Client 

 

ในส่วนของ RapidDR ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านขององค์กร โดยการลดระยะเวลาให้สั้นที่สุด (Shortening Downtime) ในกรณีที่ระบบเกิดการขัดข้องจนทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ในขั้นตอนแรก HPE SimpliVity จะต้องเริ่มกระบวนการกู้คืนแบบอัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วย VM ที่เปิดใช้งานอยู่, IP Address และการตั้งค่าเครือข่ายอื่นๆ, Resource Center รวมทั้งสคริปต์ (Scripts) แบบ Pre-recovery และ Post-recovery ในส่วนของการตั้งค่า DR (Disaster recovery) และการดำเนินการด้วยตัวเองนั้น มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพื่อให้คุณประหยัดทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบอัตโนมัตินี้เหมาะสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance) และช่วยลดความเสี่ยง (Risk Reduction) ได้เป็นอย่างดี โดยผู้ใช้งานสามารถจัดทำแผนการกู้คืนระบบ (DR) ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาอยู่ในสถานะที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางด้านการเงินและกฎหมาย  

 

บทสรุป

แม้ว่าในครั้งนี้จะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อการตรวจสอบที่ครอบคลุม แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกของเราในการเจาะลึกข้อมูลที่เกี่ยวกับ HPE SimpliVity เพราะถือว่ามันเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของตระกูล HPE และจากการที่เราได้มีการลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on) ทำให้พบว่าระบบนี้มีความง่ายต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถผสานรวมเข้ากับสภาพแวดล้อมของ VMware ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ เรายังรู้สึกประทับใจกับทั้งหมดที่เกี่ยวกับความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูล และคุณสมบัติการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Disaster Recovery) ซึ่งในระบบ HCI ส่วนใหญ่จะปล่อยให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นของบุคคลที่สาม (Third Party) และแน่นอนว่า HPE SimpliVity ก็สามารถรองรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับ SMB หรือกรณีที่มีการใช้งานระยะไกล การมีคุณสมบัติที่แข็งแกร่งเช่นนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากเลยทีเดียว

 

ในแง่ของโหนดที่มีอยู่ HPE SimpliVity สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์บน HPE ProLiant เท่านั้น และไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระดับความรู้เกี่ยวกับวิธีการตั้งค่าจากร้านค้าไอทีของคุณ สำหรับการดำเนินงานที่มีขนาดใหญ่ (Large Operations) อาจต้องการใช้เซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องสำหรับการจัดการ (Management) หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ซึ่งมันก็มีความเป็นไปได้ว่า HPE SimpliVity ย่อมมีโอกาสล้มเหลวในกรณีดังกล่าว 

 

นอกจากนี้ โหนดของ HPE SimpliVity ก็ยังไม่ได้เปิดกว้างสำหรับเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ รวมถึงหน่วยความจำถาวร (Persistent Memory) บางชนิดที่อาจจะมีจำนวนมากเกินไป สำหรับโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันต้องใช้ ASIC และคงจะเป็นการดี ถ้ามีโอกาสได้เห็น NVMe เป็นตัวเลือกในการปรับปรุงเรื่องของประสิทธิภาพ และเพื่อทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันจากคู่แข่งที่โจมตีพวกเขาในจุดนี้ ในส่วนของ HPE เองก็อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของการนำเสนอ SSD หรือโหนดที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย เพื่อที่จะสามารถรองรับไดร์ฟได้มากกว่า 12 ไดร์ฟ สำหรับความหนาแน่นที่มากขึ้น แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายของพวกเขาก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ถามถึงในเรื่องนี้ แม้ว่าพวกเขาเองก็มีแนวโน้มที่จะต้องประมวลผลร่วมกับกำลังการผลิตที่มากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับพวกเขาและ HPE

 

ตลอดระยะเวลาที่เราได้มีโอกาสกลับไปยังต้นกำเนิดเดิมของพวกเขา เราสามารถบอกได้เลยว่าความน่าสนใจของ HPE SimpliVity นั้นมาจากจุดเริ่มต้นของทีมงานที่ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อที่จะลดความซับซ้อนของระบบ IT และหนึ่งในหลายๆ อย่างที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ มันง่ายต่อการบริหารจัดการในสภาพแวดล้อมที่เราทำงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นเมนูคลิกขวา (Right Click menu) ที่ช่วยให้การเรียกใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นคุณจะพบกับสิ่งที่คุณต้องการและตัวเลือกที่เหมาะสมซึ่งจะปรากฏในส่วนของ Context menu ที่สำคัญไปกว่านั้น HPE SimpliVity จะช่วยลดและช่วยให้ประหยัดเวลาให้กับผู้เชี่ยวชาญด้าน Virtualization ของคุณ โดยเริ่มจากทำการติดตั้ง Vanilla และใช้งานในส่วนของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสำรองข้อมูล (Backup Policy) ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ สามารถทำได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์