รีวิว Lenovo ThinkServer TS460 เซิร์ฟเวอร์ ความลงตัวที่เหนือระดับสำหรับธุรกิจ SME
Please wait...
ENTERPRISE IT UPDATE
รีวิว Lenovo ThinkServer TS460 เซิร์ฟเวอร์ ความลงตัวที่เหนือระดับสำหรับธุรกิจ SME

รีวิว Lenovo ThinkServer TS460 

Lenovo ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบ Big Tower รุ่น ThinkServer TS460 สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยมุ่งเน้นการเติบโตขององค์กรในอนาคต ในวันนี้เราจะมารีวิวประสิทธิภาพและความสามารถของ ThinkServer TS460 



 

 

จุดเด่น 

คุ้มค่า, SATA / SAS-3 ฮาร์ดดิสก์, ทำงานได้อย่างเงียบสนิท, มีศักยภาพในการรองรับการขยายตัวสูง, ประหยัดพลังงาน  

จุดด้อย

มีฟีเจอร์ด้านการจัดการที่จำกัด

 

ผลสรุปโดยรวม

โดยทั่วไปแล้ว ฟีเจอร์ด้านการจัดการจากระยะไกลจัดว่าเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่ควรมี แต่สำหรับ Lenovo ThinkServer TS460 นับว่าเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่เหมาะกับธุรกิจ SMB ที่ ต้องการพื้นที่สำหรับการต่อเติมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่าง Xeon E3-1200 v6
 
เหล่า SMB ที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ต่างก็กำลังมองหาเซิร์ฟเวอร์แบบ Tower ที่จะสามารถทำงานร่วมกับพวกเขาได้ ซึ่งจะพบว่า ThinkServer TS460 ของ Lenovo นั้นสามารถที่จะเป็นพันธมิตรที่ดี ตลอดจนความสามารถในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Xeon E3-1200 v6 ล่าสุดของ Intel ที่ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับการขยายตัวในอนาคตและมีตัวเลือกในการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย
 
เพียงต้องอัพเกรด BIOS เพื่อทำงานกับชิปเซ็ต C232 ซึ่ง Think Server TS460 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับตระกูล CPU รุ่นใหม่ที่มีความเร็วพื้นฐานตั้งแต่ 3GHz up จนถึง 3.9GHz นอกจากนี้ ทุกรุ่นยังมีจำนวน CPU Core อยู่ที่ 4 Core, แคชระดับที่ 3 (L3 Cache) ขนาด 8MB เหมือนกันหมด และสนับสนุนหน่วยความจำ DDR4 แบบ ECC ที่ความเร็ว 2400 MHz
 
จากราคาที่เราได้แสดงให้เห็น นั่นก็คือราคามาตรฐานที่ซื้อขายกันทั่วไปโดยประมาณ (ESP) ของ Lenovo สำหรับรุ่น 70TT003XEA ซึ่งปรับใช้ Xeon E3-1200 v6 ความถี่ 3GHz และ 8GB 2400MHz DDR4 แบบ ECC โดยราคาของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์โดยตรง (End-user) ย่อมจะมีราคาที่ต่ำกว่ามาก อย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับประกันแบบ On-site ที่ให้บริการถึง 3 ปี
 

การออกแบบและความปลอดภัย

นับว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบ Tower ขนาด 4U ซึ่งมี Chassis ที่ถูกสร้างขึ้นไว้อย่างแน่นหนา โดยมีแผงด้านข้างของเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถล็อคกุญแจหรือเพิ่มการรักษาความปลอดภัยได้ด้วย Kensington Lock และที่มากไปกว่านั้นประตูด้านหน้าสามารถปิดล็อคกุญแจ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้แผงด้านข้างถูกนำออกไปได้ และยังช่วยป้องกันปุ่มเปิด/ปิด และช่องใส่ไดร์ฟที่อยู่ภายในได้เป็นอย่างดี

 
ราคานี้ยังรวมถึง DVD-RW drive, ที่ปล่อยว่างไว้1 bay เพื่อให้คุณสามารถอัพเกรดได้อย่างอิสระ ยกตัวอย่างเช่นกล่อง Internal USB RDX หรืออุปกรณ์อย่าง LTO-6 SAS Tape ซึ่งทำหน้าที่เป็น Tape Backup ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ คุณสามารถเชื่อมต่อโดยใช้พอร์ต Internal USB 2.0 ได้ ในขณะที่ระยะหลังจำเป็นต้องใช้การ์ด RAID 520i โดยเฉพาะ ในการเชื่อมต่อ
 
พอร์ต USB 3.0 ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในส่วนของด้านหน้าและด้านหลัง, ฟีเจอร์ทางด้านการรักษาความปลอดภัย (Smart Security Feature) แต่ละอันสามารถเปิดหรือปิดการใช้งานได้ โดยการไปที่หน้า BIOS Setup นอกจากนี้ยังมีพอร์ต VGA มาตรฐาน ซึ่งเป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณภาพที่ด้านหลัง แต่ ThinkServer TS460 ไม่มีพอร์ตการเชื่อมต่อ DisplayPort ที่มีเครื่องหมายการค้า (Trademark) ของ Lenovo ซึ่งมันก็ไม่ใช่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในมุมมองของเรา
 
ภายในของ ThinkServer TS460 ทุกอย่างมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบและเรียบร้อย ทั้งนี้ก็เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับการอัพเกรดและการบำรุงรักษา เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบปราศจากการใช้เครื่องมือ (Tool-Free) ในการติดตั้ง ดังนั้น Adapter Card และส่วนประกอบภายในส่วนใหญ่จึงสามารถเพิ่มหรือนำออกได้โดยไม่ต้องใช้ไขควง
 



 

ขนาดความจุของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

Lenovo ThinkServer TS460 นั้นมีระบบการนำเข้าข้อมูลที่สามารถทำได้โดย ช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟ LFF แบบ NHS (non-hot swap) แบบ 4 ช่อง ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับพอร์ต SATA จำนวน 4 พอร์ตที่เป็นของเมนบอร์ด ซึ่งพอร์ตเหล่านี้ต่างก็เชื่อมโยงด้วย SR 121i RAID controller แบบฝังตัว ซึ่งสนับสนุน Mirror, Stripes และ RAID 5 arrays
 
ในส่วนของชุดอุปกรณ์เสริมที่เลอโนโวเสนอให้มากมาย, ด้วยการเพิ่มช่องสำหรับบรรจุไดร์ฟ LFF ชุดที่สอง ซึ่งเป็นแบบ Hot Swap แบบ 4 ช่อง เป็นครั้งแรก นอกจากนี้คุณยังจะต้องใช้การ์ด SAS / SATA RAID อย่างใดอย่างหนึ่งของ Lenovo พร้อมกับรูปแบบ RAID 520i พื้นฐานที่สนับสนุนทั้งแบบ Stripe และ Mirror ซึ่งจำเป็นต้องใช้ Upgrade Key สำหรับ RAID-5 และ RAID-50
 
ระบบที่พวกเราได้ทำการตรวจสอบคือเวอร์ชัน 8-bay SFF SAS3 แบบ Hot Swap ซึ่ง Backplane Cage ของมันมีการเชื่อมต่อกับการ์ด RAID 520i PCI-Express card โดยที่คุณสามารถอัพเกรดเป็นแบบ 16 SFF bays นอกจากนี้ยังสามารถเลือกในรูปแบบที่มีการผสมผสานระหว่าง Cage แบบ 4-bay LFF กับ Cage แบบ 8-bay SFF อย่างละ 1 ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับ Lenovo ThinkServer TS460 ในการเริ่มต้นธรุกิจ SMB


ที่มา: 
www.itpro.co.uk
 
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์