รีวิว HPE ProLiant DL180 เซิร์ฟเวอร์มหัศจรรย์ เน้นพื้นที่จัดเก็บ
Please wait...
1726202978.png
1731393918.jpg
1732076627.jpg
1730459076.jpg
1730782055.jpg
1730966771.jpg
1731999875.jpg
ENTERPRISE IT UPDATE
รีวิว HPE ProLiant DL180 เซิร์ฟเวอร์มหัศจรรย์ เน้นพื้นที่จัดเก็บ

รีวิว HPE ProLiant DL180: เซิร์ฟเวอร์มหัศจรรย์เน้นพื้นที่จัดเก็บ

 

ช่องซ็อคเก็ต Dual CPU ช่วยสร้างประสิทธิภาพมหาศาล มาพร้อมความจุของพื้นที่จัดเก็บระดับเยี่ยมสำหรับราคาแบบนี้
 
เซิร์ฟเวอร์ส่วนมากสามารถอัปเกรดและขยายพื้นที่เพิ่มได้ตามความต้องการของคุณ แต่ HPE ProLiant DL180 สามารถขยับขยายได้มากกว่านั้น ซึ่งต้องขอบคุณช่องซีพียูช่องที่สองที่ช่วยให้คุณขยับขยายไปใช้งานการประมวลผลแบบโปรเซสเซอร์หลายตัวได้เมื่อพร้อม ในขณะเดียวกัน ราคาตั้งต้นก็ถือว่าต่ำอยู่ ในสเปคเบาๆ เริ่มต้นที่ราคาเพียง £986 เท่านั้น ราคาแสนถ่อมตัวนี้ช่วยให้คุณเริ่มต้นออกจากจุดสตาร์ทได้ด้วยซีพียู Xeon Scalable Bronze 3204 หกคอร์ DDR4 16GB, Smart Memory และถาดไดรฟ์ LFF แปดถาด ซึ่งทั้งหมดเสียบสายเชื่อมต่อกับ HPE S100i software-based RAID Controller ที่ติดตั้งมาแล้ว
 
หากขยับไปรุ่น £1,345 เพื่อลอง คุณจะได้ซีพียู Silver 4208 แปดคอร์ พร้อมถาดไดรฟ์ LFF ขนาดเต็มที่สิบสองถาด และ Smart Array P408i SATA/SAS3 RAID card ของ HPE และยูนิตแคชถึง 2GB กับแบ็คอัพแบตเตอรี่ ดูสเปคแล้วจะเห็นได้ชัดเลยทั้งหมดนี้เตรียมมาสำหรับเวิร์กโหลดกินพื้นที่แบบเน้นๆ ซึ่งเหล่าแฟนๆ SFF คงต้องดีใจถ้าได้รู้ว่าเจ้าตัวรุ่นแปดถาดสามารถอัปเกรดเป็น 16 หรือ 24 ถาดได้ โดยมีตัวเลือกให้เพิ่มทั้งสองแบบเข้ามาที่ด้านหลังเซิร์ฟเวอร์
 
เมนบอร์ดมีทั้งช่องภายในที่เป็น USB 3 และช่องใส่การ์ด microSD ซึ่งใช้เพื่อบูตเข้า hypervisor ที่ติดตั้งอยู่แล้วได้ นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่ถาดจัดเก็บเวลาเปิดสื่ออะไรขึ้นมา HPE ยังมีตัวเลือก PCIe Enablement board ซึ่งรองรับมิเรอร์ M.2 SSDs ซึ่งจัดเก็บระบบปฏิบัติการของคุณ โดยมันเสียบอยู่กับอินเตอร์เฟซ SATA บนตัวเมนบอร์ดโดยเฉพาะ
 
ฟังก์ชั่นการจัดการระยะไกลนั้นยอดเยี่ยม ตัวเซิร์ฟเวอร์นี้มาพร้อมกับชิป iLO5 ของ HPE และใบอนุญาตแบบ Standard ซึ่งให้ฟีเจอร์แพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยมาเน้นๆ อย่างเช่น “silicon root of trust” เพื่อปกป้องเฟิร์มแวร์ของเซิร์ฟเวอร์และเว็บอินเทอร์เฟซที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับส่วนประกอบที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการเปิดใช้งานตัววัดกำลังไฟฟ้า การควบคุมระบบปฏิบัติการระยะไกล และบริการสื่อเสมือน คุณจะต้องอัปเกรดเป็นใบอนุญาตขั้น Advanced
 
หากจะลองใช้ฟีเจอร์การจัดการ เราต้องเพิ่มรายละเอียดตัว iLO 5 ของเซิร์ฟเวอร์ลงในแอป Hyper-V HPE OneView 5.5 ของแล็ป หลังจากนั้นเราจะสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของเซิร์ฟเวอร์ ProLiant ทั้งหมดได้ทันที และรู้เกี่ยวกับข้อมูลการจัดเก็บทั้งหมด และถ้าคุณหมดสิทธิ์ใช้งานใบอนุญาต iLO 5 ขั้น Advanced แล้ว ก็สามารถใช้ OneView ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานระบบ ระบบจัดการความร้อน และการใช้งานพลังงานได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการจัดเตรียมเซิร์ฟเวอร์ใหม่ให้พร้อมและปรับใช้การอัปเดตเฟิร์มแวร์ คุณต้องอัปเกรดอีกรอบ แต่เป็นขั้น OneView Advanced
 
ภายในของเซิร์ฟเวอร์มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีการ์ด Smart Array P408i RAID อยู่ที่ช่องเสียบด้านหลังของเมนบอร์ด เสียสายต่อกับไดรฟ์แบ็คเพลนโดยตรง เซิร์ฟเวอร์ยังประกอบด้วยตัวยกที่มีสล็อต PCIe สามช่อง มีแถบล็อกที่สามารถปลดออกได้ง่ายเพียงแค่สะบัด ซึ่งหากคุณติดตั้ง CPU ตัวที่สอง คุณสามารถเพิ่มการ์ด PCIe แบบสามช่องอีกช่องหนึ่ง โดยเสียบอยู่ติดกับช่องใส่ PSU
 
ใต้ตัวยกเป็นช่องเสียบโมดูลสื่อ ซึ่ง HPE ให้มาทั้งพอร์ต Gigabit Ethernet แบบสองพอร์ตและอแดปเตอร์ 10GbE ที่ใช้คู่กับพอร์ต Gigabit แบบฝังคู่ของเซิร์ฟเวอร์ได้ ตัวซ็อกเก็ต CPU มีช่องเสียบ DIMM สี่ช่องขนาบข้าง ในส่วนของฐาน 16GB ของ DDR4 นั้นอัปเพิ่มได้สูงสุดถึง 1TB และการติดตั้ง CPU ตัวที่สองจะเปิดใช้งานสล็อต DIMM ตัวรองของมัน ทำให้ความจุของหน่วยความจำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หรือก็คือ 2TB
 
ใครที่กำลังคิดขยับขยายธุรกิจและกำลังมองหาเซิร์ฟเวอร์ Xeon Scalable อันทรงพลัง และเตรียมการอัปเกรดขนาดใหญ่ อาจพบว่า ProLiant DL180 Gen10 เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว ราคาข้างต้นไม่รวมพื้นที่จัดเก็บใดๆ และคุณอาจต้องการคำนึงถึงต้นทุนในการอัปเกรด iLO5 Controller ด้วย แต่ระบบตั้งต้นมีราคาไม่แพงมากและมีศักยภาพในการขยายขนาดได้มหาศาลเลยทีเดียว

ที่มา: 
https://bit.ly/3ew2i9Z

สนใจสั่งซื้อสินค้า HPE ProLiant DL180 คลิกที่นี่

ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์