รีวิว Dell Precision 5820: เวิร์คสเตชันระดับ Entry Level
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
ENTERPRISE IT UPDATE
รีวิว Dell Precision 5820: เวิร์คสเตชันระดับ Entry Level

รีวิว Dell Precision 5820: เวิร์คสเตชันระดับ Entry-Level ที่มอบประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการใช้งานระดับมือชีพ

Dell เวิร์คสเตชัน (Workstations) กับ Platform ที่มาในรูปแบบ Single-Socket อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติและประสิทธิภาพด้านกราฟิกระดับสูง

 

ข้อดี

ด้วยการออกแบบอันโดดเด่นของ Chassis ที่มาพร้อมกับความสามารถในการสร้างโมเดลคุณภาพระดับมืออาชีพ ไร้เสียงดังรบกวนแม้ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน นอกจากนี้ยังจัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ และยังช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อีกด้วย

 

ข้อเสีย

เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง รวมถึงหน่วยความจำที่ให้มานั้น ส่วนใหญ่มีการกำหนดค่าแบบ Dual-channel มากกว่าแบบ Quad-channel นอกจากนี้ยังไม่มีในส่วนของหน่วยความจำรอง (Secondary storage) เตรียมไว้ให้

 

สรุป

จัดได้ว่า Dell Precision 5820 เป็นเวิร์คสเตชันที่ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน ด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ด้านการสร้างโมเดลที่มีความยอดเยี่ยม และตัวเลือกสำหรับการใช้งานที่มีมากกว่า ทำให้คุณเองก็ไม่ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับสิทธิพิเศษนี้

 

ในโลกนี้คงไม่มีอะไรที่สามารถถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากันได้กับทุกคน (One Size Fits All) เช่นเดียวกับอุปกรณ์ไอที (IT Hardware) ที่ถูกนำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจหนึ่งอาจต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือแบบธรรมดาๆ ในการทำงานที่ง่ายที่สุด (เช่น การส่งและรับอีเมล, ความสามารถในการสร้าง, เรียกดูเอกสารและใช้งานซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ไม่ซับซ้อน) แต่ในขณะที่บางธุรกิจ หรือบางแผนก อาจจำเป็นที่จะต้องใช้บางสิ่งบางอย่างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการจัดการกับงานของพวกเขา

 

และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น ขอยกตัวอย่างอีกหนึ่งกรณี เช่น อุตสาหกรรมกราฟิกและการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการงานของพวกเขาด้วยเครื่องมือมาตรฐาน (Standard Machines) โดยทั่วไป แต่เมื่อมาถึงช่วงของ การสร้างภาพจากแบบจำลองหรือการสร้างภาพกราฟิก (Rendering) หรือแม้กระทั่งการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (3D Modelling) และการตัดต่อวิดีโอที่เข้ามามีบทบาทในการทำงาน  ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

เมื่อมาตรฐานบางอย่างที่ MacBook Pro รองรับ เริ่มที่จะเจอกับปัญหา มันคงถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มมองหาชุดของอุปกรณ์ที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนไปใช้ PC ระดับซุปเปอร์แทนได้ อย่างเช่น Scan 3XS WI6000 Viz หรือ PC Specialist Axiom ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีทางเลือกอื่นที่ให้การอัพเกรดด้านประสิทธิภาพในระดับที่ได้มาตรฐาน พร้อมด้วยราคาที่ต่ำกว่า

 

หนึ่งในเครื่องพีซีระดับซุปเปอร์ที่ว่านั้นก็คือ Dell Precision 5820  ที่จัดว่าเป็นเวิร์คสเตชันระดับ Entry-Level ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อจัดการกับงานที่เกินมาตรฐาน ซึ่งมันเองก็เป็นพีซีสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่ไม่ได้จัดว่าอยู่ในระดับเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาข้างต้น มันถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับธุรกิจที่มีความเข้มข้นของงานในระดับปานกลางถึงระดับสูง ที่มีความสามารถไม่เพียงพอหากดำเนินการด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ (Machines) แบบมาตรฐานทั่วๆ ไปของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการออกแบบ, ผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิก, งานที่เกี่ยวข้องกับ Video Editors นอกจากนี้แล้ว Dell Precision 5820 ยังช่วยให้สามารถจัดการกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

 

โมเดลที่ใช้ในการทดสอบนั้น เป็นสเปคที่ค่อนข้างจะเบสิก (Basic Spec) เกินกว่าที่จะเป็นเวิร์คสเตชัน เพราะมันก็ไม่มีอะไรที่บ่งบอกถึงความเป็น CPU แบบ Dual-Socket หรือการ์ดจอ (Graphic Card) แบบคู่ แม้แต่นิดเดียว - แต่มันสามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ได้อย่างละเอียด ณ จุดขาย รวมทั้งยังขับเคลื่อนการทำงานด้วยโปรเซสเซอร์ Xeon W ระดับสูงสุดไม่เกิน 14 Core และการ์ด GPU แบบคู่ ของ Nvidia หรือ AMD ที่จะช่วยตอบสนองการทำงานในระดับมืออาชีพได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีโอกาสอีกมากมายสำหรับการขยายและอัพเกรดภายในองค์กร ในกรณีที่ความต้องการและข้อกำหนดของผู้ใช้งานมีการมีเปลี่ยนแปลง

 

รีวิว Dell Precision 5820: โปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ

หัวใจสำคัญของเวิร์คสเตชันเครื่องนี้ก็คือ Intel Xeon W-2125 ที่มีแกนประมวลผลแบบ 4 Core (Quad-core) ซึ่งมีความเร็ว (Base Clock) ที่ระบุไว้ 4GHz และการทำงานในโหมดเทอร์โบ (Turbo Mode) แบบแกนเดียว ที่สามารถทำความเร็วได้ 4.5 GHz แม้ว่านี่จะเป็นโปรเซสเซอร์แบบ Quad-core แต่มันก็สามรถรองรับเทคโนโลยี Hyper-Threading เพราะเหตุนี้จึงมีการนำเสนอในรูปแบบของซีพียู  4 Core 8 Thread สำหรับเพิ่มความสามารถในการเรนเดอร์ (Rendering) ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่ง CPU ที่ว่านี้มาจากตระกูล Skylake-W และเป็นรุ่นที่เล็กที่สุดใน Xeon W Series แต่ให้ความถี่ของโปรเซสเซอร์แบบ Single-Core ในระดับที่สูง ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับโปรแกรมการสร้างแบบจำลอง (Modelling Software)

 

โปรเซสเซอร์ทำงานร่วมกับหน่วยความจำประเภท DDR4 SDRAM ที่ความเร็ว 2666 MHz ขนาด 16GB ซึ่งก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นในปริมาณของแรมที่เหมาะสม แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ มันมาในรูปแบบของ DIMM ขนาด 8GB จำนวนสองชุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สล็อต DIMM อีกหกสล็อตยังว่างสำหรับการอัพเกรด โดยสามารถเพิ่มความจุได้สูงสุดถึง 256GB แต่ก็ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหน่วยความจำแบบ Quad-Channel ที่เป็นสถาปัตยกรรมของ Xeon Skylake-W อยู่ดี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Core i7 Skylakes จะใช้คอนโทรลเลอร์ (Controller) เพื่อรองรับการทำงานแบบ Dual-Channel แต่ทว่าในเวอร์ชั่น Xeon W นี้ จะมีแชนเนลหน่วยความจำที่มากกว่าถึงสองเท่า รวมทั้งแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ที่มากกว่าสองเท่า เห็นได้ว่าการใช้ประโยชน์จากแรมแบบ Quad-Channel จึงอาจไม่จำเป็น

 

รีวิว Dell Precision 5820: การ์ดที่ใช้ตัวเร่งกราฟิก (Graphic Accelerator)

ข้อกำหนดทางด้านกราฟิกยังดูมีความสมเหตุสมผลสำหรับสเปคที่เหลือ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างแบบจำลองและงานออกแบบเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบัน Nvidia Quadro P4000 ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นกราฟิกการ์ดระดับ High-end ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากบรรดามืออาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการสร้าง Content (Content Creation) ประจำวัน และสิ่งที่เรากำลังพูดถึงนี้ก็คือ GPU ในตระกูล Pascal จาก NVIDIA ที่ภูมิใจนำเสนอ CUDA core ที่มีมากถึง 1,792 Core ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ทำได้สูงถึง 5.3 TLOPS สำหรับการทำงานในแบบ Single Precision (FP32) 

 

นอกจากนี้แล้ว P4000 ยังประกอบไปด้วยหน่วยความจำ GDDR5 ที่มีขนาดใหญ่ถึง 8GB และมี Bus Width ที่ 256-bit อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันจะมีคุณสมบัติที่แสนทรงพลังเหล่านี้ P4000 แต่ก็ยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 105 วัตต์เท่านั้น เพราะเหตุนี้มันจึงมีความสามารถในการสร้างแบบจำลองได้เป็นจำนวนมาก และยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

รีวิว Dell Precision 5820 : พื้นที่จัดเก็บข้อมูล

หลังจากที่มีการระบุไว้ในรายละเอียด (Specification) ตัวอย่างทดสอบรุ่น 5820 ของเรา ที่มาพร้อมกับการจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระดับ Entry-Level ด้วยขนาดความจุ 512GB ซึ่งก็น่าจะพอสำหรับระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ความต้องในส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น การตัดต่อวิดีโอที่จำเป็นจะต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งบนเวิร์คสเตชันของคุณเองหรือด้วยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูง (High-speed Networking)

 

แต่หากมองในแง่ดี หน่วยเก็บข้อมูลหลักที่อยู่ในรูปแบบของ Class 40 NVMe Solid State Disk จะช่วยให้สามารถโหลดซอฟต์แวร์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลจากการทดสอบที่ได้สำหรับโปรแกรม CrystalDiskMark 6 นั้น เราพบว่ามันทำความเร็วในการอ่านได้ที่ 3,105.7MB/วินาที เรียกว่าเกือบดีเลยทีเดียว ส่วนความเร็วในการเขียนข้อมูลนั้นอยู่ที่ 457.3MB/วินาที ซึ่งก็ยังถือว่าช้ากว่า SSD บางรุ่นที่มีการเชื่อมต่อแบบ SATA ที่ทำความเร็วในการเขียนได้ดีกว่านี้

 

รีวิว Dell Precision 5820: การออกแบบ Chassis

นอกเหนือจากการรับประกันและการสนับสนุนระบบสำรองข้อมูล ที่ให้บริการโดยบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Dell แล้ว หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจเลือกซื้อเวิร์คสเตชันจากบริษัทนี้ก็คือ การออกแบบของ Chassis ซึ่งมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ในการใช้งานโดยเฉพาะ นอกจากนี้ Chassis ของรุ่น 5820 ยังสามารถเปิดได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ใช้ตัวจับที่แผงด้านข้าง แต่อย่างไรก็ตามมันยังมีแถบที่เอาไว้สำหรับคล้องกุญแจเพื่อปิดล็อคอยู่ รวมถึงการวางส่วนประกอบต่างๆ ภายในตัวเครื่องที่ถูกจัดวางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการเข้าถึงส่วนประกอบต่างๆ ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ยุ่งยาก

 

ช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟที่สามารถเข้าถึงได้จากด้านหน้าทั้ง 4 ช่องนั้น ถูกติดตั้งภายใต้ตะแกรงพลาสติกที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์ในการหมุน เพื่อเปิดเอาถาดบรรจุไดร์ฟออกมา ทั้งหมดนี้คือช่องบรรจุไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้ว ที่มาพร้อมกับถาดแปลง (Caddy) ที่สามารถปลดออกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีหนึ่งช่องที่รองรับ NVMe SSD อยู่ก็ตาม ในขณะที่ช่องอื่นๆ จะมีพอร์ต SATA ที่ด้านหลัง สำหรับไดร์ฟที่จะเลื่อนเข้าไปข้างใน ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ มันมีพอร์ตที่มีประโยชน์บางตัว ซึ่งก็รวมถึงมินิแจ็คของหูฟัง (Headphone Minijack), USB Type-C 3.1 จำนวน 2 พอร์ต , USB Type A อีก 2 พอร์ต รวมทั้งตัวอ่านการ์ด SD (SD Card Reader) แม้ว่ามันจะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับ Optical Drive ที่เพรียวบางในนี้ แต่มันก็ไม่ได้ถูกบรรจุลงในตัวอย่างที่เราใช้ในการตรวจสอบครั้งนี้

 

รีวิว Dell Precision 5820: ประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์

เราได้ทำการตรวจวัดประสิทธิภาพของ Precision 5820 เพื่อที่จะได้รับทราบถึงผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ สำหรับเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ภายในบริษัทของเรานั้นพบว่า ระบบทำคะแนนได้ดีในส่วนของ

การแก้ไขภาพ  (Image editing) โดยทำคะแนนออกมาได้ดีที่ 141 คะแนน, 154 คะแนน ที่ค่อนข้างจะธรรมดาสำหรับการตัดต่อวิดีโอ (Video editing) และ 165 คะแนน สำหรับการทำงานแบบ Multitasking ซึ่งก็จัดว่าเป็นคะแนนที่ค่อนข้างต่ำ และทั้งหมดนี้ ส่งผลให้มันทำคะแนนโดยรวมได้เพียง 157 คะแนน ทว่าความเร็วแบบ Single-Core นั้น อาจจะดีสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Photoshop แต่ด้วยแกนประมวลที่มีเพียงแค่ 4 Core ของมัน จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานแบบมัลติเธรด (Multi-Thread) ยังไม่น่าประทับใจสำหรับเรา เมื่อเทียบกับเวิร์คสเตชันรุ่น 3XS WI4000 Viz จาก Scan ที่มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ แบบ 6 Core ที่สามารถจัดการกับคะแนนโดยรวมได้ถึง 278 คะแนน ในส่วนของ Media Benchmarks ของเรา

 

ซึ่งก็ให้ผลที่คล้ายกัน ในฐานะที่เป็นระบบสำหรับสำหรับการเร็นเดอร์ (Rendering) แบบ 3 มิติ, Dell Precision 5820 ที่เราใช้ในการทดสอบนั้น ทำคะแนนได้ในระดับปานกลางด้วยคะแนนเพียง 940 คะแนน ในส่วนของ CPU จากการทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench R15 จาก Maxon ขณะที่ระบบของ Scan นั้น สามารถทำคะแนนได้ถึง 1,559 คะแนน ถึงแม้ว่า Core ของหน่วยประมวลผลจากเวิร์คสเตชันของ Dell ทำงานที่ความเร็ว 4GHz แต่มีอยู่เพียงสี่ตัวเท่านั้น และแม้แต่เทคโนโลยี Hyper-Threading ก็ยังไม่สามารถทำให้ระบบนี้เป็นระบบที่เหมาะสำหรับอย่างใดอย่างหนึ่งได้มากไปกว่าการทดสอบในส่วนของการแสดงผล (Test rendering) ที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ด้วยการแสดงตัวอย่าง (Preview) ที่ Resolution ต่างๆ ซึ่งเราพบว่าผลคะแนนการประมวลผลจาก CPU ด้วยโปรแกรม GeekBench 4 นั้น ให้ผลที่ใกล้เคียงกันตามที่คาดไว้ สำหรับโปรเซสเซอร์แบบ Quad-core ที่ความถี่เดียวกันนี้ โดยมี 5,240 คะแนน ในการทดสอบแบบ Single-core และ 18,228 คะแนน ในส่วนของ Multi-core

 

รีวิว Dell Precision 5820: ประสิทธิภาพด้านกราฟิก

จากการทดสอบด้วยโปรแกรม GFXBench 4.0 ซึ่งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพด้านกราฟิก เราพบว่า Nvidia Quadro P4000 สามารถทำคะแนน ได้เพียง 1,425.08 Frames ในการรันแบบ Onscreen แต่ทำคะแนนได้ที่ 14,992.5 Frames สำหรับการทดสอบแบบ Offscreen - Car Chase และทำได้เพียง 964.289 Frames ในการรันแบบ Onscreen แต่ทำคะแนนได้ที่ 21,216.6 Frames ในการทดสอบแบบ Offscreen นั่นก็หมายความว่า มันไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทดสอบนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างแบบจำลอง (Modelling) ก็ยังจัดว่าเป็นงานที่ระบบนี้ถนัดมากที่สุด และนอกจากนี้ ความสามารถของมันยังสะท้อนออกมาให้เห็นผ่านคะแนนที่ได้จาก  SPECviewperf 12.1 ซึ่งเป็นโปรแกรมการทดสอบ เพื่อวัดประสิทธิภาพของกราฟิกการ์ดด้วยการจำลองการทำงานของแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานกันจริงๆ ในอุตสาหกรรมกราฟิก

 

ผลลัพธ์จากการทดสอบโดยใช้โปรแกรม 3dsmax-05 ก็คือ 131.14 คะแนน และนับว่าเป็นคะแนนที่ใกล้เคียงกันสำหรับ Quadro P4000 และระบบของ Scan ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านกราฟิกที่เท่าเทียมกัน ในขณะที่การทดสอบโดยใช้โปรแกรม Maya (maya-04) ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเสมอกันกับ Scan ด้วยตัวเลข 109.84 คะแนน ดังนั้น ระบบนี้จึงน่าจะเหมาะกับงานประเภทการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (3D Modelling) และภาพเคลื่อนไหว (Animation)และด้วยคะแนน 168.13 ที่ได้จากการทดสอบด้วยโปรแกรม sw-03 นั้น มันก็ยังแสดงให้เห็นพลังความสามารถในการประยุกต์ใช้การออกแบบผลิตภัณฑ์บน SolidWorks ที่ได้รับความนิยม

 

โดยรวมแล้ว เราพบว่า P4000 นั้น มีประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการใช้ประโยชน์ในงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านวิศวกรรม (Engineering), การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) และการสร้าง Content (Content Creation) และ Dell Precision 5820 เองก็เหมาะที่จะเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับงานสร้างแบบจำลองประเภทต่างๆ เหล่านี้ ในทำนองเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบด้วย Maxon Cinebench R15 ในส่วนของ OpenGL นั้นคือ 180.34 fps ซึ่งก็เป็นการช่วยยืนยันความสามารถของระบบนี้ ในขณะที่เราทำการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Maxon Cinema 4D แม้ว่าเราจะเห็นผลลัพธ์ที่จัดการได้เร็วกว่าจากทางฝั่งของ Scan ด้วยตัวเลขที่ 226.95 fps ก็ตาม

นอกจากนี้ GPU ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการใช้งานด้านการแสดงผล (Rendering) โดยผลจากการทดสอบ Quadro P4000 ด้วยโปรแกรม LuxMark 3.1 เราพบว่ามันสามารถทำคะแนนได้ที่ 3,149 ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ดีมาก อย่างที่เราคาดหวังเอาไว้ ขณะเดียวกันนั้น ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ OpenCL (Open Computing Language) ที่ก็ไม่ต่างไปจากการทดสอบด้วย OctaneBench 3 ด้วยคะแนนที่ 104.26 คะแนน ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่แข็งแกร่งของ CUDA (Compute Unified Device Architecture) ด้วยเช่นกัน

 

รีวิว Dell Precision 5820 : สรุป

จากผลการตรวจสอบเราพบว่า Dell Precision 5820 เป็นเวิร์คสเตชันที่ทำงานได้ค่อนข้างเงียบ และการตั้งค่าการใช้งาน (Configuration) ที่ถูกส่งไปนั้น ก็ยังใช้พลังงานไม่ถึง 200W แม้แต่ในขณะที่มีภาระโหลดสูง (Heavy Load) อย่างไรก็ตาม มันยังคงเป็นเวิร์คสเตชันที่ได้รับการยอมรับว่ามีความโดดเด่นในหลายๆ ด้าน แต่มันก็ยังมีราคาที่แพงอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ และประสิทธิภาพการทำงานที่นำเสนอนั้นก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น มันอาจจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนในด้านราคาของมันอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม มันเป็นเวิร์คสเตชันที่แข็งแรงและถูกสร้างมาอย่างดี ด้วยการออกแบบที่ยอดเยี่ยมและความสามารถในการสร้าง Content และเราก็แน่ใจว่า มันจะได้รับความนิยมในหมู่เอเจนซี่และบริษัทมีเดียขนาดใหญ่เช่นกัน

ดูสินค้าเพิ่มเติม: 
https://bit.ly/2IlJSoy

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์