วิธีเลือกเราเตอร์ (Router) สำหรับธุรกิจของคุณ Part1 การเลือกเราเตอร์เบื้องต้น
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
ENTERPRISE IT UPDATE
วิธีเลือกเราเตอร์ (Router) สำหรับธุรกิจของคุณ Part1 การเลือกเราเตอร์เบื้องต้น


วิธีเลือกเราเตอร์ (Router) สำหรับธุรกิจของคุณ - Part1 - การเลือกเราเตอร์เบื้องต้น

การเลือกซื้อเราเตอร์ (router) สำหรับธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันไม่ง่ายเหมือนกับการเลือกสินค้าบริโภคที่มีการจัดอันดับไว้แล้วจากผู้ขายออนไลน์หรือจากราคาที่จัดอันดับไว้บนชั้นวางสินค้าในซูเปอร์สโตร์ท้องถิ่น
                                                       
องค์กรนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องการได้รับความร่วมมือ อาทิ การให้คะแนนจากผู้ใช้งาน (รวมทั้งผู้เยี่ยมชม) บนเครือข่าย และการปกปิดข้อมูลองค์กรเพื่อป้องกันการสอดแนม เป็นต้น
 
ก่อนที่จะเลือกซื้ออุปกรณ์ระบบเครือข่าย คุณต้องเข้าใจประเภทของอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน ตลอดจนวิธีใช้และคุณลักษณะต่าง ๆ ทั่วไป ลองพิจารณาคำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์เราเตอร์ พร้อมกับคำอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะที่สำคัญ ๆ มากมาย ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ฟังเป็นตอนๆไป

ประเภทของเราเตอร์
หากคุณต้องการรองรับคอมพิวเตอร์เพียงแค่นับโหลและอุปกรณ์ Wi-Fi เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้น เราเตอร์ ระดับผู้ใช้งานทั่วไปหรือเราเตอร์ไร้สายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว เราเตอร์เหล่านี้มักมีพื้นที่ให้บริการ Wi-Fi ครอบคุลมเพียงพอสำหรับพื้นที่ทำงาน 1500 ถึง 2000 ตารางฟุต ครอบคลุมถึงพื้นที่สำนักงานสองชั้น เราเตอร์แบบนี้ก็จัดเตรียมพอร์ตอีเทอร์เน็ตสี่พอร์ตสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อต่อสายไฟเข้ากับเครือข่ายหรือกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ที่สามารถใช้ผ่านเครือข่าย (network-capable printer) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย (network storage) หรือจุดเชื่อมต่อไร้สาย (wireless access point) เพิ่มเติม เพื่อให้สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

หากคุณต้องการรองรับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งโหลขึ้นไป หรือหากการรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติมากกว่าเราเตอร์ไร้สายแบบธรรมดา ๆ ทั่วไป คุณควรพิจารณาเราเตอร์รูปแบบอื่นแทน มาดูกันเลย

1.VPN router/firewall: ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ก้าวขึ้นไปอีกขั้นจากเราเตอร์ไร้สายพื้นฐาน ที่สามารถเป็นได้ทั้งแบบไร้สายหรืออีเทอร์เน็ตเท่านั้น ประเภทหลังนั้นต้องการให้เพิ่มจุดเชื่อมต่อ (access point) ให้สัญญาณ Wi-Fi ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เราเตอร์เหล่านี้มีเซิร์ฟเวอร์เครือข่ายส่วนตัวเสมือนแบบรวม (integrated virtual private network server) และบางครั้งก็มีคุณลักษณะขั้นสูง (เราจะมาอธิบายกันทีหลัง) อาทิ การรองรับ VLAN และ multiple SSIDs (หากเป็นแบบไร้สาย)

2.UTM (unified threat management) gateway หรือ firewall: เราเตอร์เหล่านี้มีคุณลักษณะขั้นสูงและมักมีเพียงอีเธอร์เน็ต 4-8 พอร์ตเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องใช้จุดเชื่อมต่อแยกต่างหากสำหรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi นอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นเราเตอร์และเกตเวย์อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังรวมถึงการให้บริการ VPN server และไฟร์วอลล์ (firewall) อีกด้วย และมักมีการป้องกันไวรัส (virus protection) และมัลแวร์ (malware protection) การกรองเนื้อหา (content filtering) ฟังก์ชันการต่อต้านสแปม (antispam function) การตรวจจับ (intrusion detection) และป้องกันการบุกรุก (prevention)
 
การเพิ่มคุณลักษณะด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมนั้น จำเป็นต้องสมัครบริการเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี เพราะว่าคุณจะยังคงต้องการการป้องกันไวรัสและมัลแวร์ให้กับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง เนื่องจากข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่ใช้บนเครือข่ายไม่สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของเครื่องพีซีหรือตรวจสอบการเข้าชมที่เข้ารหัส SSL ได้
ในขณะที่คุณเลือกซื้อ มักก็จะพบเจอคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์คล้ายกับผลิตภัณฑ์ UTM รวมถึงเกตเวย์ความปลอดภัยแบบรวม (unified security gateway) และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต (Internet security appliance)
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์