รีวิว Dell EMC PowerEdge R7515
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
ENTERPRISE IT UPDATE
รีวิว Dell EMC PowerEdge R7515

รีวิว Dell EMC PowerEdge R7515

Dell EMC PowerEdge R7515

 

บทนำ


เซิร์ฟเวอร์ Dell EMC PowerEdge R7515 รองรับช่องใส่ไดรฟได้สูงสุดถึง 26 ช่องในแชสซีขนาด 2U พร้อมโปรเซสเซอร์ AMD EPYC รุ่นที่ 2 ซึ่งช่วงนี้โปรเซสเซอร์เดี่ยวใช้ระบบ AMD เหล่านี้มีกระแสในวงการเยอะขึ้นมาก ทำไมล่ะ? ก็เพราะแพลตฟอร์มพวกนี้มีจำนวนคอร์เยอะ ราคาถูกกว่า และทำงานได้ดีกว่าระบบที่ใช้ 2 CPU
 
เซิร์ฟเวอร์ใหม่ทั้งห้าของ Dell นี้ออกแบบมาเพื่อการใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่บนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC สำหรับเจนเนอเรชั่น 2 โดยเฉพาะ และมีชื่อรหัสเซิร์ฟเวอร์ว่า ROME ซึ่งในนี้มีเซิร์ฟเวอร์ R7515 และรุ่นที่เพิ่มซ็อกเก็ตเดี่ยว 1U (R6515) เข้ามาอีกรุ่น และรุ่นที่มี 2 ซ็อกเก็ตสองรุ่น คือ R7525, R6525  และเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ซ็อกเก็ตคู่ (C6525) ที่เราหวังว่าจะได้รีวิวในอีกเร็วๆ นี้
 
สำหรับรุ่นตัวท็อปที่สุด จะได้จำนวนคอร์เป็นสองเท่า อยู่ที่จำนวน 64 คอร์และ 128 เธรด เมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์ EPYC เวอร์ชัน Gen1 ที่มี 32 คอร์และสูงสุด 64 เธรด นอกจากนี้ หน่วยความจำยังเร็วขึ้น 20% และมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น 50% จากเซิร์ฟเวอร์ R7415 รุ่นก่อนหน้า ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้หน้าตาเหมือนกันอย่างกับแกะ แต่มันก็คือโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ จริงๆ แล้วอาจจะลองเพิ่มแถบสีเขียวของ AMD หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ดูเหมือนเป็นรุ่นออกใหม่
 

ฝาหน้า


คุณสามารถเลือกได้ ว่าจะเอาฝาหน้าที่มีระบบป้องกันความปลอดภัย หรือจะเอารุ่นที่มีระบบแผงควบคุม เมื่อเอาฝาหน้าออก ข้างใต้จะมีหน่วยความจำที่สามารถปรับแต่งได้ เช่น ไดรฟขนาด 24-bay 2.5-inch, 8-bay 3.5-inch หรือ 12-bay 3.5-inch
 
โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใส่ SATA ขนาด 2.5 นิ้ว หรือ SAS ที่ด้านหลัง ระบบนี้รองรับทั้งไดรฟ SATA, SAS และ NVMe แต่หลังสุดจะรองรับเฉพาะแชสซี 24 ช่องที่มีแบ็คเพลนแบบสากลเท่านั้น อีกตัวเลือกหนึ่งคือแบ็คเพลนที่รองรับ SAS/SATA และใช้สำหรับไดรฟขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีแต่แชสซีขนาด 8 ช่องเท่านั้นที่รองรับอุปกรณ์ออปติคอลที่เป็นอุปกรณ์เสริมได้
 
แผงควบคุมด้านซ้ายมีปุ่มข้อมูลพร้อมไฟด้านข้างสำหรับบอกสถานะของไดรฟ อุณหภูมิ ไฟฟ้า หน่วยความจำ และไฟแสดงสถานะ PCIe (เช่นเดียวกับ R6525) นอกจากนี้ยังมีปุ่ม QuickSync อยู่ด้านล่างปุ่มข้อมูลสำหรับจัดการแชสซีของระบบ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สมาร์ทโฟน หรือว่าแท็บเล็ต
 
ทางฝั่งด้านขวาคือแผงควบคุมที่มีปุ่มเปิดเครื่อง, พอร์ต USB สองพอร์ต, พอร์ต mini USB-C และพอร์ต VGA ทั้งนี้ พอร์ต mini USB-C ยังเข้าถึง Dell Remote Access Controller ได้โดยตรง ซึ่งใช้สำหรับการควบคุมระบบจากตัวแชสซีด้วยระบบ crash cart ถ้าต้องกรอกข้อมูลเยอะๆ การใช้คีย์บอร์ดอาจง่ายกว่า หรือถ้าแค่จะเช็คสถานะหรือ assets ก็อาจจะต้องใช้ตัวที่มี QuickSync และยิ่งดีขึ้นไปอีกถ้าแซสซีของคุณมีทั้ง2ระบบ
 
ยังสามารถจัดการระบบทางไกลผ่าน Dell Remote Management Controller ด้วย Lifecycle Controller หรือ iDRAC Lifecycle Controller ได้ คุณคงคิดอยู่ใช่ไหมว่าทำไมชื่อ Controller ถึงเหมือนกัน? Dell น่าจะตั้งชื่อมันว่า Dell Remote Access Controller with Lifecycle Administrator ไปเลย น่าจะฟังดูดีกว่านะ
 
เพื่อการควบคุมที่ละเอียดยิ่งขึ้น และเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มของบุคคลที่สาม ยังมี OpenManage Enterprise ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาให้แต่แรกอยู่แล้ว และนอกจากนี้ยังมี OpenManage Enterprise Power Manager เพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลมากเกินไป นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ระบบปฏิบัติการ และไฮเปอร์ไวเซอร์ให้เลือกมากมาย
 

พอร์ตด้านหลัง


บนแผงควบคุมด้านหลัง เริ่มจากซ้ายสุด จะมีปุ่มระบุการทำงานของระบบ สถานะของระบบพอร์ตเคเบิล พอร์ต VGA ซีเรียลพอร์ต และพอร์ต iDRAC สำหรับการจัดการระบบทางไกล


ถัดมาคือ Ethernet ports ขนาด RJ-45 1Gb สองพอร์ต ตรงกลางคือช่องเสียบการ์ด PCIe ที่มีช่องอยู่ด้านล่างสำหรับสาย open compute project LAN บนเมนบอร์ด พอร์ตEthernet ports ของเมนบอร์ด มีช่องการ์ด LOM ที่เป็นอุปกรณ์เสริม แต่ถ้าคุณไม่ต้องการใช้พอร์ต PCIe คุณก็มีตัวเลือกพอร์ตอื่นให้เชื่อมต่ออีกมากมาย
 
ก่อนที่จะรีวิวต่อ เราแอบคิดว่ามันแปลกๆ ที่ Dell ตัดสินใจเปลี่ยนจากชื่อเรียก Network Daughter (NDC) การ์ด เป็น LOM การ์ด ซึ่งในข้อมูลชุดเก่าๆ ในแพลตฟอร์ม AMD รุ่นแรก LOM การ์ดมักจะถูกใช้เรียกในแพลตฟอร์มรุ่นใหม่  แต่ทำไมรุ่น R7515 ถึงกลับมาเรียก NDC การ์ด และในคู่มือเทคนิคถึงใช้คำว่า LOM การ์ด ฟังดูสับสนไหม? ลองคิดภาพตามดู 
 
สุดท้ายก็คือต้องพูดถึงสล็อต PSU คู่สักหน่อย ในระบบนี้เราใช้ PSU ขนาด 750W แต่ก็มีให้ตัวเลือกเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการติดตั้งของคุณ ซึ่งคุณเองก็คงต้องการใช้ PSU ขนาด 1100W อยู่แล้วหากคิดจะติดตั้ง GPU หลายตัว เพราระบบเองก็รองรับได้ถึงสี่ตัว
 

ใต้ฝาครอบ


เมื่อเปิดฝาดูข้างใน คุณจะเห็นหน่วยประมวลผลกลาง AMD EPYC เจนเนอเรชั่น 2 วางอยู่กับช่องระบายความร้อน เนื่องจากหน่วยประมวลผลของรุ่น 7502P มีถึง 32 คอร์ และมีช่องเสียบโมดูลหน่วยความจำขนาด 8x ขนาบกับซ็อกเก็ตทั้งสองข้าง คุณคงเห็นถึงความจำเป็นของการที่ต้องมีช่องระบายความร้อนแล้วใช่ไหม และยังมีพัดลมประสิทธิภาพสูง 6x ที่คอยหมุนเวียนอากาศจากด้านหน้า โดยลมจะผ่านโมดูลหน่วยความจำ และตัวระบายความร้อนของ CPU จากนั้นลมก็จะออกไปทางด้านหลังของเครื่อง
 
บอร์ดตัวนี้จะคอยรองรับหน่วยประมวลผลกลางของ AMDs EPYC Gen2 คอร์64 เอาไว้ โดยเราสามารถใช้คอร์ 32 ซึ่งมี TDP 180w ที่เหมือกับ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นที่ 2 อื่นๆ ก็คือมันรองรับช่องหน่วยความจำที่จำนวน 8x ที่ความเร็วสูงสุด 3200MHz และมีสล็อตทั้งหมด 16 ช่อง ซึ่งหมายความว่ามีโมดูลหน่วยความจำสองโมดูลต่อช่องสำหรับหน่วยความจำสูงสุด 2TB และใช้โมดูลหน่วยความจำ 3DS Load-Reduced หรือสูงสุดที่ 1TB โดยใช้โมดูล Registered DDR4 ในตอนนี้ ระบบตัวนี้ใช้โมดูลหน่วยความจำ 16x 32GB สำหรับขนาด 512GB
 
แบ็คเพลนของแชสซีนี้ยังรองรับไดรฟ SAS และ SATA ที่มีการเชื่อมต่อแบบ hot plug โดยไดรฟ SATA และ NVMe รองรับการใช้งานของซอฟต์แวร์ S150 RAID for SATA ในตัว แต่สำหรับ NVMe จะรองรับบนแชสซีขนาด 2.5 นิ้วเท่านั้น ทั้งนี้ SAS ยังต้องใช้คอนโทรลเลอร์แบบ HD/RAID ซึ่งคุณมีหลายตัวเลือกให้เลือก แต่น่าแปลกที่ไม่มีตัวควบคุม HD/RAID ใหม่อยู่ในสเปคชีต
 
Dell ระบุรายการคอนโทรลเลอร์รุ่นเก่าทั้งหมดไว้ในสเปคชีต สำหรับรุ่นนี้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรวมถึง H840 สำหรับ external HDs ด้วย นอกจากนี้ Dell PowerEdge R7515 ยังมีพอร์ตเฉพาะสำหรับคอนโทรลเลอร์ miniPERC พร้อมช่องระบายอากาศ miniPERC ของตัวเองสำหรับการใช้งาน SAS หรือในกรณีที่คุณต้องการควบคุมที่เก็บข้อมูลของคุณมากกว่าเดิม
 
เมื่อใช้ AMD คุณจะได้รับเลน PCIe สายเลนสำหรับใช้งาน ขอย้ำอีกครั้งว่าจำนวนสล็อตจะขึ้นอยู่กับ Riser ที่คุณติดตั้ง แต่คุณจะได้รับเลน PCIe x16 สูงสุด 4 เลน สล็อต x16 สองช่องที่เป็น PCIe 3.0 และอีกสองช่องเป็น PCIe 4.0 เพื่อรองรับฮาร์ดแวร์ในอนาคต
 
นอกจากนี้ คุณยังสามารถติดตั้งการ์ดคอนโทรลเลอร์ที่เร็วกว่าเดิมได้ถึงสองการ์ด ซึ่งสามารถเข้าถึง x16 เลน โดยในแต่ละสล็อตยังถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยการใช้สล็อต PCIe ทั้งหมดที่ติดตั้งได้ คุณสามารถติดตั้ง GPUS single wide ของ Nvidia T4 ได้สูงสุด 4 เท่าสำหรับการใช้งาน Virtual Desktop ที่มีความหนาแน่นสูง หรือการใช้ gate array เดี่ยวขนาดปกติที่ตั้งค่าโปรแกรมฟิลด์ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
 
ระบบตัวนี้ไม่มีสล็อต M.2 มาให้ในเมนบอร์ด แต่มาในรูปแบบตัวเลือกที่สามารถติดตั้ง Boot Optimized Storage Subsystem (BOSS) ที่มีไดรฟ M.2 คู่ สำหรับการใช้ในระบบปฏิบัติการแบบสำรองแทน
แล้วก็อย่าลืมโมดูลการ์ด Micro SD ที่มีพอร์ต x4 แยกมาให้โดยเฉพาะบนเมนบอร์ด ซึ่งทำให้เราไม่ต้องใช้สล็อต x16 PCIe เหล่านั้นจนหมด โมดูลนี้มีการ์ด micro SD แบบคู่อยู่ด้านหนึ่ง และการ์ด vFlash อีกด้านหนึ่งสำหรับเก็บข้อมูลของ iDRAC
 

สรุป


นี่คือระบบที่จะช่วยลดต้นทุนอุปกรณ์ของคุณ ด้วยความที่สามารถทำให้มีความจุบนพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น สำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ รวมถึงการทำแบบเสมือนจริง โดยที่ตัวระบบนี้ยังมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า หรือก็คือรุ่น R7415 นั่นเอง
 
เซิร์ฟเวอร์ Dell EMC PowerEdge R7515 ยังมีฟีเจอร์น่ารักๆ อีกมากมาย และด้วยความที่มันมีเพียงซ็อกเก็ตเดียว ก็ยังช่วยได้ในส่วนของการลดราคาค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้งานบางแอปพลิเคชันได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของซ็อกเก็ต CPU แต่ละรุ่นนั่นเอง

ที่มา: 
https://bit.ly/3nz2AkR
สนใจสั่งซื้อ Dell PowerEdge R7515 Specification คลิก:https://www.quickserv.co.th/hyperconverged/DELL%20EMC/vSAN-Ready-Node/detail/Dell-PowerEdge-R7515/SNSR7515RN1.html

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์